Explained: ทำไม Mobile Banking ล่มบ่อย? คนย้ายไปแอปไหนบ้าง?

15 พ.ย. 2565 - 13:42

  • ในรอบ 9 เดือน #TTBล่ม ไปแล้ว 13 ครั้ง กินเวลานานกว่า 86 ชั่วโมง

DATAOPS-Thai-Mobile-Banking-Apps-System-Failed-SPACEBAR-Main

ข่าวแอปพลิเคชัน TTB Touch ของธนาคารทีเอ็มบีธนชาตเกิดระบบขัดข้องนานเกือบ 3 วัน ทำให้แฮชแท็ก #TTBล่ม ติด Trending ทันที และถูกพูดถึงบนทวิตเตอร์ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 ถึงวันจันทร์ที่ 5 ก.ย. ที่ผ่านมา

แม้ตอนนี้แอปจะใช้งานได้ตามปกติและกระแสโซเชียลเริ่มซาลงแล้ว แต่คำถามที่ยังค้างคาใจคนไทยก็คือ ทำไม Mobile Banking ของไทยจึงล่มบ่อย? โดยเฉพาะสิ้นเดือน-ต้นเดือน ซึ่งตรงกับช่วงเงินเดือนออกพอดี

ทีมงาน SPACEBAR • DATAOPS จะพาคุณไปหาคำตอบผ่าน Data กัน

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3xETFA8tXtZw1z4oJ8TST7/9f9c677414f7e492e6aaf96dc96363d2/Info-____TTB_____1_

ฟังเสียงโลกโซเชียล คนย้ายไปเปิดบัญชีธนาคารอื่นจริงไหม?


หนึ่งในประเด็นร้อนที่ผู้คนพูดถึงกันในช่วงแอปฯ ล่ม คือ การย้ายไปใช้บริการของธนาคารอื่นกันอย่างแพร่หลาย ทีมงาน SPACEBAR จึงรวบรวมความคิดเห็นของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ผ่านเพจออฟฟิเชียลของ TTB (31 ส.ค. - 5 ก.ย.65) พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ
- ลูกค้าแห่คอมเมนต์เรื่องระบบล่มมากถึง 45,498 ข้อความ เฉพาะบนเพจของ TTB
- มีข้อความพูดถึงการปิดบัญชี และเปลี่ยนไปใช้ธนาคารอื่น จำนวน 3,828 ข้อความ สะท้อนว่าลูกค้าไม่พอใจ
อย่างมาก จนต้องการเปลี่ยนไปใช้บริการของธนาคารอื่น ซึ่งเป็นคู่แข่ง
- ธนาคารที่คนเลือกเปลี่ยนไปใช้บริการแทน TTB เยอะที่สุด คือ กสิกรไทย และไทยพาณิยช์

ไม่ได้คิดไปเอง! แอปธนาคารล่มบ่อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงสิ้นเดือน

ปัญหา Mobile Banking ไม่ใช่เรื่องใหม่ ครึ่งแรกของปี 65  เกิดเคสแอปธนาคารล่มบ่อยขึ้น 32% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว (ม.ค.-มิ.ย. 64) แถมยังใช้เวลาแก้ไขปรับปรุงระบบนานขึ้น 52%


3 อันดับแรกของแอปฯ ที่แก้ไขระบบนานที่สุด คือ

- กรุงเทพ (BBL) 7 ชั่วโมง
- กรุงศรีฯ (BAY) 3 ชั่วโมง
- ทีเอ็มบีธนชาต (TTB) 2 ชั่วโมง*

 

*ไม่รวมระบบล่มเมื่อวันที่ 1-2 ก.ย.

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4wE2Tv62af23R0DuLFuMmT/ae853839bbaf6c8af1a1fefdb913a494/DATAOPS-Thai-Mobile-Banking-Apps-System-Failed-SPACEBAR-Photo02__1_
Photo: กราฟแสดงข้อมูล Mention บนทวิตเตอร์ที่พูดถึงธนาคาร 4 แห่งในช่วงแอปล่ม เดือนมิ.ย. 65 โดยแบ่งตามรายวัน (ซ้าย) และ ช่วงเวลา (ขวา)

จากการศึกษาข้อมูลและความคิดเห็นของผู้บริโภคในทวิตเตอร์ ต่อกรณีแอป Mobile Banking ล่มในเดือนมิ.ย. 65 พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 

  • แอปที่ล่มบ่อยประจำเดือน คือ ธนาคาร BBL กรุงไทย SCB และ TTB โดยล่มบ่อยสุดช่วงสิ้นเดือน สอดคล้องกับจำนวน Mention ที่พูดถึง 4 ธนาคารนี้มากเป็นพิเศษในทวิตเตอร์
  • ยอด Mention แอปธนาคารพุ่งสูงในช่วงเงินเดือนออกจริง ไม่ใช่แค่การคาดเดาของชาวเน็ต
  • Prime Time ที่แอปธนาคารล่มบ่อยที่สุด คือ สิบโมงเช้า-บ่ายโมง กับ หกโมงเย็น-สามทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่คนนิยมใช้แอปจับจ่ายซื้อของ

SCB ล่มบ่อยอันดับ 2 แต่เน้นสื่อสารกับลูกค้าแบบ Active

ตัวอย่างการรับมือกับกระแสเชิงลบบนโซเชียลที่บรรดาธนาคารควรศึกษา คือ เคสของแอป SCB ซึ่งล่มบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจาก TTB ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แอปล่มไป 8 ครั้ง แต่กลับมียอด Mention บนทวิตเตอร์สูงสุดในบรรดาแอปธนาคารถึง 1,060 ข้อความ ขณะที่ TTB ซึ่งล่มบ่อยกว่า มียอด Mention แค่ 571 ข้อความเท่านั้น (ไม่รวมโพสต์จาก Official Account ของธนาคาร)
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2PdCCQO7ExqXghsivTDH5S/f6ec02450e029d3a7a8c0a4905c62935/DATAOPS-Thai-Mobile-Banking-Apps-System-Failed-SPACEBAR-Photo01__1_
Photo: สัดส่วนข้อความ Mention ที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์พูดถึงธนาคารต่างๆ ตอนแอปล่มในช่วง ม.ค.-มิ.ย. 65
จากการศึกษาข้อมูล Social Listening และความพึงพอใจจากคนบนโซเชียล โดยทีมงาน TAG CLOUD พบว่า SCB มียอด Mention สูงกว่า TTB เพราะมีจำนวนผู้ใช้งานเยอะกว่า บวกกับช่วงที่แอปล่ม ธนาคารไดอัปเดตข้อมูลการปรับปรุงแก้ไขให้ผู้ใช้ในทวิตเตอร์ทราบลอด จึงมียอด Mention สูงในทุกเดือนเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่ล่มบ่อยเช่นกัน ทำให้สามารถควบคุม Negative Feedback ได้ค่อนข้างดี ในขณะที่ธนาคารเจ้าอื่นยังคงโฟกัสการสื่อสารแค่ช่องทาง Facebook เป็นหลัก
 

แน่นอนว่าเหตุการณ์ #TTBล่ม ถือเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับ TTB และคงไม่มีธนาคารไหนอยากเผชิญกับตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นกรณีศึกษาที่ควรค่าแก่การถอดบทเรียนสำหรับทุกฝ่าย และนำเสียงสะท้อนจากโลกโซเชียลไปปรับปรุงแอปพลิเคชัน Mobile Banking ให้ดียิ่งขึ้น 

และพร้อมรบในสมรภูมิช่วงเงินเดือนออกในครั้งต่อๆ ไป

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์