ADB เผยประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียขาดความพร้อมรับมือกับสังคมสูงวัย

3 พ.ค. 2567 - 07:38

  • การคุ้มครองแรงงานขั้นพื้นฐานควรครอบคลุมถึงแรงงานสูงวัยนอกระบบ

  • การส่งเสริมให้วัยเกษียณอายุภาคบังคับมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคสามารถยืดอายุการทำงานของผู้สูงอายุได้

adb-agingsociety-asian-SPACEBAR-Hero.jpg

รายงานจาก Aging Well in Asia: Asian Development Policy Report ซึ่งเผยแพร่ในวันนี้ ในงานประชุมประจำปีของเอดีบี ครั้งที่ 57 ที่เมืองทบิลิซิ ประเทศจอร์เจีย เปิดเผยว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียขาดความพร้อมในการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 

โดยจำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแปซิฟิกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าภายในปี 2593 ซึ่งจะเพิ่มจำนวนสูงถึง 1.2 พันล้านคน หรือ ประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมด ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านต่างๆ ตั้งแต่ความคุ้มครองเงินบำนาญที่ต่ำไปจนถึงปัญหาสุขภาพ การแยกตัวทางสังคม และการเข้าถึงบริการที่จำเป็นอย่างจำกัด

4 ความท้าท้ายของภูมิภาคเอเชียที่กำลังเผชิญในสังคมสูงวัย

1.ความท้าทายด้านสุขภาพ

  • ผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 60 ในเอเชียและแปซิฟิกไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

2.ความท้าทายด้าน productivity

  • ร้อยละ 94 ของผู้ที่ยังทำงานเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไปหรือมากกว่า เป็นผู้ทำงานนอกระบบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้รับการคุ้มครองแรงงานขั้นพื้นฐานหรือเงินบำนาญ

3.ความท้าทายด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

  • ร้อยละ 40 ของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในเอเชียและแปซิฟิกไม่สามารถเข้าถึงเงินบำนาญในรูปแบบต่างๆ ได้

4.ความท้าทายด้านสังคม

  • ร้อยละ 43 ของผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีข้อจำกัดทางกายภาพ ไม่ได้รับการดูแลที่ดี

สำหรับมาตรการเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดีและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การประกันสุขภาพและแผนบำนาญที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล โครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพที่ได้รับการปรับให้ดีขึ้น และการตรวจสุขภาพประจำปีฟรีรวมถึงการประเมินรูปแบบการใช้ชีวิต โดยผู้กำหนดนโยบายควรมุ่งเป้าไปที่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในขณะที่การคุ้มครองแรงงานขั้นพื้นฐานควรครอบคลุมไปถึงแรงงานสูงวัยนอกระบบด้วย

ทั้งนี้การส่งเสริมให้วัยเกษียณอายุในภาคบังคับมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น จะมีสุขภาพที่ดีต่อเนื่อง มีโอกาสทำงานที่เหมาะสม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตพร้อมพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคสามารถยืดอายุการทำงานของผู้สูงอายุให้มีประสิทธิผลและยาวนานมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจมีโอกาสที่จะได้เก็บเกี่ยว 'silver dividend' ในรูปแบบของการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของผู้สูงอายุ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของภูมิภาคได้ร้อยละ 0.9 โดยเฉลี่ย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์