ปัญหาใหญ่ของการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนช่วงนี้คือ การตรวจสารปนเปื้อนตามที่ทางการจีนกำหนด แล็บในประเทศไทยเวลานี้มี 2 แห่งที่เปิดรับตรวจและออกใบรับรอง ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ และกระทรวงเกษตรผู้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงก็เพิ่มจำนวนแล็บที่สามารถตรวจและออกใบรับรองได้อีก 12 แห่ง เริ่มปฏิบัติงานได้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคมเป็นต้นไป
ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาทุเรียนไทยไปจีน ล่าสุดทางสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกบันทึกข้อความ ที่ กษ 0913/1055 ด่วนที่สุด ลงวันที่ 15 มกราคม 2568
เรื่อง ขอแจ้งแนวทางการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (PC) สำหรับการส่งออกทุเรียนไปจีน
ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/2568 ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม และมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายถาวร ทันใจ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและ อาหารแห่งชาติ (มกอช.) และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมประชุมในวันที่13 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่าน Zoom meeting นั้น สํานักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (สคว.) ขอแจ้งแนวทางการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช(PC) สําหรับการส่งออกทุเรียนไปจีน ดังนี้
1.สินค้าทุเรียนส่งออกไปจีนทุกตู้ ชิปเม้นท์ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ต้องมีใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (test report) ของโลหะหนักแคดเมียม (Cd) ซึ่งผลวิเคราะห์ไม่เกิน *0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และสาร Basic Yellow) ซึ่งมีผลวิเคราะห์ คือ‘ตรวจไม่พบ หรือ not detected’ จากห้องปฏิบัติการที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับความสามารถ มาแสดงต่อด่านตรวจพืช ที่จะออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (PC) ทุกครั้ง โดยหากเป็นไปตามข้อกําหนดแล้ว ด่านตรวจพืชจึงจะออก ใบ PC ให้กับสินค้านั้น โดยผู้ประกอบการต้องนําใบ PC และใบ test report ของสาร Basic Yellowe ดังกล่าว กํากับไปพร้อมกับสินค้าทุเรียนเพื่อใช้แจ้งนําเข้าที่ด่านนําเข้าของจีนด้วยทุกครั้ง ตามข้อกําหนดของ สํานักงานศุลกากรของจีน (GACC)
2. ขณะนี้ห้องปฏิบัติการที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับความสามารถ มีความพร้อม ในการตรวจวิเคราะห์โลหะหนักแคดเมียมในทุเรียนแล้ว โดยมีรายชื่อห้องปฏิบัติการฯ ปรากฏตามเอกสารแนบ ส่วนการตรวจวิเคราะห์สาร Basic Yellow 2 ในทุเรียน เนื่องจากยังไม่เคยมีการตรวจวิเคราะห์มาก่อนในประเทศไทย ห้องปฏิบัติการฯ จึงอยู่ระหว่างการนําเข้าสารมาตรฐาน Basic Yellow 2จากต่างประเทศ และ เตรียมกําหนดวิธีตรวจวิเคราะห์ ซึ่งคาดว่าสามารถให้บริการตรวจวิเคราะห์สาร Basic Yellow 2ได้ประมาณ วันที่ 20 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับ รายชื่อห้องปฏิบัติการที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับความสามารถ และให้บริการตรวจวิเคราะห์โลหะหนักแคดเมียมในทุเรียนได้ ประกอบด้วย
-บริษัท เอสซีเอส (ประเทศไทย) จํากัด
-บริษัท เอแอลเอส แลบอราทอรี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จํากัด
-บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จํากัด
-บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จํากัด สาขากรุงเทพฯ
-บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จํากัด สาขาเชียงใหม่
-บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จํากัด สาขาฉะเชิงเทรา
-บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จํากัด สาขาสงขลา
-บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จํากัด สาขา สมุทรสาคร
-บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตร แห่งเอเชีย จํากัด (มหาชน)
-อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
-บริษัท บูโร เวอริทัส เอคิว แล็บ (ประเทศไทย) จํากัด
-บริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้งเซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จํากัด

ผู้ส่งตรวจสามารถสอบถามห้องปฎิบัติการแต่ละแห่งเรื่องการรับตัวอย่าง การส่งตรวจ จากแล็บโดยตรงได้
สำหรับแล็บที่สามารถตรวจและออกใบรับรองทุเรียนในเวลานี้รวมเป็น 14 แห่ง โดยแห่งแรกบริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMARC เปิดรับตรวจตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ใช้เวลาตรวจ 3 วัน และรายที่สอง บริษัท ห้องปฎิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Central Lab เริ่มตรวจวันที่ 15 มกราคม ใช้เวลาตรวจ 2 วัน ส่วนที่เหลือแล็บใหม่เริ่มตรวจได้วันที่ 20 มกราคม