เปรียบเทียบ ‘สินเชื่อกรีน’ แบงก์ไหน มีเงื่อนไขยังไง ?

26 ก.พ. 2567 - 04:26

  • EXIM Bank ดอกเบี้ยต่ำ 2.99% ต่อปี นาน 3 เดือน

  • กรุงไทย วงเงินกู้สูงสุด 100% ของมูลค่าการลงทุน ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี

  • สินเชื่อบัวหลวงกรีน วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 8 ปี

Economy- Compare-Green-Loans-Which-bank-have-what-conditions-SPACEBAR-Hero.jpg

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันผู้ประกอบการทุกระดับจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการปรับแผนในการดำเนินธุรกิจให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance: ESG) เพื่อเดินหน้าไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน เนื่องด้วยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ที่ประเทศสกอตแลนด์ในปี พ.ศ. 2564 ไทยแสดงเจตนารมณ์ไปสู่เป้าหมาย “ความเป็นกลาง ทางคาร์บอน (Carbon neutrality)” ในปี พ.ศ. 2593 และเป้าหมาย “การปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions)” พ.ศ. 2608

สำหรับเครื่องมือที่ช่วยในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.นโยบายที่ไม่ใช้กลไกราคา (Non market based) เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระบบนิเวศธุรกิจสีเขียว การสนับสนุนด้านการเงินสำหรับธุรกิจสีเขียว และ 2.นโยบายที่ใช้กลไลราคา (Market based) มี 2 รูปแบบ คือ ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) และ ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (emission trading scheme)

ในบทความนี้ทีมข่าว SPACEBAR จะมาเจาะในส่วนของ การสนับสนุนด้านการเงินสำหรับธุรกิจสีเขียว ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ไม่ใช้กลไกราคา โดยสินเชื่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของแต่ละธนาคาร ในช่วงต้นปี 2567 มีอัพเดทดังนี้  

1.ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก หรือ EXIM Bank

  1. สินเชื่อธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดอกเบี้ยต่ำ 2.99% ต่อปี นาน 3 เดือน และยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า โดยแบ่งออกเป็น 3 ผลิตภัณฑ์ คือ EXIM Green start ผลิตภัณฑ์เงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องวงเงินสูงสุด 200 ล้านบาท , EXIM Better Rubber Export Financing เงินทุนหมุนเวียนรับซื้อยางเสริมสภาพคล้องอุตสาหกรรมยางพารา วงเงินสูงสุด 200 ล้านบาท และ EXIM Green Goal Term Loan สูงสุด 7 ปี ผู้ลงทุน ผู้ประกอบการทุกขนาด เพื่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม 

  2. สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่เริ่มต้นส่งออก วงเงินหมุนเวียนสูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย สำหรับผู้ประกอบการไซซ์เอส สำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มต้นนำเข้า และส่งออก 

3) มาตรการช่วยเหลือต่อเนื่องแก่กลุ่ม SMEs ที่เป็น NPL ช่วงโควิด ปรับลดดอกเบี้ย และพักชำระดอกเบี้ย เงินต้น ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด 

2.ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารกรุงไทย ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อกรุงไทยเพื่อความยั่งยืน (ESG) สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่เป็นนิติบุคคล ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การลดก๊าซเรือนกระจกและการลดของเสีย เป็นนิติบุคคล มียอดขายมากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมทั้งสินเชื่อใหม่และสินเชื่อเพิ่มเติม วงเงินกู้สูงสุด 100% ของมูลค่าการลงทุน ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 

3. ธนาคารกรุงเทพ 

ธนาคารออกผลิตภัณฑ์ ‘สินเชื่อบัวหลวงกรีน’ สำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการลงทุนในธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ หรือมลภาวะต่างๆ และเพื่อนำวัสดุของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดยการ Reuse, Recycle และเพื่อลงทุนผลิตผล ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 8 ปี พร้อมอัตราดอกดเบี้ย MLR-1.0% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา สามารถขอใช้สิทธิได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567

SPB-BERM-09250.jpg

ดร.จิระวัฒน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ Vice President ผู้ดูแลงานด้านความยั่งยืน ธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า ที่ผ่านมา ธนาคารสร้างดีมานด์ให้กลุ่มผู้ประกอบการเอกชน ที่เป็นกลุ่มธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซต์สูง ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการใช้การประกอบธุรกิจด้วยการใช้พลังงานสะอาด โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เช่น โรงงานไฟฟ้า เหล็ก เคมีภัณฑ์ เป็นต้น เพราะในอนาคตธุรกิจเหล่านี้จะได้รับผลกระทบด้านกำแพงภาษีจากสหภาพยุโรป

กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เผยว่าปัจจุบันผู้ประกอบการตื่นตัวในการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการใช้พลังงานสะอาด ขณะเดียวกัน ยังพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการลดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในกระบวนการผลิต เช่น หันมาใช้โซลาร์เซลล์ในการลดใช้พลังงานจากถ่านหินให้มากขึ้น ซึ่งส่วนนี้สินเชื่อบัวหลวงกรีนโลน ซึ่งก็จะครอบคลุมการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ และมีแนวโน้มที่ผู้ประกอบการจะให้ความสนใจมากขึ้น

SPB-BERM-08793.jpg

ปี 2567 ผู้ประกอบการสนใจเรื่องนี้มากขึ้น อย่าง ล่าสุดรัฐบาล ออกกองทุนรวมไทยอีเอสจี เพื่อส่งเสริมบริษัทที่มี ESG ที่ดี ตลาดหลักทรัพย์ก็มี ESG Rating ดังนั้น บริษัทในไทยก็จะใส่ใจเรื่อง ESG มากขึ้น ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาลมากขึ้น

กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์