ปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM เผยทิศทางธุรกิจ หลังได้รับใบอนุญาตดาวเทียมจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้วงโคจร ที่ 78.5E และวงโคจรที่ 119.5E ว่า เตรียมนำเงินลงทุนที่บอร์ดอนุมัติ 15,203 ล้านบาท ลงทุนสร้างดาวเทียม ของชุดข่ายงานดาวเทียม วงโคจร 119.5 องศาตะวันออก จำนวน 3 ดวง แบ่งเป็นดวงเล็ก 2 ดวง และดวงใหญ่ 1 ดวง (ขนาดความสามารถในการให้บริการสามเท่าของไอพีสตาร์ หรือ 140 Ghz ) ดาวเทียมทั้งหมดจะใช้ในการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต ซึ่งได้มีการสรุปสเปกและพูดคุย กับบริษัทผู้ผลิตดาวเทียมระดับโลกแล้วอยู่ระหว่างการตัดสินใจ เพื่อให้ทันดาวเทียมไทยคม 4 ที่หมดอายุทางวิศวกรรม สิ้นปี 67 และช่วยให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง
ปฐมภพ กล่าวอีกว่า ระหว่างนี้เราได้เตรียมออกแบบและวางแผนพัฒนาดาวเทียมไว้แล้ว เมื่อผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้วจะขออำนาจบอร์ดเร่งทำดาวเทียมดวงเล็ก 2 ดวง ความครอบคลุมการให้บริการจะมุ่งที่ประเทศไทยและอินเดียก่อน เพราะเป็นตลาดหลักของไทยคม ไทยคมได้พัฒนาการให้บริการในวงโคจร 119.5 มานานแล้ว ทำให้ประสิทธิภาพของกรอบความถี่การใช้งานและให้บริการได้มีประสิทธิภาพมาก
“การลงทุนในวงโคจร 119.5 ต้องรีบตัดสินใจและรีบลงทุนกรอบการลงทุน 15 ดาวเทียมดวงใหม่เราจะต่อยอดโดยการโฟกัสตลาดมากขึ้น ในอดีตเรายิงดาวเทียมแล้วสามารถครอบคลุมถึง 14 ประเทศ (ไอพีสตาร์) ดวงใหม่เราจะโฟกัสมากขึ้น อาจจะเหลือ 6-7 ประเทศ และต่อยอดไปยังตลาดที่เราไปได้จริง ดาวเทียมดวงใหม่เลือกที่จะใช้เทคโนโลยีให้ ของ Software Defined Satellites สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ในการให้บริการได้ตลอดเวลา เมื่อดาวเทียมขึ้นเป็นข้อได้เปรียบเพราะเป็นครั้งแรกในภูมิภาคที่มีเทคโนโลยีใหม่ ส่วนตลาดโฟกัสของเราคือ ไทย อินเดีย ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่น ส่วนออสเตรเลียได้ยิงดาวเทียมไปแล้ว โดยไทยคมไปเป็นที่ปรึกษา”
ซีอีโอไทยคม กล่าวอีกว่า ผลจากการลงทุนพัฒนาดาวเทียมคาดว่า ประมาณปลายปี 2567 ต่อ 2568 รายได้ของดาวเทียมดวงเดิมจะเริ่มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้จะเพิ่มเฉลี่ยปีละ 10% (จากฐานรายได้ในปี 2565 ที่ 3,200 ล้านบาท) จากนั้นหลังจากดาวเทียมใหม่ขึ้น รายได้จะเพิ่มขึ้น และเมื่อดาวเทียมดวงใหญ่ขึ้นประมาณปี 2570 รายได้จะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด อนาคต 5 ปี ข้างหน้า รายได้ยอดขายจะมาจากต่างประเทศสัดส่วน 75% และไทย 25% ทำให้ไทยคมกลายเป็นบริษัทระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น ที่มีเจ้าของเป็นคนไทย นอกจากนี้ตั้งเป้าหมายว่า ภายใน 3-4 ปี จะกลับมาเป็นผู้ให้บริการดาวเทียมติดท็อป 10 อันดับของโลก อีกครั้ง จากปัจจุบันที่อยู่อันดับ 13 ของโลก
ปฐมภพ กล่าวอีกว่า ระหว่างนี้เราได้เตรียมออกแบบและวางแผนพัฒนาดาวเทียมไว้แล้ว เมื่อผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้วจะขออำนาจบอร์ดเร่งทำดาวเทียมดวงเล็ก 2 ดวง ความครอบคลุมการให้บริการจะมุ่งที่ประเทศไทยและอินเดียก่อน เพราะเป็นตลาดหลักของไทยคม ไทยคมได้พัฒนาการให้บริการในวงโคจร 119.5 มานานแล้ว ทำให้ประสิทธิภาพของกรอบความถี่การใช้งานและให้บริการได้มีประสิทธิภาพมาก
“การลงทุนในวงโคจร 119.5 ต้องรีบตัดสินใจและรีบลงทุนกรอบการลงทุน 15 ดาวเทียมดวงใหม่เราจะต่อยอดโดยการโฟกัสตลาดมากขึ้น ในอดีตเรายิงดาวเทียมแล้วสามารถครอบคลุมถึง 14 ประเทศ (ไอพีสตาร์) ดวงใหม่เราจะโฟกัสมากขึ้น อาจจะเหลือ 6-7 ประเทศ และต่อยอดไปยังตลาดที่เราไปได้จริง ดาวเทียมดวงใหม่เลือกที่จะใช้เทคโนโลยีให้ ของ Software Defined Satellites สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ในการให้บริการได้ตลอดเวลา เมื่อดาวเทียมขึ้นเป็นข้อได้เปรียบเพราะเป็นครั้งแรกในภูมิภาคที่มีเทคโนโลยีใหม่ ส่วนตลาดโฟกัสของเราคือ ไทย อินเดีย ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่น ส่วนออสเตรเลียได้ยิงดาวเทียมไปแล้ว โดยไทยคมไปเป็นที่ปรึกษา”
ซีอีโอไทยคม กล่าวอีกว่า ผลจากการลงทุนพัฒนาดาวเทียมคาดว่า ประมาณปลายปี 2567 ต่อ 2568 รายได้ของดาวเทียมดวงเดิมจะเริ่มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้จะเพิ่มเฉลี่ยปีละ 10% (จากฐานรายได้ในปี 2565 ที่ 3,200 ล้านบาท) จากนั้นหลังจากดาวเทียมใหม่ขึ้น รายได้จะเพิ่มขึ้น และเมื่อดาวเทียมดวงใหญ่ขึ้นประมาณปี 2570 รายได้จะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด อนาคต 5 ปี ข้างหน้า รายได้ยอดขายจะมาจากต่างประเทศสัดส่วน 75% และไทย 25% ทำให้ไทยคมกลายเป็นบริษัทระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น ที่มีเจ้าของเป็นคนไทย นอกจากนี้ตั้งเป้าหมายว่า ภายใน 3-4 ปี จะกลับมาเป็นผู้ให้บริการดาวเทียมติดท็อป 10 อันดับของโลก อีกครั้ง จากปัจจุบันที่อยู่อันดับ 13 ของโลก
