ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ หลายบ้านมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น พัดลม โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ที่ทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ต้องเจอกับบิลค่าไฟฟ้าที่พุ่งทะยานจนต้องตกใจ ซึ่งเราเองก็คิดว่าใช้เพิ่มไปนิดเดียวเองทำไมค่าไฟฟ้าถึงสูงขนาดนี้ วันนี้ทีมข่าวมีวิธีคำนวณค่าไฟง่ายๆ ด้วยตัวเอง พร้อมช่วยวางแผนประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้าน
กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)
ค่าไฟฟ้าสามารถคำนวณได้ด้วยตนเอง
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าอัตราค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้ไฟมากน้อยเพียงใด โดยจะต้องสังเกตว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องมีกำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็นวัตต์เท่าไร ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์มาก ก็หมายความว่าจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปด้วย ดังนั้นก่อนที่จะทำการคำนวนค่าใช้ไฟฟ้า จะต้องสำรวจว่าภายในที่อยู่อาศัยนั้นมีเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหนบ้าง และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง จากนั้นนำมาคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าด้วยสูตรดังต่อไปนี้กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

เมื่อเราทราบจำนวนหน่วย หรือยูนิต การใช้ไฟฟ้าในเบื้องต้นแล้ว ต้องมาดูต่อที่หน่วยการใช้งานจริงในบิลการไฟฟ้า ซึ่งจะมีวิธีการคิดคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าแบบบ้านอยู่อาศัย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1 คือ ที่ติดตั้งมิเตอร์ ‘ไม่เกิน 5 แอมป์’ และมีการใช้ไฟฟ้า ‘ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน’ จะคิดค่าบริการรายเดือน 8.19 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของการไฟฟ้า เพื่อเป็นการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีรายได้น้อย
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 คือ ที่ติดตั้งมิเตอร์ ‘เกิน 5 แอมป์’ และ ที่ติดตั้งมิเตอร์ ‘ไม่เกิน 5 แอมป์’ แต่มีการใช้ไฟฟ้า ‘เกิน 150 หน่วยต่อเดือน’ ติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป จะคิดค่าบริการรายเดือน 38.22 บาทต่อเดือน
- 35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท
- 115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท
- 250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท
- ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226 บาท