







เห็นการทดลองวิ่งของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เมื่อ 12 มิถุนายน 66 แล้วก็ปลื้ม! เพราะมีความหมายถึง คนกรุงมีทางเลือกในการเดินทางเพิ่มขึ้น หลังรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เตรียมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ และทำให้ไม่ต้องเดินทางที่พื้นล่างทนทุกข์กับการจราจรที่ติดขัดอีกต่อไป

ในแง่ธุรกิจ...หลังรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน ไม่ว่าจะเป็นจุดไหน ก็ทำให้ย่านธุรกิจร้านรวงต่างๆ บริเวณที่เกาะแนวรถไฟฟ้า ได้ประโยชน์ตามๆ กัน และยิ่งดีมากไปอีก ถ้าธุรกิจ-ห้าง-ร้านนั้นๆ อยู่ใกล้ชิดสนิทสนม สร้างจุดเชื่อม หรือสกายวอล์คต้อนผู้คนเข้าห้าง ดังเช่น เซ็นทรัล สยาม สามย่าน และอีกหลายแห่งในเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางก่อนหน้า แล้วสายสีเหลือง หรือคือ รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT ลอยฟ้า) มีที่ใดบ้าง?

จุดเชื่อมต่อเข้าห้าง โอกาสที่น่าจับตา
แต่แหม...เมื่อผ่านมาถึงสถานีสวนหลวง ร.9 ก็ต้องบอกว่า เสียดายแทนห้างซีคอนสแควร์ศรีนครินทร์ เล็กน้อย เมื่อระยะห่างระหว่างสถานีสวนหลวง ร.9 กับตัวห้าง ห่างไปนิด ไม่ได้ทำจุดเชื่อมต่อ คนจะไปซีคอนฯ ก็ต้องเดิน 300-400 เมตร ร้อนหน่อยก็เหงื่อโชกได้ ยิ่งถ้าหากฝนลงด้วยแล้ว ก็ปิดจบไม่ต้องเดินไปกันแล้ว ซีคอนฯ ก็เลยปรับกลยุทธ์เอาใจแฟนคลับ กับบริการอำนวยความสะดวก เช่น จัดร่มคันใหญ่ เพื่อลูกค้าไม่ร้อน หรือกันฝนเมื่อยามฝนตกได้อีก, จัดจุดบริการน้ำดื่ม ดับกระหายคลายร้อน และรวมถึง มีป้ายรถเมลที่สามารถพักเหนื่อยได้ โดยติดแอร์ให้รอรถได้อย่างสบายใจ
แต่ย่านนี้ ยังมีอีกห้าง คือ ‘พาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์’ ที่ต้องบอกว่า น่าอิจฉาห้างนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะหลังลงรถไฟฟ้าแล้ว ก็มีบันไดส่งเกือบถึงที่ ไม่กี่ก้าวก็เข้าห้างได้เลย

ทีนี้ก็ต้องจับตากันต่อไปว่า ห้างอื่นๆ แนวรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะมีห้างไหน ที่ยอมควักจ่ายทำสกายวอล์ค หรือจุดเชื่อม เพื่อจูงมือลูกค้าเข้าห้างบ้าง โดยเฉพาะ เดอะมอลล์ บางกะปิ เป็นอีกจุดที่น่าสนใจ หลังกำลังเป็นทำเลทองที่สำคัญแห่งหนึ่ง ถ้าเดอะมอลล์ ลงทุนทำสกายวอล์คเชื่อมถึง ก็น่าจะสร้างความคึกคักได้อีกมาก เช่นเดียวกับห้างอื่น ตลอดเส้นทางที่รถไฟฟ้าสายสีเหลือง วิ่งผ่าน
สำหรับ ‘รถไฟฟ้าสายสีเหลือง’ หรือ รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีเหลือง เป็นรถไฟฟ้าเส้นทาง ลาดพร้าว-สำโรง เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี มาตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2566 โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเอกชนผู้รับสัมปทานโครงการ ติดตามประเมินผลการให้ประชาชนร่วมทดสอบการ ในสัปดาห์แรกก่อนจำนวน 13 สถานี
สำหรับ ‘รถไฟฟ้าสายสีเหลือง’ หรือ รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีเหลือง เป็นรถไฟฟ้าเส้นทาง ลาดพร้าว-สำโรง เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี มาตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2566 โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเอกชนผู้รับสัมปทานโครงการ ติดตามประเมินผลการให้ประชาชนร่วมทดสอบการ ในสัปดาห์แรกก่อนจำนวน 13 สถานี

และภายหลังติดตามประเมินผลการให้ประชาชนร่วมทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ทั้ง 13 สถานี รวมถึงสถานีอื่นๆ ทั้งหมดของโครงการมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทุกฝ่ายได้มีความเห็นสอดคล้องกันแล้วว่า ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป รถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะขยายระยะทางให้ประชาชนร่วมทดสอบเพิ่มเติมอีก 9 สถานี (สำโรง ถึง แยกภาวนา) จากเดิมบนแนวถนนศรีนครินทร์ ไปจนถึงแนวถนนลาดพร้าว
ซึ่งบรรยากาศในวันแรก (12 มิถุนายน 66) ถือว่า มีประชาชนมาร่วมทดสอบจำนวนหนึ่ง แต่ไม่คึกคักเหมือนเมื่อครั้งเปิดทดลองวิ่ง ในเส้นสุขุมวิท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องบอกว่า ใครที่จำเป็นต้องเดินทางในเส้นนี้ ก็สามารถใช้บริการได้ฟรี ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ยาวไปจนถึง 2 ทุ่ม
ขณะที่ 12 มิถุนายนอีกเช่นกัน ที่ถือเป็นวันแรกที่ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.เปิดรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมข้อมูลประกอบการจัดทำร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ไปจนถึงวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายนนี้ รวม 19 วัน เพื่อให้การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีข้อมูลและมีความคิดเห็นอย่างรอบด้านต่อไป
ซึ่งบรรยากาศในวันแรก (12 มิถุนายน 66) ถือว่า มีประชาชนมาร่วมทดสอบจำนวนหนึ่ง แต่ไม่คึกคักเหมือนเมื่อครั้งเปิดทดลองวิ่ง ในเส้นสุขุมวิท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องบอกว่า ใครที่จำเป็นต้องเดินทางในเส้นนี้ ก็สามารถใช้บริการได้ฟรี ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ยาวไปจนถึง 2 ทุ่ม
19 วัน เดินทางฟรี รวบรวมข้อมูลบริหารจัดการ ‘ระบบตั๋วร่วม’
แม้ปัจจุบัน ยังคงเหลือสถานีลาดพร้าว ที่ยังไม่เสร็จ โดยยังต้องปรับสภาพทางเท้าและถนนโดยรอบให้มีความปลอดภัย ก่อนจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ รวมระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ จากนั้นก็เตรียมให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 3 กรกฎาคม และจะเก็บค่าโดยสาร 15-45 บาท พร้อมเปิดระบบจ่ายแบบ EMV ยกเว้นค่าแรกเข้า เชื่อมการเดินทางรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่สถานีลาดพร้าวขณะที่ 12 มิถุนายนอีกเช่นกัน ที่ถือเป็นวันแรกที่ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.เปิดรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมข้อมูลประกอบการจัดทำร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ไปจนถึงวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายนนี้ รวม 19 วัน เพื่อให้การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีข้อมูลและมีความคิดเห็นอย่างรอบด้านต่อไป


