กทม.เปลี่ยนแบบท่อระบายน้ำ แก้ปัญหาน้ำรอการระบาย

27 ส.ค. 2567 - 10:30

  • เปลี่ยนท่อ เปลี่ยนท่อ เปลี่ยนท่อ ยุคผู้ว่าชัชชาติ

  • กรุงเทพมหานคร ทดลองท่อระบายน้ำแบบใหม่

  • ระบายน้ำได้เร็วลดการอุดตันจากขยะ

economic-business-flooding-bangkok-drain-pipe-SPACEBAR-Hero.jpg

ฤดูฝนปีนี้หลายเขตฝากความหวังไว้กับท่อระบายน้ำ O Gutter โดยเฉพาะสุขุมวิท ท่อระบายน้ำ U Gutter เป็นท่อระบายน้ำรูปตัว U ด้านบนของท่อ ปิดด้วยตะแกรงเหล็กขนาดยาว มีช่องระบายน้ำ U Gutter เหมาะกับพื้นที่ต่ำที่มีปัญหาท่อระบายน้ำล่าช้า แต่มีข้อเสียคือ เวลาฝนตก น้ำจะพาขยะไหลมาปิดตะแกรงเหล็กที่ปิดฝาท่อ ทำให้อุดตัน ระบายน้ำไม่ได้ หรือล่าช้า 

ท่อแบบ O Gutter เป็นรางน้ำปากแคบ บริเวณปากท่อออกแบบให้มีขนาดเล็กยาวเป็นแนวเดียว หรือเรียกว่าร่องเดี่ยว มีข้อดีคือ แก้ปัญหาขยะเข้ามาอุดตัน ทำให้น้ำบริเวณผิวถนนระบายได้รวดเร็วขึ้น

economic-business-flooding-bangkok-drain-pipe-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: ท่อระบายน้ำ U Gutter เหมาะกับพื้นที่ต่ำที่มีปัญหาท่อระบายน้ำล่าช้า แต่มีข้อเสียคือ เวลาฝนตก น้ำจะพาขยะไหลมาปิดตะแกรงเหล็กที่ปิดฝาท่อ ทำให้อุดตัน ระบายน้ำไม่ได้ และล่าช้า

นอกจากท่อระบายน้ำ  ยังออกแบบให้มีบ่อพักน้ำทุก 15 เมตร กรณีที่ท่ออุดตันจากขยะชิ้นเล็ก ๆ สามารถเปิดฝาเพื่อเก็บขยะหรือดูดเลนได้สะดวกขึ้น  

ท่อ O Gutter ถูกนำมาใช้ในย่านสุขุมวิท บริเวณซอยอุดมสุข หรือสุขุมวิท 103  เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ถือเป็นจุดนำร่องพื้นที่แรก เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมขังยามเมื่อมีปริมาณฝนตกลงอยู่บ่อยครั้ง ล่าสุด เกิดฝนตกลงมากว่า3 ชั่วโมง และเกิดน้ำท่วมขัง กทม. ยืนยันว่า ด้วยท่อใหม่ ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมขังลดลงเร็ว โดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง

economic-business-flooding-bangkok-drain-pipe-SPACEBAR-Photo V01.jpg
Photo: ท่อแบบ O Gutter เป็นรางน้ำปากแคบ แก้ปัญหาขยะเข้ามาอุดตัน ทำให้น้ำบริเวณผิวถนนระบายได้รวดเร็วขึ้น เริ่มใช้ในโครงการนำร่องซอยสุขุมวิท 103

ท่อเล็ก 60 เซ็นติเมตร ระบายน้ำไม่ทัน

กรุงเทพฯ ใช้งบประมาณไปกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่น เขื่อนอุโมงค์ระบายน้ำ หรือแก้มลิง ขณะที่การจัดการเล็ก เช่นการลอกท่อระบายน้ำ อันเป็นงานของสำนักงานเขต โครงข่ายในการระบายน้ำไปสู่โครงการขนาดใหญ่นั้นได้รับงบฯ ไม่เพียงพอ

กรุงเทพฯ มีท่อระบายน้ำ 6,564 กิโลเมตร ในปี 2564 กรุงเทพฯ มีการล้างท่อระบายน้ำเพียง439 กิโลเมตา หรือเพียง 7.51% ของความยาวท่อทั้งหมดในกรุงเทพฯ เหมาจ้างเอกชนดำเนินการ 360 กิโลเมตร จ้างแรงงานชั่วคราว 70 คนความยาว 61 กิโลเมตร และใช้รถดูดเลนของสำนักระบายน้ำ 8 คัน ความยาว 72 กิโลเมตร 

ท่อระบายน้ำส่วนใหญ่ของ กทม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-60 เซ็นติเมตร หากมีน้ำมามากหรือมีปริมาณน้ำฝนเกิน 60 มิลลิเมตร/ชั่วโมง ก็จะระบายไม่ทัน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของบางเขตในกรุงเทพฯ ทำให้การระบายน้ำลำบากขึ้น

กรุงเทพฯ มีแม่น้ำเจ้าพระยาแบ่งพื้นที่เป็นสองฝั่ง ฝั่งธนบุรีเป็นพื้นที่ดอน ฝั่งพระนครเป็นพื้นที่ลุ่ม บางส่วนเป็นแอ่ง หากเป็นพื้นที่ระดับความสูงปกติ น้ำจะไหลลงคูคลองหรือแหล่งระบายน้ำ ไปรวมกันในอุโมงค์ระบายน้ำ ก่อนจะถูกสูบออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่หากอยู่ในพื้นที่ต่ำก็ระบายลงคลองไม่ได้ ถือเป็นปัญหาระยะยาว 

ยังมีปัญหาที่หลายคนอาจลืมคำนึงถึง คือ แผ่นดินกรุงเทพฯ ที่ทรุดตัวลงทุกปี

จากสถิติที่กรมแผนที่ทหารสำรวจมาตลอด 30 ปี  2521-2551 กรุงเทพฯ ทรุดตัวลง2-3 เซนติเมตร ปัจจุบัน กรุงเทพฯ สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพียง 1.5 เมตรเท่านั้น

รายงานของกรีนพีซ ระบุว่า พื้นที่ในกรุงเทพฯ มากกว่า 96% เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์