ต่อลมหายใจนายฮ้อย หนุนอีสานฮับส่งวัวไปจีนแก้ราคาตก

25 ส.ค. 2567 - 04:47

  • เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวในอีสานประสบปัญหา “วัวเป็น” ราคาตกต่ำมานานกว่า 3 ปี

  • การแพร่ระบาดของโรคลัมปีสกินและโควิด19 ฉุดให้ราคาวัวตกต่ำ จนเกษตรกรหลายรายชะลอการเลี้ยงการลงทุน ขณะที่บางรายเลิกเลี้ยง

  • แนะผลักดันส่งออกวัวเนื้อไทยไปขายจีน โดยเชื่อม 3 ประเทศ เริ่มจากส่งวัวเป็นไปเลี้ยงต่อที่ลาว ก่อนส่งออกไปชำแหละขายจีน

economic-business-hub-cattle-china-prices-SPACEBAR-Hero.jpg

ทีมข่าว Spacebar Big City ลงพื้นที่พูดคุยกับหลายภาคส่วนเพื่อสะท้อนปัญหาและมุมมองของการแก้ปัญหาราคาวัวตกต่ำ จนทำให้ผู้เลี้ยงหลายรายถอดใจและเลิกเลี้ยงเพราะสู้กับต้นทุนไม่ไหว‘จวง เหชัยภูมิ’ ประธานส่งเสริมผู้เลี้ยงโค จ.ขอนแก่น หนึ่งในเกษตรกรที่ตัดสินใจชะลอการเลี้ยง ให้ข้อมูลราคาวัวในตลาดซื้อขายว่า เดิมวัวเป็นขายราคากิโลกรัมละ 100-120 บาท ปัจจุบันลดลงมาเหลือเพียงกิโลกรัม 50-60 บาทเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงวัวอยู่ที่กิโลกรัมละ 80-90 บาท  ขณะที่ ‘ธนเดช รูปพรม’ อุปนายกสมาคมส่งเสริมผู้เลี้ยงโค(ภาคอีสาน) ระบุว่า การระบาดของโรคต่างๆทำให้ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ ส่งผลให้การส่งออกลดลง เหลือเพียงการซื้อขายในประเทศซึ่งไม่มากนัก ทำให้วัวล้นตลาด

“เกษตรกรเร่งระบายขายวัวยอมขาดทุนเพราะไม่มีเงินเลี้ยงต่อ หลายคนตัดสินใจเลิกเลี้ยงวัว แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จะเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ราคาวัวเป็นยังดิ่ง ไม่มีท่าทีว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น แม้เกษตรกรหลายรายต้องการขายออก แต่ตัดใจขายไม่ได้ เพราะถูกกดราคา จึงต้องจำใจเลี้ยง แบกภาระเลี้ยงวัวต่อ ซึ่งสวนทางกับราคาหน้าเขียง ที่ผู้บริโภคซื้อในราคาแพง”

economic-business-hub-cattle-china-prices-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: ธนเดช รูปพรม อุปนายกสมาคมส่งเสริมผู้เลี้ยงโค(ภาคอีสาน)

ปัญหาราคาวัวตกต่ำทำให้หลายฝ่ายต่างมาหาทางออกร่วมกัน เกิดเป็นการประชุมเสวนาวิชาการ “ยกระดับสมรรถนะห่วงโซ่คุณค่าการผลิตวัวเนื้อไทยเพื่อขยายการส่งออก” มีภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน ชุมชน และต่างประเทศ เข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาวัวเนื้อล้นตลาด ประเด็นสำคัญที่มีการพูดคุยคือ “การเปิดตลาดส่งออกวัวเนื้อมีชีวิต

หนึ่งในแกนนำ คือ บริษัทศูนย์กสิกรรม ประเทศไทย จำกัด ’อำนาจ ศรีสมบัติ‘ กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า บริษัทฯ ทำหน้าที่เป็นตลาดกลางสินค้าเกษตรและอาหาร จัดตั้งโดยบริษัทเอเชียน ดีเวลลอปเม้นท์ เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ เอดีอีซี ตัวแทนรัฐวิสาหกิจกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน มาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อประสานงานกับรัฐบาลไทยในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน คู่ขนานการการทำการค้าต่างตอบแทน 

เดิมทางการจีน ได้นำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย เมื่อเกิดปัญหาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ทำให้จีนปฏิเสธนำเข้าเนื้อวัว พร้อมมีนโยบายด้านความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้ผลิตวัวเนื้อส่งขายให้ในหลายประเทศ และผลักดันให้เกิดโครงการวัวเนื้อเพื่อการค้าแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรับซื้อโคเนื้อจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทดแทนจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย

“หลังจากทราบความต้องการของประเทศจีนแล้ว จึงประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้ง 3 ประเทศ เพื่อผลักดันให้โครงการเป็นรูปธรรม พบว่าทั้ง  3 ประเทศมีปัญหาที่อยู่ระหว่างการหาทางออกร่วมกัน โดยปัญหาของลาว คือได้โควตาส่งออกวัวเนื้อไปจีน 500,000 ตัวต่อปี แต่วัวมีไม่เพียงพอ ไม่สามารถส่งออกได้ตามแผน  ปัญหาของจีน คือ สร้างโรงฆ่าสัตว์ขนาดใหญ่ในฝั่งชายแดนจีน รองรับการเชือด 120-130 ตัวต่อชั่วโมง และมีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ พร้อมห้องเย็นรองรับแบบครบวงจร รวมทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับการนำเข้าวัวในบริเวณชายแดนจีน-ลาวไว้ แต่ยังไม่มีวัวเนื้อนำเข้าจากลาวตามแผน” 

economic-business-hub-cattle-china-prices-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: อำนาจ ศรีสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์กสิกรรม ประเทศไทย จำกัด 

“ส่วนปัญหาของฝ่ายไทย ที่ประสบปัญหาวัวเนื้อในประเทศล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ มีปัญหาด้านการส่งออก เพราะยังไม่มีพิธีสารการค้าวัวเนื้อกับจีน ซึ่งเป็นพิธีสารระหว่างกรมปศุสัตว์ของไทยกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้เร่งแก้ไขปัญหาแล้ว หากการเจรจาเป็นไปตามข้อตกลงจะดำเนินการซื้อขาย คือ ไทยรวบรวมวัวเป็นส่งวัวเป็นทางรถไฟไปยังประเทศลาว ทางลาวขุนเลี้ยงวัวต่อให้ได้ตรงตามมาตรฐาน จากนั้นจึงส่งต่อไปยังประเทศจีนเพื่อชำแหละและแปรรูปต่อไป”

economic-business-hub-cattle-china-prices-SPACEBAR-Photo04.jpg

ด้านนักวิจัย รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์ หัวหน้าสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ได้ขับเคลื่อนเรื่องงานวิจัยเพื่อขยายการส่งออก พัฒนาเกษตรกรผู้ผลิต สนับสนุนการส่งออก ด้านกฎระเบียบ ข้อกฎหมาย ระหว่างประเทศไทย ลาว และจีน  และศึกษาความต้องการของตลาดการเลี้ยงโคเนื้อของลาวและจีน พบว่า มีข้อมูลเพื่อเร่งรัดการส่งออก กว่า 50 ปี ที่ประเทศไทยได้นำสายพันธุ์วัวบาร์มันจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาศึกษาวิจัย พร้อมรวบรวมข้อมูลพัฒนาสายพันธุ์ ทำให้ไทยมีสายพันธุ์วัวที่ดี มีคุณภาพเนื้อที่ดี

economic-business-hub-cattle-china-prices-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo: รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์ หัวหน้าสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
economic-business-hub-cattle-china-prices-SPACEBAR-Photo05.jpg

“หากเทียบอายุวัว 3 ปี เราสามารถเลี้ยงได้เนื้อถึง 650 กิโลกรัม ขณะที่ประเทศอื่นเป็นวัวพื้นบ้านขนาดเล็กได้เนื้อเพียง 200 กิโลกรัม ทำให้เป็นจุดแข็งของไทยที่มีพันธุกรรมวัวที่ดี มีระบบการผลติ มีการพัฒนาระบบอาหารสัตว์ ที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ อาหารวัว หญ้า ฟาง ยอดอ้อย ใบมันสำปะหลัง รำอ่อน ปลายข้าว ผลิตเป็นอาหารสัตว์ ทำให้วัวโตเร็วมีคุณภาพเนื้อที่ดี พืชอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ศึกษามานานกว่า 30 ปีแล้ว”

“มี 3 ส่วน ที่ทางคณะทำงานได้วางแผนไว้ คือ การพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ทำฟาร์มให้ได้มาตรฐาน ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับกรมปศุสัตว์ พัฒนาโรงชำแหละที่ได้ตามมาตรฐานสากล ที่เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกเนื้อวัว ซึ่งจะทำให้คุ้มค่ากว่าการส่งออกโคมีชีวิต ลดการสูญเสีย สร้างรายได้ และคุมค่าการลงทุน และการศึกษาตลาดเนื้อโคในประเทศจีน มีความต้องการนำเข้าเนื้อวัวปีละกว่า 4,000,000 ตัว โดยทางจีนให้โควต้ากลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ลาว ไทย และเวียดนาม ประมาณ 500,000 ตัว ซึ่งถือว่ามีมูลค่ามหาศาล ที่ประเทศลุ่มน้ำโขงจะได้รับประโยชน์ด้านการค้า”

การพูดคุยยังได้สะท้อนถึงปัญหาตั้งแต่ต้น เนื่องจากกรมการค้าต่างประเทศ มีข้อจำกัดด้านระเบียบและกฎหมาย ทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสการรับโควตาซื้อสินค้าเกษตรจากจีนในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ทางเอดีอีซี จึงได้จัดตั้งบริษัทศูนย์กลางกสิกรรม(ประเทศไทย)จำกัดขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตลาดกลางสินค้าเกษตรและอาหารส่งออกไปจีน และเพื่อให้การค้าวัวเนื้อระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมได้ดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

บริษัทฯได้นำกรอบ ‘BCG Model’ จตุภาคี ผสานพลังภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน/ชุมชน และต่างประเทศ พร้อมการนำนโยบายการค้าต่างตอบแทนไทย-จีน มาขับเคลื่อน ใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาวัวเนื้อในประเทศราคาตกต่ำ

โดยจากข้อมูลของบริษัทศูนย์กลางกสิกรรมฯ พบว่า ชาวจีนนิยมบริโภคเนื้อวัวสูงมากกว่า 10 ล้านตันต่อปี และจีนนำเข้าเนื้อโคเพิ่มขึ้นทุกปี ล่าสุด ปี 2566 มีการนำเข้าเนื้อวัวสูงถึง 3.6 ล้านตัน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์