ดีลเปิดถนน AH-1 หวังฟื้นค้าขายแดนไทย-เมียนมา

7 ต.ค. 2567 - 02:01

  • เอกชนชายแดนแม่สอด วอนรัฐบาลใหม่ เจรจาเมียนมา เปิดเส้นทาง AH-1

  • เหตุระเบิดสะพาน กระทบค้าชายแดนไทย-เมียนมา ร่วงร้อยละ 50

  • สภาทหารเมียนมา ตั้งสภาบริหารการปกครองแห่งรัฐ ยุติความขัดแย้งการต่อสู้ด้วยอาวุธ เปิดโต๊ะเข้าสู่การเลือกตั้งใหม่

blast-bridge-ah-1-road-opening-dealttrade-thailand-myanmar-SPACEBAR-Hero.jpg

ภาคเอกชนการค้าชายแดนแม่สอด จ.ตาก วิงวอนรัฐบาล ภายใต้การกำกับของ นายกฯแพทองธาร ชินวัตร เร่งเจรจากับฝ่ายเมียนมา เปิดเส้นทาง AH-1 ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ หลังเกิดเหตุระเบิดสะพาน จนส่งผลกระทบค้าชายแดนไทย-เมียนมา ร่วงร้อยละ 50 จากเฉลี่ยมีมูลค่าการค้าปีละกว่า 100,000 ล้านบาท ขณะที่สภาทหารเมียนมา ตั้งสภาบริหารการปกครองแห่งรัฐ ยุติความขัดแย้งการต่อสู้ด้วยอาวุธ เปิดโต๊ะเข้าสู่การเลือกตั้งใหม่ ด้านกลุ่มกะเหรี่ยงถกเปิดใช้ถนน AH-1 ฟื้นการค้าให้กลับมาเป็นปกติ 

ทีมข่าว Spacebar Big City พูดคุยกับ บรรพต ก่อเกียรติเจริญ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก ซึ่งเปิดเผยว่า นับตั้งแต่มีการสู้รบบริเวณแนวชายแดนเมียนมา ตรงข้ามอำเภอแม่สอด จังหวัตตาก ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถสัญจรและส่งสินค้าได้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2566 สะพานก้อแนว่ หรือ Kaw Nwet Bridge ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการขนส่งของถนนกอกอเร็ท-เมียวดี หรือ ถนนสายเอเชีย ได้ถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเมียนมา ระเบิดทำลายจนไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลกระทบให้การค้าชายแดนแทบจะหยุดชะงัก ต้องเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่นที่มีพรมแดนเชื่อมต่อกับเมียนมา ซึ่งต้องแบกต้นทุนค่าขนส่งสูงกว่าปกติ

blast-bridge-ah-1-road-opening-dealttrade-thailand-myanmar-SPACEBAR-Photo01.jpg

จากมูลค่าการค้าชายแดน ผ่านด่านศุลกากรแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนสิงหาคม 2567 มีมูลค่าการส่งออกกว่า 46,091 ล้านบาท มีมูลค่าการนำเข้ากว่า 4,909 ล้านบาท

blast-bridge-ah-1-road-opening-dealttrade-thailand-myanmar-SPACEBAR-Photo02.jpg
blast-bridge-ah-1-road-opening-dealttrade-thailand-myanmar-SPACEBAR-Photo03.jpg

เมื่อเทียบทั้งการนำเข้าและส่งออกกับปี 2566 พบว่า ขยายตัวลดลงร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าตั้งแต่การสู้รบตามแนวชายแดนเมียนมา เมื่อปลายปี 2566 จนถึงปัจจุบันนี้ มูลค่าการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง

“อยากให้รัฐบาลใหม่ได้สนใจปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะถือว่าอำเภอแม่สอด เป็นประตูหน้าด่านที่ไม่ได้ทำการค้าแค่เมียนมา แต่ยังเชื่อมโยงต่อไปยังกลุ่มอาเซียน และเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ในการติดต่อเส้นทางคมนาคมทางบกเข้าไปยังยุโรป แม้ปัญหาการสู้รบในประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ก็ควรมีการเจรจาทางการทูตอย่างเป็นทางการ เพราะถนน AH-1 ไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นของทุกประเทศที่จะมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน”

บรรพต กล่าว

blast-bridge-ah-1-road-opening-dealttrade-thailand-myanmar-SPACEBAR-Photo07.jpg

จากการสำรวจผู้ประกอบการขนส่งโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่ได้หันไปใช้เส้นทางสำรองขนส่งสินค้าเพื่อเลี่ยงไปก่อนเพื่อทดแทนด่านแม่สอด-เมียวดี เช่น ด่านพุน้ำร้อน-ทิกิ จังหวัดกาญจนบุรี ด่านสิงขร-มะริด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด่านระนอง-เกาะสอง จังหวัดระนอง ซึ่งแต่ละด่านก็มีข้อจำกัดและสภาพถนนไม่ดีเท่าเส้นหลักและขนส่งได้เฉพาะรถเล็ก จากเดิมเส้นทางหลักใช้เวลาขนส่งประมาณ 1 วัน แต่ใช้ทางเลี่ยงต้องใช้เวลาขนส่งเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 วัน 

รายงานจากฝ่ายความมั่นคงไทย ระบุว่า มีการหารือกับทุกฝ่ายในการผลักดันให้มีการซ่อมแซมสะพานที่ถูกกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาวางระเบิดจนไม่สามารถใช้งานขนส่งสินค้าระหว่างไทย-เมียนมาไปจนถึงประเทศที่ 3 ได้ เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ทั้งการค้าชายแดน และการค้าข้ามแดนที่สำคัญ 

โดยเบื้องต้นมีข้อมูลว่า กลุ่มกะเหรี่ยงที่คุมกองกำลังแนวชานแดนเมียนมา ได้พูดคุยถึงทางออกของการกลับมาใช้เส้นทาง AH-1 ให้ได้ตามปกติ เพราะตลอดเวลาหลายเดือน การส่งออกและนำเข้าสินค้าชะงักไปทั้งระบบ

ขณะเดียวกันสภาทหารเมียนมา ได้ออกแถลงข่าวเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เชิญองค์กรกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ (EAOs) และกองกําลังป้องกันภัยพลเรือน (PDFs) แก้ปัญหาการเมืองด้วยวิธีการเมือง ในหนังสือเชิญ ระบุว่า สภาบริหารการปกครองแห่งรัฐ (SAC) ยื่นข้อเสนอถึงกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา เข้ามาร่วมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมือง

blast-bridge-ah-1-road-opening-dealttrade-thailand-myanmar-SPACEBAR-Photo04.jpg
blast-bridge-ah-1-road-opening-dealttrade-thailand-myanmar-SPACEBAR-Photo05.jpg

โดยมีสาระสำคัญ  3 ประเด็น คือ

  1. ตามรัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ.2008 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา กองทัพเมียนมา จึงเข้ามาควบคุมประสานงาน หาทางออกด้วยวิถีทางการเมือง  
  2. กองทัพเมียนมา ได้จัดตั้งสภาบริหารการปกครองแห่งรัฐ (SAC)  และจะปฏิบัติตามแผนงาน 5 ประการ 
  3. ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.67 เป็นต้นไป รัฐบาลเมียนมา จะเริ่มดำเนินการสำรวจประชากร เพื่อสนับสนุนการเลือกตั้งต่อไป

ล่าสุด ทางกองบัญชาการ (DKBA) เขตพิเศษสันติภาพ (จ่าอิน ป่อต่อหมู่) นำโดย พล.อ.โบสะตี ผบ.กกล.(DKBA) เคลื่อนไหวทางการเมือง/ทหาร อยู่ในพื้นที่ จ.กอกาเร็ก, จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ด้านตรงข้าม อ.พบพระ อ.อุ้มผาง จ.ตาก ได้ประกาศสนับสนุน นโยบายของสภาบริหารการปกครองแห่งรัฐ (SAC)/รัฐบาลทหารเมียนมา ที่ให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา เข้าร่วมแก้ไขปัญหาทางการเมือง ด้วยวิถีทางการเมืองภายในประเทศ  โดยมีจุดประสงค์ขอยุติความขัดแย้งที่ต้องต่อสู้กันด้วยอาวุธ และคาดหวังว่าทุกชาติพันธุ์ จะเข้าร่วมกับเจรจาหาทางออกร่วมกันได้

blast-bridge-ah-1-road-opening-dealttrade-thailand-myanmar-SPACEBAR-Photo06.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์