การลงทุนทำ รถร้านอาหาร หรือ Food Truck ออกไปขายของ ดูเหมือนสะดวกสบายไร้ปัญหา แต่แท้ที่จริง ยังมีอุปสรรค 2 ด้าน ที่ผู้ประกอบการล้วนต้องประสบ คือ ‘การขาดสภาพคล่อง และจุดจอดจำหน่ายสินค้า’ ขณะนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เซอร์เวย์รับฟังปัญหาเรียบร้อย พร้อมเตรียมหาทางแก้
ทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยถึงปัญหาแรก ด้านการขาดสภาพคล่องนั้น กรมพัฒน์ชี้ มีโครงการ ‘เงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ’ ให้ผู้ประกอบการที่สนใจ ทว่า โครงการนี้ต้องไปขอความร่วมมือสถาบันการเงินอีกครั้ง แต่คิดว่า ไม่น่ามีปัญหา เพราะฟู้ดทรัค เอง ถือเป็นหลักประกันที่ดีประเภทหนึ่ง ที่แบงก์ตอบรับ อีกทั้งยังเคยให้คำปรึกษาผู้ประกอบการมาแล้วก่อนหน้า แนะนำถึงแนวปฏิบัติและเทคนิคการขอสินเชื่อให้ได้รับการอนุมัติ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการฟู้ดทรัคและนักลงทุนหน้าใหม่เป็นจำนวนมาก
อุปสรรคอีกด้าน คือ ‘จุดจอดจำหน่ายสินค้า’ ที่จะต้องไม่ผิดกฎหมาย และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่นั้น กรมฯ จะช่วยเจรจาหน่วยงานพันธมิตร ‘เอื้อเฟื้อสถานที่’ ให้รถฟู้ดทรัคสามารถ ‘จอดจำหน่ายสินค้าได้’ หรือหากต้องมีค่าใช้จ่าย ก็ขอส่วนลดให้เป็นกรณีพิเศษ
อย่างไรก็ตาม วันที่ 16-17 สิงหาคม 2565 เป็นช่วงเวลาที่กรมฯ จัด ‘มหกรรมฟู้ดทรัค’ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้า และเป็นการเปิดตลาดใหม่ ที่จะได้พบปะลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ สร้างการจดจำแบรนด์ ตลอดจนเปิดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจฟู้ดทรัค และการใช้ประโยชน์จากกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากขึ้น งานนี้จึงเป็นอีกโอกาสของนักลงทุนหน้าใหม่ที่สนใจเข้าวงการฟู้ดทรัค ผลที่ได้อีกด้าน คือจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไปในตัวด้วย
โดยงานครั้งนี้ มีชื่อว่า ‘อร่อยกู๊ด ฟู้ดทรัค’ จัดขึ้นที่บริเวณลานจอดรถชั้น G อาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งจะมีผู้ประกอบการฟู้ดทรัคของไทยกว่า 30 ร้านค้า มาจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายสไตล์เลยทีเดียว
งานนี้กรมพัฒน์ฯ ได้เชิญผู้บริหารธุรกิจฟู้ดทรัคทีมช้างมาถ่ายทอดประสบการณ์ วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง และโอกาสการเติบโตของธุรกิจฟู้ดทรัคแก่นักลงทุนหน้าใหม่หรือผู้สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจเข้าลงทุนในธุรกิจ และได้เชิญธนาคารไทยพาณิชย์มาให้คำแนะนำการจัดทำแผนธุรกิจ และการขอสินเชื่อเพื่อเป็นใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือขยายการลงทุนของธุรกิจด้วยแล้ว
ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 สิงหาคม มิถุนายน 2566) มีผู้นำกิจการมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 10,021 สัญญา มูลค่ารวม 1,446 ล้านบาท
ทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยถึงปัญหาแรก ด้านการขาดสภาพคล่องนั้น กรมพัฒน์ชี้ มีโครงการ ‘เงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ’ ให้ผู้ประกอบการที่สนใจ ทว่า โครงการนี้ต้องไปขอความร่วมมือสถาบันการเงินอีกครั้ง แต่คิดว่า ไม่น่ามีปัญหา เพราะฟู้ดทรัค เอง ถือเป็นหลักประกันที่ดีประเภทหนึ่ง ที่แบงก์ตอบรับ อีกทั้งยังเคยให้คำปรึกษาผู้ประกอบการมาแล้วก่อนหน้า แนะนำถึงแนวปฏิบัติและเทคนิคการขอสินเชื่อให้ได้รับการอนุมัติ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการฟู้ดทรัคและนักลงทุนหน้าใหม่เป็นจำนวนมาก
อุปสรรคอีกด้าน คือ ‘จุดจอดจำหน่ายสินค้า’ ที่จะต้องไม่ผิดกฎหมาย และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่นั้น กรมฯ จะช่วยเจรจาหน่วยงานพันธมิตร ‘เอื้อเฟื้อสถานที่’ ให้รถฟู้ดทรัคสามารถ ‘จอดจำหน่ายสินค้าได้’ หรือหากต้องมีค่าใช้จ่าย ก็ขอส่วนลดให้เป็นกรณีพิเศษ
อย่างไรก็ตาม วันที่ 16-17 สิงหาคม 2565 เป็นช่วงเวลาที่กรมฯ จัด ‘มหกรรมฟู้ดทรัค’ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้า และเป็นการเปิดตลาดใหม่ ที่จะได้พบปะลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ สร้างการจดจำแบรนด์ ตลอดจนเปิดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจฟู้ดทรัค และการใช้ประโยชน์จากกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากขึ้น งานนี้จึงเป็นอีกโอกาสของนักลงทุนหน้าใหม่ที่สนใจเข้าวงการฟู้ดทรัค ผลที่ได้อีกด้าน คือจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไปในตัวด้วย
โดยงานครั้งนี้ มีชื่อว่า ‘อร่อยกู๊ด ฟู้ดทรัค’ จัดขึ้นที่บริเวณลานจอดรถชั้น G อาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งจะมีผู้ประกอบการฟู้ดทรัคของไทยกว่า 30 ร้านค้า มาจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายสไตล์เลยทีเดียว
งานนี้กรมพัฒน์ฯ ได้เชิญผู้บริหารธุรกิจฟู้ดทรัคทีมช้างมาถ่ายทอดประสบการณ์ วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง และโอกาสการเติบโตของธุรกิจฟู้ดทรัคแก่นักลงทุนหน้าใหม่หรือผู้สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจเข้าลงทุนในธุรกิจ และได้เชิญธนาคารไทยพาณิชย์มาให้คำแนะนำการจัดทำแผนธุรกิจ และการขอสินเชื่อเพื่อเป็นใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือขยายการลงทุนของธุรกิจด้วยแล้ว
ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 สิงหาคม มิถุนายน 2566) มีผู้นำกิจการมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 10,021 สัญญา มูลค่ารวม 1,446 ล้านบาท