นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ชี้แจงกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความบิดเบือนเกี่ยวกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet หรือ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ว่า ประชาชนที่ลงทะเบียนเข้าใช้งาน แอพพลิเคชัน ‘ทางรัฐ’ ไร้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล ว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง กระทรวง ดีอี และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้กำหนดกรอบแนวทางการสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในโครงการ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ และแอพพลิเคชัน ‘ทางรัฐ’
“ในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบ ตามมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC พร้อมกับการตรวจสอบการออกแบบ การพัฒนา และการทดสอบเพื่อรับมือสถานการณ์ที่มีการเจาะระบบ และจัดให้มีการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง”
นายประเสริฐ กล่าว
นอกจากนี้ได้เฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารที่มีการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าข่ายเป็นการหลอกลวงสร้างความเข้าใจผิดหรือหลงเชื่อแก่ประชาชน เช่น การสร้างเว็บไซต์ปลอม การหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม การสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม การเผยแพร่ออกไปสู่วงกว้างจะเป็นผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการใช้งานดิจิทัลของประชาชน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโครงการสำคัญของรัฐบาล
อะไรก็ดีกับคณะกรรมการ ฯ ได้กำหนดการจัดทำแผนดำรงความต่อเนื่องของการดำเนินงานของระบบ (Business Continuity Plan) และแผนการฟื้นฟูเพื่อคืนสภาพการพร้อมให้บริการ (Disaster Recovery Plan) ดังนั้นโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต จึงถือเป็นโครงการสำคัญของรัฐบาล ในการสร้างความเชื่อมั่นการใช้งานดิจิทัลของคนไทย?