‘จุลพันธ์’ ยันไม่ได้กู้เงิน ธ.ก.ส. มาใช้ในดิจิทัลวอลเล็ต

23 เมษายน 2567 - 04:07

economic-bank-app-digital-wallet-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ดิจิทัลวอลเล็ต แต่เป็นการใช้กลไกงบประมาณ

  • พัฒนา ‘ซุปเปอร์แอปฯ’ ใช้งบประมาณไม่ถึงพันล้าน

  • แอปฯ ‘เป๋าตัง’ ยังคงเป็นตัวเลือกอยู่

วันนี้(23 เม.ย.67) ที่ทำเนียบรัฐบาล จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีสหภาพธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เข้าพบที่กระทรวงการคลังเมื่อวานนี้ (22 เม.ย.) เพื่อขอให้ชี้แจงกรณี ที่จะนำเงินของ ธ.ก.ส.ไปใช้ในโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ตใน 5 ประเด็น ว่า เมื่อวานได้นั่งพูดคุยกันและชี้แจงเรียบร้อยดี และก็เข้าใจตรงกัน ยืนยันว่าไม่มีปัญหา ซึ่งพวกเขาก็ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฏหมาย โดยทางคณะกรรมการฯ และกระทรวงการคลังก็ได้ตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้วยืนยันว่าทุกอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามรัฐบาลต้องการความมั่นใจ ว่ามีขั้นตอนทางกฏหมายอะไรที่รัฐบาลต้องทำ เช่น ส่งให้ทางสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบซึ่งก็ต้องทำ 

ส่วนได้กำหนดระยะเวลาให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบหรือไม่ จุลพันธ์ กล่าวว่า ยังไม่ใช่ตอนนี้ เพราะทุกอย่างมีระยะเวลาของมัน แต่อย่างไรก็ตามตนยืนยันว่าไม่มีความกังวล เพราะรัฐบาลมั่นใจ ว่าทุกอย่างทำตามกรอบกฏหมายชัดเจน 

ยืนยันถึง 5 ข้อสงสัยของสหภาพแรงงาน ธ.ก.ส. ว่าสามารถชี้แจงได้หมด รวมถึงแหล่งที่มาของเงิน ส่วนเรื่องของสภาพคล่องไม่น่าเป็นห่วง เพราะธ.ก.ส. สามารถบริหารจัดการได้ โดยกลไกปกติผ่านการบริหารจัดการของธนาคาร ส่วนการชำระเงินคืนก็เป็นไปตามกลไกของงบประมาณ ที่รัฐบาลจะต้องมีกลไกในการชำระคืน ตาม ม.28 ให้กับ ธ.ก.ส.ในแต่ละปี พร้อมยืนยันว่าส่วนตัวไม่กลัวว่าจะเกิดแรงกระเพื่อม เพราะเมื่อวานได้พูดคุยกันเป็นไปอย่างเรียบร้อยดี และเข้าใจตรงกัน

เมื่อถามว่าขณะนี้รัฐบาลเป็นหนี้ ธ.ก.ส.อยู่ประมาณประมาณเท่าไหร่ จุลพันธ์ ตอบว่า ประมาณ ประมาณ 8-9 แสนล้านบาท ยืนยันว่าครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการกู้เงินของธนาคาร ธ.ก.ส. มาทำนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต แต่เป็นการ ใช้กลไกผ่านงบประมาณและมาตรการการเงินการคลัง เพราะรัฐบาลกู้เงิน ธ.ก.ส. ไม่ได้ 

ทั้งนี้ ได้ยืนยันไปทางสหภาพแรงงานธ.ก.ส. ไปในสามประเด็นคือ กลไกทั้งหมดต้องเป็นไปตามกฏหมาย และเสถียรภาพของธนาคารธ.ก.ส. จะต้องแข็งแกร่ง พอรัฐบาลจะ มีนโยบายที่จะเพิ่มในเรื่องความแข็งแกร่งให้กับ ธ.ก.ส. และ ที่สำคัญรัฐบาลถือหุ้น 100% ไม่มีทางที่จะรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกนี้สั่นไหว ขณะที่ปีนี้เป็นปีที่สำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกร รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องใช้ มาตรการตามมาตรา 28 ซึ่งทุกรัฐบาลก็ทำมากันตลอด เพราะเป็นกลไกที่จะเอื้อมมือไปหาเกษตร โดยไม่ขัดต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ และสุดท้าย จะต้องไม่กระทบต่อสวัสดิการและสวัสดิภาพของพนักงานธ.ก.ส. 

เมื่อถามว่าเกษตรกรสงสัยว่าทำไม ถึงไม่ให้ใช้เงินในโครงการไปชำระหนี้เลย จุลพันธ์ ยืนยันว่า ใช้ชำระหนี้ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่รัฐบาลยืนยันมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ว่าต้องการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ หากนำเงินไปใช้หนี้คืนให้กับ ธ.ก.ส. เป็นต้น ก็หมายความว่าเงินดังกล่าวจะกลับเข้ารัฐ ไม่เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

ผู้สื่อข่าวถามถึงระบบบล็อกเชน จะเข้ากับแอปพลิเคชั่นของรัฐได้อย่างไร เพราะไม่ได้เอื้อต่อธุรกรรมทางการเงิน นายจุลพันธ์กล่าวว่า กำลังพัฒนา และดำเนินการอยู่ส่วนเรื่องแอปฯ ‘ทางรัฐ’ ก็ได้มีการพูดคุยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชั่นที่คาดหวังว่า จะสามารถอัพเกรดเป็นซุปเปอร์แอพฯ ซึ่งเป็นเรื่องของกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จะเป็นผู้รับผิดชอบ และดำเนินการดำเนินการพัฒนาระบบ เพื่อให้เชื่อมโยง ความเป็นรัฐทั้งหมดเข้ามาอยู่ในแอพเดียวกัน เพื่อไปเป็นจุดเชื่อมในอนาคต เช่นลูกค้าของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นธนาคารของอะไร จะสามารถมาเชื่อมกับระบบของรัฐ และสามารถเข้าสู่ระบบดิจิทัลวอลเล็ตได้ ยืนยันว่าการไปพัฒนาเรื่องนี้นั้นใช้งบประมาณไม่เยอะ ไม่ถึงพันล้านบาท และจะสามารถใช้ทันในไตรมาส4 ส่วนแอปฯ เป๋าตัง ก็ยังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือก ที่รัฐบาลก็กำลังดูอยู่

ข่าวที่น่าสนใจ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์