เชียงใหม่ยังระทม เศรษฐกิจพัง-สูญรายได้ท่องเที่ยว

21 ต.ค. 2567 - 02:04

  • หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ยอมรับประเมินมูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วมไม่ได้ เหตุหนักสุดในรอบประวัติศาตร์

  • สมาคมร้านอาหารเผย กระทบหนักร้อยละ 70 ขณะที่ธุรกิจโรงแรมสะอื้น ห้องพักสองฝั่งน้ำปิง 2,000 ห้องสูญรายได้

  • คาดใช้เวลาอย่างต่ำกว่า 2 เดือนฟื้นฟูกิจการ ชวดรายได้ช่วงไฮซีซั่น จี้รัฐระดมงบประมาณกระตุ้นแผนการตลาด

chiang-mai-economy-damaged-tourism-income-plummeted-SPACEBAR-Hero.jpg

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ยอมรับประเมินมูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วมไม่ได้ เหตุหนักสุดในรอบประวัติศาสตร์ แนะรื้อระบบบริหารจัดการน้ำ-แผนเผชิญเหตุใหม่ทั้งหมด ด้านสมาคมร้านอาหารฯกระทบหนักร้อยละ 70 จาก 1,000 แห่ง เสียหายยับ ขณะที่ธุรกิจโรงแรมสะอื้น ห้องพักสองฝั่งน้ำปิง 2,000 ห้อง สูญรายได้ คาดใช้เวลาอย่างต่ำกว่า 2 เดือนฟื้นฟูกิจการชวดรายได้ช่วงไฮซีซั่น จี้รัฐระดมงบประมาณ -กระตุ้นแผนตลาดในประเทศ-ต่างประเทศ

chiang-mai-economy-damaged-tourism-income-plummeted-SPACEBAR-Photo01.jpg

พัลลภ แซ่จิว รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงผลกระทบของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ รุนแรงหนักสุดในรอบประวัติศาสตร์ และกระทบต่อย่านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ช่วงตลอดสัปดาห์ที่มีมวลน้ำทะลักของท่วมพื้นที่ย่านเศรษฐกิจนั้น คาดว่าภาคธุรกิจบริการน่าจะได้รับความเสียหายไม่ต่ำกว่าวันละ 200 ล้านบาท จากปกติในแต่ละเดือน มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท

chiang-mai-economy-damaged-tourism-income-plummeted-SPACEBAR-Photo02.jpg

“ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐได้รับผลกระทบแล้ว ในส่วนของภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ถือว่าหนักมากอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้เป็นสิ่งที่ยากในการประเมินมูลค่าความเสียหาย และขณะนี้จังหวัดเชียงใหม่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูเมืองให้กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด อยากเรียกร้องให้ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งแก้ไขและเยียวยา ต้องทบทวนการบริหารจัดการน้ำใหม่ทั้งระบบ การทำจัดแผนเผชิญเหตุ แผนอพยพ วางระบบยาและอาหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ”

ธนิต ชุมแสง นายกสมาคมร้านอาหาร และสถานบันเทิงจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปีนี้จังหวัดเชียงใหม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยหนักสุดในรอบหลายปี ทำให้ร้านอาหารที่ตั้งอยู่แนว 2 ฝั่งริมแม่น้ำปิง และพื้นที่ 7โซนเสี่ยง ต่างได้รับความเสียหาย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 จากจำนวนร้านอาหารทั้งหมด 1,000 แห่ง เบื้องต้นคาดว่าน่าจะสูญรายได้ภาพรวมไม่น่าจะต่ำกว่าวันละ 20 ล้านบาท ส่วนร้านอาหารที่ไม่ได้ผลกระทบจากน้ำท่วม ก็อยู่ในภาวะซบเซา เพราะกำลงซื้อจากทั้งประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวหายไป

chiang-mai-economy-damaged-tourism-income-plummeted-SPACEBAR-Photo04.jpg

แม้ว่าขณะนี้ร้านอาหารหลายๆแห่งจะเร่งทำการฟื้นฟู เพื่อให้กลับมาเปิดบริการได้ตามปกติ แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรในการทำความสะอาด เพราะระดับน้ำปิงที่สูง และมีโคลน ทำให้อุปกรณ์ทำครัว และเฟอร์นิเจอร์ ต่างได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ หลังจากนี้จะต้องสำรวจความเสียหายของร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ และหารือร่วมกัน เพื่อจะขอให้ทางภาครัฐเข้ามาเยียวยาผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้

chiang-mai-economy-damaged-tourism-income-plummeted-SPACEBAR-Photo03.jpg

“อุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ อยากให้เกิดการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ และมีมาตรการป้องกันที่ดีขึ้น จะเห็นได้ว่ามวลน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลงลงแม่น้ำปิงผ่ากลางเมืองเชียงใหม่ แต่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ กลับไม่มีพนังกั้นน้ำในระดับที่สามารถรองรับปริมาณจุดวิกฤตได้ ถึงเวลาที่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมาทบทวนและสร้างพนังกั้นน้ำแนวน้ำปิง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศหรือระดับจังหวัด จะมีการถอดบทเรียน เพื่อวางแผนรับมือในอนาคต”

นายกสมาคมร้านอาหาร และสถาบันบันเทิงจังหวัดเขียงใหม่ กล่าว

ละเอียด บุ้งศรีทอง ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ (ตอนบน) กล่าวว่า โรงแรมที่ตั้งอยู่ 2 ฝั่งแม่น้ำปิงของจังหวัดเชียงใหม่ ต่างได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้เกือบทั้งหมด น่าจะรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 1,500-2,000 ห้อง และต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูอย่างร้อยไม่ต่ำกว่า 1-2 เดือนถึงจะกลับมาเปิดบริการได้ เพราะไม่เพียงแต่จะเสียหายทั้งเฟอร์นิเจอร์ และสิ่งของต่างๆ แล้ว ระบบของไฟฟ้า น้ำประปา และระบบไอทีก็ได้ความเสียหายไปด้วย ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ แต่ถือหนักสุดเป็นประวัติศาตร์ของจังหวัดเชียงใหม่

chiang-mai-economy-damaged-tourism-income-plummeted-SPACEBAR-Photo05.jpg

“ขณะนี้ได้เข้าสู่ฤดูกาลการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจโรงแรม โดยแต่ละปีจะมีอัตราเข้าพักไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 แต่ในช่วงที่จังหวัดเชียงใหม่เกิดอุทกภัย สัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ตัวเลขการเข้าพักโรงแรมที่ได้รับผลกระทบหายไปประมาณร้อยละ 30 เพราะต่างไม่มั่นใจในสถานการณ์ความปลอดภัยจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้น และขณะนี้แม้จะย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 แล้ว แต่ก็อยู่ในช่วงที่โรงแรมหลายแห่งกำลังเร่งทำความสะอาด ตกแต่ง เพื่อฟื้นฟูกิจการให้กลับคืนมาโดยเร็วที่สุด”

ละเอียด กล่าวอีกว่า ในส่วนของผู้ประกอบการโรงแรม แบ่งแยกเป็น 2 ส่วน คือ ความเสียหายจากทรัพย์สิน จากการทำความสะอาด ,งานซ่อมแซมและงานเปลี่ยนอุปกรณ์งานระบบ ที่ซ่อมไม่ได้ ซึ่งประเมินความเสียหายยาก เพราะมีโรงแรมเสียหายวงกว้างมาก โดยส่วนใหญ่โรงแรมกำลังรวบรวมใบเสนอราคาจากผู้รับเหมา รวมทั้งผู้รับเหมาที่มีคุณภาพก็ขาดแคลน ต้องรอคิว

“อีกส่วนคือ ความเสียหายจากการทำรายได้ ทั้งในส่วนสูญเสียในระหว่าง และหลังจากน้ำท่วม ทั้งจากรายได้ภายจากคนในเมืองเองที่ทั้งงานใช้บริการ งานเลี้ยง และการประชุม และจากลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการสำรวจในประเด็นรายได้อาจจะประเมินทั้งเดือนตุลาคม 2567 ด้วย”

นอกจากนี้ ธุรกิจโรงแรมกำลังเผชิญกับปัญหาใหญ่ คือ การฟื้นฟู ความสะอาด สาธารณูปโภค พื้นฐาน การบริหารจัดการขยะ และการฟื้นฟู ห่วงโซ่การท่องเที่ยวให้ครบวงจรเพราะเป็นเรื่องต้นทุนจุดขายเมือง เริ่มต้นจากความเป็นอยู่ภาคประชาชน สังคม ส่งต่อทางภาค การศึกษา ภาครัฐ ภาคท้องถิ่นโดยเริ่มจากสังคมครอบครัว

“ขณะที่กลยุทธ์ต่างๆ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และรัฐบาล ต้องเข้ามาช่วยเหลือทั้งแนวคิด และงบประมาณ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ที่สำคัญ ต้องกระตุ้นให้มีการจัดการประชุมสัมมนา สร้างตลาดภายในประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านงบประมาณภาครัฐ ภาคเอกชนที่มีศักยภาพ แทนการไปใช้จ่ายต่างประเทศ และต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเมือง หรือแก้ไขปัญหา เรื่องการจัดการน้ำอย่างจริงจัง เพราะไม่เช่นนั้น น้ำท่วมจะกลายเป็นปัญหาที่ทำลายความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวระยะยาว”

chiang-mai-economy-damaged-tourism-income-plummeted-SPACEBAR-Photo06.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์