สิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing - Thailand ของ TikTok เผย Shoppertainment ได้กลายมาเป็นยุคใหม่ของการขายออนไลน์ และภายในปี 2025 คาดว่า Shoppertianment จะสามารถปลดล็อคโอกาสทางธุรกิจมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปัจจุบัน Tiktok มีจำนวนผู้ใช้งานในประเทศไทยอยู่ที่ 325 ล้านคน มีธุรกิจ 15 ล้านธุรกิจ อยู่บนแพลตฟอร์มในปี 2022 Tiktok เห็นโอกาสการเติบโตภายใต้แนวคิด Shoppertainment ด้วยการทำเนื้อหาให้ผู้ชมเกิดความสนใจก่อนที่จะปิดการขายในที่สุด ด้วยแนวคิด entertain first commerce second จึงมีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า Shoppertainment ในไทยอยู่ที่ 12.4 พันล้านเหรียญ
สิ่งที่พบในงานวิจัยผู้บริโภค แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคมีการตัดสินใจที่ซับซ้อนมากขึ้น ผู้บริโภคคาดหวังเนื้อหาที่สนุกสนานก่อนจนตัดสินใจซื้อ โฆษณาที่มีเนื้อหาแบรนด์มากไปอาจทำให้ไม่เชื่อ 70% ของผู้บริโภคเห็นว่าเนื้อหาใน Tiktok ที่มีการเล่าเรื่องอย่างสนุกสนานทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้า
การผสมผสานระหว่างคอนเทนท์กับคอมเมิร์ซทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อ การซื้อสินค้าถูกขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ความบันเทิง จากผลวิจัยพบว่า 77% ของผู้บริโภค ซื้อสินค้าจากอิทธิพลของคอนเทนต์ที่สร้างความสนุกสนานบันเทิง ในขณะที่ 2 ใน 3 ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าครั้งแรก ตัดสินใจซื้อสินค้าจากความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ (emotional demands)
ผู้บริโภคตั้งคำถามและมีความลังเลมากขึ้นเมื่อรับชมโฆษณาเมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จากผลวิจัยพบว่า 6 ใน 10 ของผู้บริโภคกล่าวว่า การรับชมคอนเทนต์ของแบรนด์ (branded content) ไม่ได้กระตุ้นให้พวกเขาต้องการซื้อสินค้า และในขณะเดียวกัน 34% ของผู้บริโภค ตั้งคำถามเกี่ยวกับคอนเทนต์ของแบรนด์ (branded content) และนั่นทำให้พวกตัดสินใจไม่ซื้อสินค้านั้น
การทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มผ่าน Shoppertainment บน TikTok มีผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า 70% ของผู้บริโภคเชื่อในคอนเทนต์บน TikTok และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า และ 1 ใน 4 ของผู้บริโภคบน TikTok พิจารณาซื้อสินค้าบน TikTok Shop เพราะคอนเทนต์ความบันเทิงจากเหล่าครีเอเตอร์ ผู้มีชื่อเสียง และแบรนด์
TikTok Shop อีคอมเมิร์ซโซลูชั่นบน TikTok ที่เปิดโอกาสให้ร้านค้าสามารถขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม เพื่อมอบประสบกาณ์ช้อปปิ้งไร้รอยต่อให้ผู้ใช้ ได้พลิกโฉมวัฒนธรรมการช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นบน TikTok ที่ซึ่งคอนเทนต์สามารถสร้างให้เกิดกระแสนิยมได้อย่างรวดเร็วและกระตุ้นความต้องการสินค้าได้ในระดับโลก ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ผู้บริโภคได้ค้นพบโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย คอนเทนต์ส่งเสริมการขาย และเข้าถึงสินค้าหลากหลายประเภทโดยเฉพาะในเทศกาล Mega Sales ที่ผู้บริโภคกำลังมองหาข้อเสนอและโปรโมชั่นที่ดีที่สุด
“TikTok ได้สร้างนิยามใหม่ให้กับประสบการณ์การช้อปปิ้งของผู้บริโภคชาวไทยผ่าน Shoppertainment ที่รวบรวมทั้งคอนเทนต์ความสนุกสนานและความบันเทิงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแพลตฟอร์ม TikTok ต่อเนื่องด้วยการซื้อขายสินค้าเพื่อช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ เชื่อมโยงแบรนด์ ชุมชนผู้ขาย และครีเอเตอร์เข้าไว้ด้วยกันในชุมชนบนแพลตฟอร์ม”
จากผลการวิจัยล่าสุดโดยความร่วมมือระหว่าง TikTok และ Boston Consulting Group (BCG) พบว่า ผู้ใช้ TikTok ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสูงถึง 81% กล่าวว่า คอนเทนต์วิดีโอที่ได้รับชมมีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าในครั้งล่าสุดของพวกเขา เช่น
#TikTokMadeMeBuyIt ที่มียอดการรับชมกว่า 60 พันล้านครั้ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงการระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เกิดช่องทางการค้นพบสินค้ารูปแบบใหม่ของผู้ใช้
#TikTokMadeMeBuyIt แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแพลตฟอร์มในการสร้างความต้องการผ่านประสบการณ์ ที่แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้ใช้ผ่านการเข้าร่วมกับแฮชแท็กดังกล่าว
#TikTokป้ายยา ในประเทศไทย มียอดการรับชมกว่า 1.5 พันล้านครั้ง ภายในไม่กี่เดือน
หลังการเปิดตัวแคมเปญ จากผลสำรวจของ Toluna พบว่า 97% ของผู้ใช้ TikTok มีการจับจ่ายใช้สอยในเทศกาล Mega Sales หลังการรับชมโฆษณาบน TikTok งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้ TikTok มีความพร้อมที่จะใช้จ่ายในเทศกาล Mega Sales สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้งาน TikTok ถึง 3.5 เท่า โดยคิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 - 17,600 บาท
ระหว่างเทศกาล Mega Sales ในปี 2022 พบว่า 80% ของผู้ใช้ซื้อสินค้าบน TikTok Shop 3 อันดับแรกของประเภทสินค้ายอดนิยมบนแพลตฟอร์ม ได้แก่ สินค้าประเภทแฟชั่นและเครื่องประดับ (55%) สินค้าประเภทความสวยความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย (46%) และ สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม (40%) โดยปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการซื้อสินค้าของผู้ใช้ในช่วงการลดราคาครั้งใหญ่ ได้แก่ การส่งฟรี คูปองและส่วนลด และการชำระเงินปลายทาง (COD)
สิ่งที่พบในงานวิจัยผู้บริโภค แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคมีการตัดสินใจที่ซับซ้อนมากขึ้น ผู้บริโภคคาดหวังเนื้อหาที่สนุกสนานก่อนจนตัดสินใจซื้อ โฆษณาที่มีเนื้อหาแบรนด์มากไปอาจทำให้ไม่เชื่อ 70% ของผู้บริโภคเห็นว่าเนื้อหาใน Tiktok ที่มีการเล่าเรื่องอย่างสนุกสนานทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้า
การผสมผสานระหว่างคอนเทนท์กับคอมเมิร์ซทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อ การซื้อสินค้าถูกขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ความบันเทิง จากผลวิจัยพบว่า 77% ของผู้บริโภค ซื้อสินค้าจากอิทธิพลของคอนเทนต์ที่สร้างความสนุกสนานบันเทิง ในขณะที่ 2 ใน 3 ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าครั้งแรก ตัดสินใจซื้อสินค้าจากความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ (emotional demands)
ผู้บริโภคตั้งคำถามและมีความลังเลมากขึ้นเมื่อรับชมโฆษณาเมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จากผลวิจัยพบว่า 6 ใน 10 ของผู้บริโภคกล่าวว่า การรับชมคอนเทนต์ของแบรนด์ (branded content) ไม่ได้กระตุ้นให้พวกเขาต้องการซื้อสินค้า และในขณะเดียวกัน 34% ของผู้บริโภค ตั้งคำถามเกี่ยวกับคอนเทนต์ของแบรนด์ (branded content) และนั่นทำให้พวกตัดสินใจไม่ซื้อสินค้านั้น
การทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มผ่าน Shoppertainment บน TikTok มีผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า 70% ของผู้บริโภคเชื่อในคอนเทนต์บน TikTok และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า และ 1 ใน 4 ของผู้บริโภคบน TikTok พิจารณาซื้อสินค้าบน TikTok Shop เพราะคอนเทนต์ความบันเทิงจากเหล่าครีเอเตอร์ ผู้มีชื่อเสียง และแบรนด์
TikTok Shop อีคอมเมิร์ซโซลูชั่นบน TikTok ที่เปิดโอกาสให้ร้านค้าสามารถขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม เพื่อมอบประสบกาณ์ช้อปปิ้งไร้รอยต่อให้ผู้ใช้ ได้พลิกโฉมวัฒนธรรมการช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นบน TikTok ที่ซึ่งคอนเทนต์สามารถสร้างให้เกิดกระแสนิยมได้อย่างรวดเร็วและกระตุ้นความต้องการสินค้าได้ในระดับโลก ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ผู้บริโภคได้ค้นพบโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย คอนเทนต์ส่งเสริมการขาย และเข้าถึงสินค้าหลากหลายประเภทโดยเฉพาะในเทศกาล Mega Sales ที่ผู้บริโภคกำลังมองหาข้อเสนอและโปรโมชั่นที่ดีที่สุด
“TikTok ได้สร้างนิยามใหม่ให้กับประสบการณ์การช้อปปิ้งของผู้บริโภคชาวไทยผ่าน Shoppertainment ที่รวบรวมทั้งคอนเทนต์ความสนุกสนานและความบันเทิงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแพลตฟอร์ม TikTok ต่อเนื่องด้วยการซื้อขายสินค้าเพื่อช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ เชื่อมโยงแบรนด์ ชุมชนผู้ขาย และครีเอเตอร์เข้าไว้ด้วยกันในชุมชนบนแพลตฟอร์ม”
คอนเทนต์สนุกสนานบันเทิงที่ขับเคลื่อนภาคธุรกิจ
ความบันเทิงบนแพลตฟอร์ม TikTok ผลักดันให้เกิดการค้นพบสินค้าใหม่ๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมของการค้นพบสินค้าผ่านการแนะนำที่ได้รวบรวมคอมมูนิตี้ความบันเทิง และช่องทางในการซื้อสินค้าเข้าไว้ด้วยกันบนแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างให้เกิดเส้นทางการค้นพบสินค้าตลอดจนการซื้อสินค้าที่ลื่นไหล บนแพลตฟอร์มที่คอนเทนต์เพียงชิ้นเดียวสามารถกลายเป็นกระแสนิยมได้อย่างรวดเร็วและสามารถกระตุ้นให้เกิดความต้องการสินค้าได้ในระดับโลกจากผลการวิจัยล่าสุดโดยความร่วมมือระหว่าง TikTok และ Boston Consulting Group (BCG) พบว่า ผู้ใช้ TikTok ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสูงถึง 81% กล่าวว่า คอนเทนต์วิดีโอที่ได้รับชมมีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าในครั้งล่าสุดของพวกเขา เช่น
#TikTokMadeMeBuyIt ที่มียอดการรับชมกว่า 60 พันล้านครั้ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงการระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เกิดช่องทางการค้นพบสินค้ารูปแบบใหม่ของผู้ใช้
#TikTokMadeMeBuyIt แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแพลตฟอร์มในการสร้างความต้องการผ่านประสบการณ์ ที่แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้ใช้ผ่านการเข้าร่วมกับแฮชแท็กดังกล่าว
#TikTokป้ายยา ในประเทศไทย มียอดการรับชมกว่า 1.5 พันล้านครั้ง ภายในไม่กี่เดือน
หลังการเปิดตัวแคมเปญ จากผลสำรวจของ Toluna พบว่า 97% ของผู้ใช้ TikTok มีการจับจ่ายใช้สอยในเทศกาล Mega Sales หลังการรับชมโฆษณาบน TikTok งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้ TikTok มีความพร้อมที่จะใช้จ่ายในเทศกาล Mega Sales สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้งาน TikTok ถึง 3.5 เท่า โดยคิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 - 17,600 บาท
ระหว่างเทศกาล Mega Sales ในปี 2022 พบว่า 80% ของผู้ใช้ซื้อสินค้าบน TikTok Shop 3 อันดับแรกของประเภทสินค้ายอดนิยมบนแพลตฟอร์ม ได้แก่ สินค้าประเภทแฟชั่นและเครื่องประดับ (55%) สินค้าประเภทความสวยความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย (46%) และ สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม (40%) โดยปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการซื้อสินค้าของผู้ใช้ในช่วงการลดราคาครั้งใหญ่ ได้แก่ การส่งฟรี คูปองและส่วนลด และการชำระเงินปลายทาง (COD)