ความจนสามารถวัดได้ที่รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน และเราพบว่าแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่รายได้รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่สุดแห่งหนึ่ง จากตัวเลขปี 2564 โดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของแม่ฮ่องสอนอยู่ที่ 15,495.95 บาท ซึ่งต่ำที่สุดในประเทศไทย และในปี 2547 เคยต่ำถึง 8,675.94 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่รายได้ต่ำที่สุด และยังเคยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่จังหวัดที่รายได้ในเวลานั้นไม่ถึงหลักหมื่น
ความกันดารของแม่ฮ่องสอนจะเห็นได้จากการอัตราการจ่ายเบี้ยกันดารที่เสี่ยงภัยต่อโรคภัยไข้เจ็บในสมัยก่อน (ดู พ.ร.ฎ. กำหนดท้องที่กันดารฯ พ.ศ. 2500) ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้จ่ายครอบคลุมทั้งจังหวัด ต่างจากจังหวัดอื่นที่จะมีพื้นที่กันดารเฉพาะบางอำเภอเท่านั้น
ข้าราชการคนไหนถูกย้ายมาประจำที่แม่ฮ่องสอน จึงเหมือนกับคนรัสเซียถูกส่งไปอยูที่ไซบีเรีย นั่นคือถูกส่งไปทรมานหรืออย่างร้ายที่สุดคือถูกส่งไปรอความตายที่นั่น ข้าราชการไทยสมัยก่อนก็เช่นกัน บางคนที่ถูกส่งไปแม่ฮ่องสอนจึงมักคิดน้อยใจว่าตัวเองถูกกลั่นแกล้ง
อย่างที่ ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ นักเขียนสารคดีที่ขึ้นเหนือล่องใต้ไปทั่วเมืองไทยเคยเขียนไว้ว่าแม่ฮ่องสอน “เป็นแดนเนรเทศข้าราชการ” (จากหนังสือ ‘รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย’ หน้า 126 ปี 2523 โดยปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ) เช่นเดียวกับนักเขียนผู้คร่ำหวอดเรื่องป่าและชีวิตคนชายแดนภาคเหนืออย่าง สังคีต จันทนะโพธิ ก็กล่าวไว้ว่า “ในสมัยก่อนๆ ทางการมักส่งข้าราชการที่มีความผิดไปอยู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน” (จากหนังสือ ‘วิญญาณไพร’ หน้า 72 ปี 2540 โดยสังคีต จันทนะโพธิ)
แต่แม่ฮ่องกงสอนมีปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง นั่นคือเป็นจังหวัดที่ครองตำแหน่ง ‘จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย’ หลายปีติดต่อกัน หากจะนับสถิติตั้งแต่ปี 2543-2564 เราจะพบว่า แม่ฮ่องสอนครองตำแหน่ง ‘จนที่สุดในไทย’ มากกกว่าจังหวัดไหนๆ
ไซบีเรียของเมืองไทย
แม่ฮ่องสอนเคยมีฉายาว่า ‘ไซบีเรียเมืองไทย’ เพราะแต่ก่อนเป็นพื้นที่กันดาร เดินทางยากลำบากที่สุดถึงที่สุด อยู่ประชิดชายแดนเมียนมาที่เต็มไปด้วยป่าเขา และยังชุกชุมด้วยโรคป่านานาชนิด (ซึ่งผู้เขียนเคยลิ้มรสชาติมันมาด้วยตัวเองแล้ว)ความกันดารของแม่ฮ่องสอนจะเห็นได้จากการอัตราการจ่ายเบี้ยกันดารที่เสี่ยงภัยต่อโรคภัยไข้เจ็บในสมัยก่อน (ดู พ.ร.ฎ. กำหนดท้องที่กันดารฯ พ.ศ. 2500) ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้จ่ายครอบคลุมทั้งจังหวัด ต่างจากจังหวัดอื่นที่จะมีพื้นที่กันดารเฉพาะบางอำเภอเท่านั้น
ข้าราชการคนไหนถูกย้ายมาประจำที่แม่ฮ่องสอน จึงเหมือนกับคนรัสเซียถูกส่งไปอยูที่ไซบีเรีย นั่นคือถูกส่งไปทรมานหรืออย่างร้ายที่สุดคือถูกส่งไปรอความตายที่นั่น ข้าราชการไทยสมัยก่อนก็เช่นกัน บางคนที่ถูกส่งไปแม่ฮ่องสอนจึงมักคิดน้อยใจว่าตัวเองถูกกลั่นแกล้ง
อย่างที่ ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ นักเขียนสารคดีที่ขึ้นเหนือล่องใต้ไปทั่วเมืองไทยเคยเขียนไว้ว่าแม่ฮ่องสอน “เป็นแดนเนรเทศข้าราชการ” (จากหนังสือ ‘รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย’ หน้า 126 ปี 2523 โดยปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ) เช่นเดียวกับนักเขียนผู้คร่ำหวอดเรื่องป่าและชีวิตคนชายแดนภาคเหนืออย่าง สังคีต จันทนะโพธิ ก็กล่าวไว้ว่า “ในสมัยก่อนๆ ทางการมักส่งข้าราชการที่มีความผิดไปอยู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน” (จากหนังสือ ‘วิญญาณไพร’ หน้า 72 ปี 2540 โดยสังคีต จันทนะโพธิ)
แม่ฮ่องสอนสวยแต่จน
แม่ฮ่องสอนไม่ได้เลวร้ายเหมือนไซบีเรีย ตรงกันข้าม ที่นี่คือจังหวัดที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ผู้คนจิตใจงดงาม อาหารถูกปาก แม้จะเดินทางลำบาก (แม้กระทั่งทุกวันนี้) แต่เมื่อไปถึงแล้วจะหลงรักที่นั่นจนไม่อยากย้ายตัวเองออกมาแต่แม่ฮ่องกงสอนมีปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง นั่นคือเป็นจังหวัดที่ครองตำแหน่ง ‘จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย’ หลายปีติดต่อกัน หากจะนับสถิติตั้งแต่ปี 2543-2564 เราจะพบว่า แม่ฮ่องสอนครองตำแหน่ง ‘จนที่สุดในไทย’ มากกกว่าจังหวัดไหนๆ

สิ่งที่ได้จากดาต้า (Key takeaways)
- แม่ฮ่องสอนครองอันดับ 1 จังหวัดที่จนที่สุด เป็นจำนวนหลายปีที่สุด คือ 11 ปี จากสถิติระหว่างปี 2543-2564
- แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่ติดอัน 1 จนที่สุดติดต่อกันนานที่สุด 9 ปี ระหว่างปี 2549-2557
- ช่วงที่แม่ฮ่องสอนยากจนติดต่อกันนานที่สุดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์
- ช่วงที่แม่ฮ่องสอนยากจนติดต่อกันนานที่สุดอยู่ในช่วงเวลาประชาธิปไตย คือช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล โดยมีระยะเวลาใกล้เคียงกัน คือประมาณ 3 ปีครึ่ง
- เมื่อรวมพรรคพลังประชาชนเข้าไปด้วย จะพบว่าช่วงที่ ‘พรรคในเครือข่ายทักษิณ ชินวัตร’ เป็นรัฐบาล เป็นช่วงที่แม่ฮ่องสอนยากจนที่สุด คือประมาณ 4 สมัยรัฐบาลพลเรือน
- เมื่อรวมช่วงเวลาของรัฐบาลทหารเข้าไปด้วย จะพบว่าช่วงเวลาที่แม่ฮ่องสอนยากจนที่สุด ไม่ได้อยู่ในช่วงรัฐบาลพลเรือน แต่อยู่ในช่วงที่ประเทศปกครองโดยทหาร คือ ช่วง คปค. และ รสช.รวมกัน 4 ปีครึ่ง
- ปัตตานีครองอันดับ 1 เป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกันระหว่างปี 2562 - 2564 แทนที่แม่ฮ่องสอนในระยะหลัง
ทำไมแม่ฮ่องสอนถึงจน?
สถิติข้างต้นไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมแม่ฮ่องสอนถึงจนที่สุดในประเทศไทย เพราะความยากจนมีองค์ประกอบหลายอย่าง จากข้อสรุปของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีดังนี้- ภูมิประเทศเข้าถึงลำบาก อีกทั้งการตั้งถิ่นฐานของประชากรส่วนใหญ่ 87% อยู่ในชนบทนอกเขตเทศบาล
- พื้นที่จังหวัดเต็มไปด้วยภูเขาทำให้มีที่ทำกินน้อย พื้นที่ทำการเกษตรแค่ 2.5% ของพื้นที่ทั้งจังหวัด
- ประชาชนมีการศึกษาไม่สูงนัก แรงงานที่มีงานทำ 33.5% ไม่มีการศึกษา มีเพียง 33.6% ที่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
- บริการสาธารณสุข การศึกษา และบริการพื้นฐานของรัฐยังไม่ได้คุณภาพ และไม่ทั่วถึง เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาสูง ชุมชนกระจายห่างไกล
- จำนวนแพทย์ในแม่ฮ่องสอนมีเพียง 85 คน (ปี 2564) หรือแพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากร 2,838 คน เป็นอัตราแพทย์ต่อประชาชนจังหวัดที่น้อยที่สุดในภาคเหนือ
ข้อสังเกตด้านการเมือง
แต่สิ่งสำคัญที่จะแก้ปัญหาความยากจนให้คืบหน้าก็คือปัจจัยด้านรัฐศาสตร์ (การเมือง) ซึ่งในมิตินี้คือสมาชิกผู้แทนราษฏรระดับต่างๆ เช่น สมาชิกสภานิติบัญญัติ (ส.ส.) หรือหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และในแง่รัฐประศาสนศาสตร์ (การบริหารการปกครอง) คือ ข้าราชการประจำ หรือการปกครองส่วนภูมิภาค ข้อสังเกตในเชิงนโยบายสิ่งที่เราพบก็คือ- เทียบงบประมาณกับจังหวัดอื่นๆ พบว่าแม่ฮ่องสอนได้รับงบประมาณน้อย
- แม้จะได้รับงบประมาณน้อย แต่มีงบประมาณเหลือจากที่ได้รับจากส่วนกลาง
- ผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่งช่วงสั้นๆ แค่ 1 ปีแล้วถูกโยกย้าย
- นักการเมืองที่กุมตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมักเป็นเครือญาติกัน
ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ แม่ฮ่องสอนหล่นจากตำแหน่งจังหวัดที่จนที่สุดในไทย แต่ก็ยังไม่ได้ถอยห่างจากจากอันดับต้นๆ ของความจนที่สุด อย่างไรก็ตาม ในบทความต่อไป เราจะมาสำรวจข้อมูลกันว่าอะไรที่ทำให้แม่ฮ่องสอนหลุดพ้นจากความเป็นจังหวัดยากจนที่สุดได้