เป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้ว ที่ช่วงปลายปีสื่อมวลชนมักจะทำรายงานพิเศษคาดการณ์แนวโน้มของปีต่อไปหรือทศวรรษต่อไป คาดการณ์กระแสเหล่านี้มีทั้งที่แม่นและไม่แม่น แต่อย่างน้อยทำให้ผู้เสพสื่อมีเข็มทิศช่วยนำทางให้กับพวกเขาได้ว่ามีอะไรที่รอพวกเขาอยู่ในอนาคต
แทนที่จะทำบทวิเคราะห์พยากรณ์แบบเดิมๆ SPACEBAR ตัดสินใจที่จะก้าวไปอีกขั้น ด้วยการจำลองสถานการณ์ที่เราเรียกว่า WHAT IF ด้วยการ “สมมติว่า...” เทรนด์ที่กำลังก่อตัวขึ้นต่อหน้าต่อตาเราในเวลานี้จะกลายเป็นกระแสหลักของวิถีชีวิตในอนาคตหรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้น มันจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของพวกเรา
WHAT IF ที่เราคาดการณ์นี้คือการตั้งฉากทัศน์ที่อิงกับเทรนด์ปัจจุบัน รายงานการวิจัย ผสมผสานกับการวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดตามภายใต้สถานกาณ์สมมติที่เป็นไปได้ ไม่ใช่การมโนขึ้นมาอย่างไม่มีที่มาที่ไป
อันที่จริง ขนบของการทำ WHAT IF เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวงการวิทยาศาสตร์ไปจนถึงสายสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจ และการเมือง ในบางครั้งมันเป็นการสมมติเหตุการณ์เพื่อความบันเทิงทางวิชาการเท่านั้น แต่ก็ทรงคุณค่ามากพอที่จะปลุกจินตนาการของผู้อ่านให้เกิดคำถามขึ้นในใจว่า “ถ้ามันเป็นแบบนั้นจะเกิดอะไรขึ้น” หรือ “ถ้าวันนั้น A ไม่ตัดสินใจแบบนั้น” หรือ “ถ้า B กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต”
คำถามเหล่านี้ไม่ใช่แค่การคิดเล่นๆ แต่เป็นการทบทวนความเป็นไปได้ทั้งจากกรณีศึกษาในอดีตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคต และคาดการณ์ปัจจัยแวดล้อมเพื่อเตรียมรับกับความเป็นไปได้ในอนาคต
WHAT IF ของ SPACEBAR คือการมองอนาคตที่เป็นไปได้ ทุกแง่มุมของชีวิต เราจะเหลืออะไรให้กินบ้างในวันข้างหน้าที่สภาพภูมิอากาศโลกย่ำแย่ถึงขีดสุด? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวันหนึ่งรถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นของสามัญประจำบ้าน? ปัญญาประดิษฐ์จะกลายเป็นผู้ปกครองมนุษยชาติหรือไม่? ถ้าเกิดวันหนึ่งเราทำงานแค่ 4 วันต่อสัปดาห์ล่ะ? ประเทศไทยจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ถ้ามีเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงครอบคลุมทั่วประเทศ?
นี่คือคำถามที่อาจอยู่ในความคิดของหลายๆ คน และเราช่วยหาคำตอบให้ด้วยข้อมูลที่รอบด้าน รวมถึงการเก็บข้อมูลเชิงลึกจากโซเชียลมีเดียโดยทีม SPACEBAR • DATAOPS เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้คนที่คอยตั้งคำถามสมมติถึงอนาคตเหล่านี้
การสมมตินี้ไม่ได้จินตนาการขึ้นมาลอยๆ แต่อิงกับข่าว ข้อมูล ดาต้า และปัจจัยแวดล้อมมากมาย แม้ว่ามันอาจจะไม่แม่นยำแบบ 100% แต่ก็อาจจะใกล้เคียงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหรืออย่างน้อยก็ช่วยสร้างความพร้อมให้กับเรา เพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์เหล่านั้น เพราะการเตรียมตัวย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าอยู่เฉยๆ แล้วรอให้อนาคตไล่ล่าเรา
คงไม่มีประโยคไหนที่จะตรงประเด็นเท่ากับคำว่า “Living in the Futures” ซึ่งไม่ได้หมายความแค่ว่าการอยู่ในอนาคต แต่ยังมีนัยยะว่า ณ ขณะปัจจุบันเราได้ไล่ตามอนาคตทัน ราวกับอยู่ในโลกอนาคตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Living in the Futures เป็นชื่อบทความที่เขียนโดย Angela Wilkinson และ Roland Kupers ใน Harvard Business Review (ฉบับเดือนพฤษภาคม 2013) ที่เล่าถึงความล้ำหน้าของ Royal Dutch Shell ที่ตั้งหน่วยงานวิเคราะห์ “อนาคต” เพื่อช่วยนำทางบริษัทที่เรียกว่า “การศึกษาแนวโน้มระยะยาว” (Long-Term Studies) ตั้งแต่ปี 1967 และตั้งแต่ทศวรรษนั้นแล้วที่พวกเขาผลิตรายงานมองอนาคตที่เรียกว่า “Year 2000”
นี่ไม่ใช่แค่การพยากรณ์อนาคตสนุกๆ แต่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนในอนาคต ซึ่งจะสั่นสะเทือนธุรกิจในวันข้างหน้า ดังนั้น การตั้งสถานการณ์สมมติจึงต้องมีความเป็นไปได้มากกว่าความน่าจะเป็น
หน่วยงานมองอนาคตของ Shell พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “Deep Listening” ผ่านการสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจตัดสินใจในองค์กร เพื่อล้วงเอาความกังวลและความหวังเกี่ยวกับอนาคต แล้วนำมาวิเคราะห์ความไม่แน่นอนหรือกระทั่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัท ทั้งในเชิงธุรกิจ การบริหารทรัพยากรบุคคล และการแก้ปัญหาในองค์กร
WHAT IF ของ SPACEBAR เราใช้ตัวช่วย คือ “Social Listening” ที่ไม่ใช่การฟังความกังวลของผู้บริหาร แต่เป็นความเห็นของผู้คนที่หลากหลาย เพราะคนทั่วไปในสังคมก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดอนาคตเช่นกัน
เราตั้งใจออกแบบเนื้อหาของ WHAT IF ให้เป็นทั้งตัวช่วยที่จริงจังในการคาดการณ์ทิศทางธุรกิจและสังคม/การเมือง สำหรับคนที่ต้องการสิ่งนี้เพื่อช่วยเป็นเข็มทิศชีวิต ด้วยตัวเลขและดาต้าที่เป็นระบบ (scientific)
ในขณะเดียวกันก็นำเสนอเนื้อหาสาระเชิงสร้างสรรค์ (creative) ที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไปสำหรับคนที่แค่อยากจะรู้ว่าวันข้างหน้าอีกไม่นาน ชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปแค่ไหนถ้าเราเลือกเดินเส้นทางเหล่านั้น
เตรียมพบกับซีรีส์บทความและรายงานฉบับพิเศษที่จะพาผู้อ่านเปิดจินตนาการและร่วมสำรวจความเป็นไปได้ในปี 2023 ตั้งแต่ทิศทางการเมืองโลก เทรนด์การทำงานยุคใหม่ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม ไปจนถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่อยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
แทนที่จะทำบทวิเคราะห์พยากรณ์แบบเดิมๆ SPACEBAR ตัดสินใจที่จะก้าวไปอีกขั้น ด้วยการจำลองสถานการณ์ที่เราเรียกว่า WHAT IF ด้วยการ “สมมติว่า...” เทรนด์ที่กำลังก่อตัวขึ้นต่อหน้าต่อตาเราในเวลานี้จะกลายเป็นกระแสหลักของวิถีชีวิตในอนาคตหรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้น มันจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของพวกเรา
WHAT IF ที่เราคาดการณ์นี้คือการตั้งฉากทัศน์ที่อิงกับเทรนด์ปัจจุบัน รายงานการวิจัย ผสมผสานกับการวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดตามภายใต้สถานกาณ์สมมติที่เป็นไปได้ ไม่ใช่การมโนขึ้นมาอย่างไม่มีที่มาที่ไป
อันที่จริง ขนบของการทำ WHAT IF เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวงการวิทยาศาสตร์ไปจนถึงสายสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจ และการเมือง ในบางครั้งมันเป็นการสมมติเหตุการณ์เพื่อความบันเทิงทางวิชาการเท่านั้น แต่ก็ทรงคุณค่ามากพอที่จะปลุกจินตนาการของผู้อ่านให้เกิดคำถามขึ้นในใจว่า “ถ้ามันเป็นแบบนั้นจะเกิดอะไรขึ้น” หรือ “ถ้าวันนั้น A ไม่ตัดสินใจแบบนั้น” หรือ “ถ้า B กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต”
คำถามเหล่านี้ไม่ใช่แค่การคิดเล่นๆ แต่เป็นการทบทวนความเป็นไปได้ทั้งจากกรณีศึกษาในอดีตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคต และคาดการณ์ปัจจัยแวดล้อมเพื่อเตรียมรับกับความเป็นไปได้ในอนาคต
WHAT IF ของ SPACEBAR คือการมองอนาคตที่เป็นไปได้ ทุกแง่มุมของชีวิต เราจะเหลืออะไรให้กินบ้างในวันข้างหน้าที่สภาพภูมิอากาศโลกย่ำแย่ถึงขีดสุด? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวันหนึ่งรถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นของสามัญประจำบ้าน? ปัญญาประดิษฐ์จะกลายเป็นผู้ปกครองมนุษยชาติหรือไม่? ถ้าเกิดวันหนึ่งเราทำงานแค่ 4 วันต่อสัปดาห์ล่ะ? ประเทศไทยจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ถ้ามีเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงครอบคลุมทั่วประเทศ?
นี่คือคำถามที่อาจอยู่ในความคิดของหลายๆ คน และเราช่วยหาคำตอบให้ด้วยข้อมูลที่รอบด้าน รวมถึงการเก็บข้อมูลเชิงลึกจากโซเชียลมีเดียโดยทีม SPACEBAR • DATAOPS เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้คนที่คอยตั้งคำถามสมมติถึงอนาคตเหล่านี้
ฉากทัศน์ของวันพรุ่งนี้
Scenario เป็นคำที่ถูกใช้บ่อยครั้งขึ้นในปัจจุบัน แปลเป็นภาษาไทยว่า “ฉากทัศน์” คำๆ นี้อาจฟังดูแล้วยิ่งเข้าใจยาก เราจึงขอใช้คำว่า “สถานการณ์สมมติ” แทน เพราะน่าจะสร้างความกระจ่างมากกว่า และจะยิ่งกระจ่างมากขึ้น ถ้าเราจะใช้คำว่า “Scenario Prediction” หรือ “Scenario Planning” ที่แปลว่าการสมมติสถานการณ์เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ หรือ การสมมติสถานการณ์เพื่อการวางแผนนั่นเองการสมมตินี้ไม่ได้จินตนาการขึ้นมาลอยๆ แต่อิงกับข่าว ข้อมูล ดาต้า และปัจจัยแวดล้อมมากมาย แม้ว่ามันอาจจะไม่แม่นยำแบบ 100% แต่ก็อาจจะใกล้เคียงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหรืออย่างน้อยก็ช่วยสร้างความพร้อมให้กับเรา เพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์เหล่านั้น เพราะการเตรียมตัวย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าอยู่เฉยๆ แล้วรอให้อนาคตไล่ล่าเรา
คงไม่มีประโยคไหนที่จะตรงประเด็นเท่ากับคำว่า “Living in the Futures” ซึ่งไม่ได้หมายความแค่ว่าการอยู่ในอนาคต แต่ยังมีนัยยะว่า ณ ขณะปัจจุบันเราได้ไล่ตามอนาคตทัน ราวกับอยู่ในโลกอนาคตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Living in the Futures เป็นชื่อบทความที่เขียนโดย Angela Wilkinson และ Roland Kupers ใน Harvard Business Review (ฉบับเดือนพฤษภาคม 2013) ที่เล่าถึงความล้ำหน้าของ Royal Dutch Shell ที่ตั้งหน่วยงานวิเคราะห์ “อนาคต” เพื่อช่วยนำทางบริษัทที่เรียกว่า “การศึกษาแนวโน้มระยะยาว” (Long-Term Studies) ตั้งแต่ปี 1967 และตั้งแต่ทศวรรษนั้นแล้วที่พวกเขาผลิตรายงานมองอนาคตที่เรียกว่า “Year 2000”
นี่ไม่ใช่แค่การพยากรณ์อนาคตสนุกๆ แต่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนในอนาคต ซึ่งจะสั่นสะเทือนธุรกิจในวันข้างหน้า ดังนั้น การตั้งสถานการณ์สมมติจึงต้องมีความเป็นไปได้มากกว่าความน่าจะเป็น
หน่วยงานมองอนาคตของ Shell พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “Deep Listening” ผ่านการสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจตัดสินใจในองค์กร เพื่อล้วงเอาความกังวลและความหวังเกี่ยวกับอนาคต แล้วนำมาวิเคราะห์ความไม่แน่นอนหรือกระทั่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัท ทั้งในเชิงธุรกิจ การบริหารทรัพยากรบุคคล และการแก้ปัญหาในองค์กร
WHAT IF ของ SPACEBAR เราใช้ตัวช่วย คือ “Social Listening” ที่ไม่ใช่การฟังความกังวลของผู้บริหาร แต่เป็นความเห็นของผู้คนที่หลากหลาย เพราะคนทั่วไปในสังคมก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดอนาคตเช่นกัน
เราตั้งใจออกแบบเนื้อหาของ WHAT IF ให้เป็นทั้งตัวช่วยที่จริงจังในการคาดการณ์ทิศทางธุรกิจและสังคม/การเมือง สำหรับคนที่ต้องการสิ่งนี้เพื่อช่วยเป็นเข็มทิศชีวิต ด้วยตัวเลขและดาต้าที่เป็นระบบ (scientific)
ในขณะเดียวกันก็นำเสนอเนื้อหาสาระเชิงสร้างสรรค์ (creative) ที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไปสำหรับคนที่แค่อยากจะรู้ว่าวันข้างหน้าอีกไม่นาน ชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปแค่ไหนถ้าเราเลือกเดินเส้นทางเหล่านั้น
เตรียมพบกับซีรีส์บทความและรายงานฉบับพิเศษที่จะพาผู้อ่านเปิดจินตนาการและร่วมสำรวจความเป็นไปได้ในปี 2023 ตั้งแต่ทิศทางการเมืองโลก เทรนด์การทำงานยุคใหม่ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม ไปจนถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่อยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด