ควบรวม TRUE–DTAC ส่อยาว ศาลฯ กลับคำสั่ง รับฟ้อง!

25 มีนาคม 2567 - 06:34

administrative-court-ais-customers-nbtc-true-dtac-merger-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่ง ศาลปกครองชั้นต้น รับคำฟ้อง ‘ลูกค้า AIS-TRUE’ ขอเพิกถอนมติ กสทช.

  • กรณีการควบรวม TRUE – DTAC ไว้พิจารณา

ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยให้รับคำฟ้องของผู้บริโภค 5 รายในคดีขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กรณีรับทราบการควบรวม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) และขอให้เพิกถอนประกาศ กสทช. กำหนดมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ไว้พิจารณา

โดยศาลฯ มีความเห็นว่า แม้ว่าการยื่นฟ้องคดีจะพ้นกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีแล้ว แต่การฟ้องคดีนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ศาลปกครองจึงมีอำนาจรับคำฟ้องของผู้บริโภคทั้ง 5 ราย ไว้พิจารณาพิพากษาได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ

เรื่องนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ บอร์ด กสทช. มีมติในการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 รับทราบการรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องมองว่า ในฐานะเป็นผู้บริโภค ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากมติของบอร์ด จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิก ถอนประกาศและมติดังกล่าว

ศาลปกครองสูงสุด วินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5ว่า เป็น ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเสี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ถูกฟ้อง คดี คือ กสทช.และเห็นว่าผู้ฟ้อง เป็นผู้ใช้บริการเครือ ข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการกำกับดูแลของผู้ถูกฟ้องคดี

สำหรับการที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 อ้างว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการ กำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 4 ธ.ค.2560 และมีมติในการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม 2565 รับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิ เคชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันส่งผลให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด กลายเป็นผู้ดำเนินกิจการที่อยู่เหนือตลาด หรือเป็นผู้ดำเนิน กิจการโทรคมนาคมเพียงรายเดียว ย่อมจะส่งผลให้อัตราค่าบริการ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมทุกประเภทเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และ ย่อมส่งผลให้ประชาชน รวมถึงผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 ไม่สามารถเลือกรับ หรือตัดสินใจในการรับบริการโทรคมนาคมได้ 

กรณีนี้จึงถือได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 อาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเสี่ยงได้ จากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 จึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

แม้ว่าผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นทาง ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิส์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์2566 เป็นการยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี ตาม มาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ.2542 แต่เมื่อพิจารณาตามอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีแล้วเห็นว่า การฟ้องคดีนี้จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ที่ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาได้ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

“บริการโทรคมนาคมเป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และด้วยข้อจำกัดเกี่ยว กับปริมาณคลื่นความถี่ที่มีจำนวนจำกัด อีกทั้งการลงทุนในการ ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ตลาดหรืออุตสาหกรรมโทรคมนาคม จึงมีผู้ประกอบการจำนวนน้อยราย ทำให้มีลักษณะเป็นการกึ่งผูกขาดโดยธรรมชาติ การที่ผู้ประกอบการในกิจการโทรคมนาคมจะควบรวมธุรกิจหรือไม่ จึงกระทบต่อการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และมีผลกระทบต่อ ประชาชนผู้ใช้บริการในวงกว้างด้วย ข้อพิพาทในคดีนี้จึงต้องถือว่า เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ศาล ปกครองจึงมีอำนาจรับคำฟ้องนี้ของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไว้พิจารณา พิพากษาได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน ศาลจึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำฟ้องของผู้ ฟ้องคดีทั้งห้าไว้พิจารณา และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี รวมทั้งพิจารณาคำขอเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา คดีของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าต่อไป”

คำสั่งศาลปกครองสูงสุด คำร้องที่ 1344/2566 คำสั่งที่ 69/2567 ลงวันที่ 19 มกราคม 2567 อ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567

ข่าวที่น่าสนใจ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์