หุ้น STARK (บมจ. สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น) ที่ทำให้ผู้ลงทุนจำนวน 1,759 ราย ได้รับความเสียหายตั้งแต่ช่วง กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา รวมมูลค่าแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท
สิริพร สงบธรรม เลขาธิการ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) เผย ขณะนี้ทาง TIA อยู่ระหว่างขอเงินสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องคดีแบบกลุ่ม โดยหลังจากนี้จะเรียกประชุมผู้เสียหายทั้งหมด เพื่อเลือกตัวแทนเป็นโจกท์ในการฟ้องคดีครั้งนี้
ส่วนผู้เสียหายที่ก่อนหน้า ที่ยังไม่ได้มาลงทะเบียนก็สามารถยื่นลงทะเบียนสมทบเป็นผู้เสียหายเพิ่มเติมได้ พร้อมกันนี้ทาง TIA กำลังหาจัดหาทนายที่จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายในคดีนี้ จากกลุ่มทนายที่มีความชำนาญในคดีหลักทรัพย์และตลาดหุ้น
จิณณะ แย้มอ่วม อนุกรรมการด้านการเงินการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ความเห็นว่า การฟ้องกรณีความเสียหายจากหุ้น STARK มองว่าการฟ้องร้องจากความเสียหายจากการถือหุ้น STARK ทำได้ยาก เพราะการกำหนดมูลค่าหุ้นที่แท้จริง ไม่รู้ต้องเลือกในช่วงใด ขณะที่การฟ้องร้องต้องมีมูลค่าความเสียหายชัดเจน โดยจะนำส่วนต่างจากราคาผู้เสียหายที่เข้าทำการซื้อขายกับมูลค่าที่แท้จริง ซึ่งตรงนี้น่าจะให้นักบัญชีมาช่วยคำนวณ
นอกจากนี้ ในการฟ้องคดีแบบกลุ่มจะต้องมีการกำหนดนิยาม เพื่อให้ครอบคลุมกับผู้เสียหายจากหุ้น STARK ที่หลักๆมาจาก 2 ส่วนคือผู้ลงทุนที่เข้ามาลงทุนจากการเพิ่มทุน ซึ่งส่วนนี้จะมีหนังสือชี้ชวน และอีกส่วนเป็นนักลงทุนที่เข้ามาเทรดเอง ซึ่งอาจจะระบุว่า ที่ลงทุนไปเพราะได้รับข้อมูลงบการเงินปลอม หรืองบการเงินที่ตกแต่งทางบัญชี ขณะที่คำสารภาพจากอดีตผู้บริหาร STARK ที่บอกว่ามีการปั่นหุ้นก็พิสูจน์ยาก
ส่วนการฟ้องร้องเสียหายจากการลงทุนหุ้นกู้ STARK มูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท จำนวน 4 พันกว่ารายนั้น จิณณะ กล่าวว่า ตนได้เป็นทนายฟ้องร้องแบบกลุ่ม (Class Action) โดยฟ้องนายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ กรรมการและผู้บริหาร ของ STARK และพวกรวม 5 คน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษไว้ก่อนหน้า เมื่อ 3 สิงหาคม 2566 และศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้นัดไต่สวนคำร้องการดำเนินคดีแบบกลุ่มในวันที่ 4 กันยายน 2566 โดยการฟ้องแบบกลุ่มครั้งนี้ จะครอบคลุมถึงผู้ถือหุ้นกู้ STARK ทุกรุ่น โดยจะเรียกค่าเสียหายจากผู้บริหาร ไม่ใช่ตัวบริษัท เพราะบริษัทมีโอกาสล้มละลาย และยิ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ยิ่งไม่มีทรัพย์สินอะไรที่จะขายออกมาได้
แต่ในส่วนที่ บล.เอเซีย พลัส ซึ่งเป็นผู้แทนผู้หุ้นกู้ STARK242A ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 นั้นเป็นการฟ้องร้องบริษัท STARK ซึ่งจะเฉพาะผู้ถือหุ้นกู้ รุ่นดังกล่าวเท่านั้น
สิริพร สงบธรรม เลขาธิการ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) เผย ขณะนี้ทาง TIA อยู่ระหว่างขอเงินสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องคดีแบบกลุ่ม โดยหลังจากนี้จะเรียกประชุมผู้เสียหายทั้งหมด เพื่อเลือกตัวแทนเป็นโจกท์ในการฟ้องคดีครั้งนี้
ส่วนผู้เสียหายที่ก่อนหน้า ที่ยังไม่ได้มาลงทะเบียนก็สามารถยื่นลงทะเบียนสมทบเป็นผู้เสียหายเพิ่มเติมได้ พร้อมกันนี้ทาง TIA กำลังหาจัดหาทนายที่จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายในคดีนี้ จากกลุ่มทนายที่มีความชำนาญในคดีหลักทรัพย์และตลาดหุ้น
จิณณะ แย้มอ่วม อนุกรรมการด้านการเงินการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ความเห็นว่า การฟ้องกรณีความเสียหายจากหุ้น STARK มองว่าการฟ้องร้องจากความเสียหายจากการถือหุ้น STARK ทำได้ยาก เพราะการกำหนดมูลค่าหุ้นที่แท้จริง ไม่รู้ต้องเลือกในช่วงใด ขณะที่การฟ้องร้องต้องมีมูลค่าความเสียหายชัดเจน โดยจะนำส่วนต่างจากราคาผู้เสียหายที่เข้าทำการซื้อขายกับมูลค่าที่แท้จริง ซึ่งตรงนี้น่าจะให้นักบัญชีมาช่วยคำนวณ
นอกจากนี้ ในการฟ้องคดีแบบกลุ่มจะต้องมีการกำหนดนิยาม เพื่อให้ครอบคลุมกับผู้เสียหายจากหุ้น STARK ที่หลักๆมาจาก 2 ส่วนคือผู้ลงทุนที่เข้ามาลงทุนจากการเพิ่มทุน ซึ่งส่วนนี้จะมีหนังสือชี้ชวน และอีกส่วนเป็นนักลงทุนที่เข้ามาเทรดเอง ซึ่งอาจจะระบุว่า ที่ลงทุนไปเพราะได้รับข้อมูลงบการเงินปลอม หรืองบการเงินที่ตกแต่งทางบัญชี ขณะที่คำสารภาพจากอดีตผู้บริหาร STARK ที่บอกว่ามีการปั่นหุ้นก็พิสูจน์ยาก
ส่วนการฟ้องร้องเสียหายจากการลงทุนหุ้นกู้ STARK มูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท จำนวน 4 พันกว่ารายนั้น จิณณะ กล่าวว่า ตนได้เป็นทนายฟ้องร้องแบบกลุ่ม (Class Action) โดยฟ้องนายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ กรรมการและผู้บริหาร ของ STARK และพวกรวม 5 คน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษไว้ก่อนหน้า เมื่อ 3 สิงหาคม 2566 และศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้นัดไต่สวนคำร้องการดำเนินคดีแบบกลุ่มในวันที่ 4 กันยายน 2566 โดยการฟ้องแบบกลุ่มครั้งนี้ จะครอบคลุมถึงผู้ถือหุ้นกู้ STARK ทุกรุ่น โดยจะเรียกค่าเสียหายจากผู้บริหาร ไม่ใช่ตัวบริษัท เพราะบริษัทมีโอกาสล้มละลาย และยิ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ยิ่งไม่มีทรัพย์สินอะไรที่จะขายออกมาได้
แต่ในส่วนที่ บล.เอเซีย พลัส ซึ่งเป็นผู้แทนผู้หุ้นกู้ STARK242A ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 นั้นเป็นการฟ้องร้องบริษัท STARK ซึ่งจะเฉพาะผู้ถือหุ้นกู้ รุ่นดังกล่าวเท่านั้น