ทุเรียนไทยมีภูมิปัญญาดั้งเดิมในการย้อมสีทุเรียนด้วยขมิ้น ซึ่งมีสีเหลือง และไม่มีอันตราย เมื่อช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีการนำสาร Basic Yellow 2 เข้ามาใช้ในล้ง โดยมีคนจีนนำเข้ามา และรับจ้างชุบสีให้ล้งต่าง ๆ ตู้ละ 12,000-15,000 บาท โดยที่เจ้าของล้งไม่รู้ว่าใช้สารที่เป็นอันตราย กระทั่งทุเรียนส่งออกไปจีนถูกตรวจสอบและจับได้
ทางการจีนได้มีการเตือนอย่างเป็นทางการมาเป็นระยะ แต่ก็ยังเกิดขึ้นอีก ไม่ได้หมดไป และทางผู้ผลิต และล้งทุเรียนเองก็เรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มที่ทำผิดกฎหมาย
การใช้ Basic Yellow 2 มีการควบคุมตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารเคมี ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ของกระทรวงอุตสาหกรรมควบคุมอีก 1 ฉบับด้วย
Basic Yellow 2 องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2B อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ทำลายระบบประสาท และนำไปสู่การก่อให้เกิดมะเร็งได้
การตรวจและรับรองสารตัวนี้ จีนตั้งมาตรฐานการตรวจ 2 ส่วน คือ
- ส่วนเปลือก
- ส่วนเนื้อ
โดยทางการจีนกำหนดค่าไว้ไม่เกิน 2 ไมโครกรัม หรือ 2 ส่วนใน 1,000 ล้านส่วน
จีนเคยสุ่มตรวจพบว่าทุเรียนบางล็อตมีการปนเปื้อนที่ส่วนเปลือก 1,540 ไมโครกรัม เกินจากค่ากำหนด 770 เท่าหรือ แต่ไม่ใช่ทุเรียนที่นำเข้าจากไทย ถือว่าประเทศที่ส่งทุเรียนสดเข้าจีนก็รับผลกระทบไปทั่วหน้า
สำหรับเงื่อนไขข้อกำหนดสารปนเปื้อน Basic Yellow 2 ของจีนจะประกอบด้วย
- ระดับสารพิษที่ยอมรับได้ (Maximum Residue Limits - MRLs): กำหนดระดับสูงสุดของสารพิษที่ยอมรับได้ในผลิตภัณฑ์เกษตร ซึ่งรวมถึงสารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช และยาฆ่าเชื้อโรค
- การตรวจสอบและวิเคราะห์สารพิษ: กำหนดวิธีการและเทคนิคในการตรวจสอบและวิเคราะห์สารพิษในผลิตภัณฑ์เกษตร เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค
- การรายงานและบันทึกผลการตรวจสอบ: กำหนดวิธีการรายงานและบันทึกผลการตรวจสอบสารพิษ เพื่อให้มีการติดตามและตรวจสอบได้
- การควบคุมและกำกับดูแล: กำหนดมาตรการในการควบคุมและกำกับดูแลการใช้สารเคมีในการเกษตร เพื่อให้แน่ใจว่าสารเคมีนั้นใช้อย่างเหมาะสมและไม่เกินระดับที่กำหนด
- การรับรองและการออกใบรับรอง: กำหนดวิธีการรับรองและออกใบรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกษตรนั้นผ่านมาตรฐานสารปนเปื้อน Basic Yellow 2 ซึ่งอาจรวมถึงใบรับรองสุขภาพของพืช (Phytosanitary Certificate) และใบรับรองความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety Certificate)
ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรไปยังจีนต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดสารปนเปื้อน Basic Yellow 2 อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการตรวจสอบและนำเข้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายของจีน
ขอบคุณภาพ : เรื่องเล่าข่าวเกษตร
