จริยธรรม กฎหมาย การใช้ AI ของไทยอยู่ตรงไหน?

24 มีนาคม 2567 - 09:40

unnamed (1).jpg
  • จ่อตั้ง “อนุกรรมการใน บอร์ด AI” เพื่อศึกษากฎหมายเพิ่ม

  • ETDA ชี้ไม่จำเป็นต้องรีบออกกฎหมาย AI ในไทย เกรงซ้ำรอย PDPA

  • ด้าน AIS ตั้ง 3 แกนคุมเข้ม เพื่อไม่ให้ AI กลายเป็นความเสี่ยงต่อผู้ใช้งาน

ในงาน AI REVOLUTION  TRANSFORMING THAILAND ECONOMY จัดโดย กรุงเทพธุรกิจ ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (ดีอีเอส)  กล่าวถึงสถานการณ์ภาพรวมการบังคับใช้หมายในการควบคุมดูแล ‘ปัญญาประดิษฐ์ (AI)’ ว่า เมื่อ 13 มีนาคม 2567 มีรายงานว่า รัฐสภาสหภาพยุโรป EU ได้อนุมัติกฎหมายด้านการจัดการปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ เพื่อควบคุมปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้น ดีอี ก็กำลังติดตามและคาดว่าอนาคตจะนำกฎหมายของสหภาพยุโรปมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทไทย 

พร้อมกันนี้ ยังได้ปรับปรุงคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) โดยมี เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมเตรียมพิจารณา ตั้งคณะอนุกรรมการที่ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ด้านเศรษฐกิจด้วย เพื่อรองรับเทคโนโลยีนี้โดยเฉพาะ

ด้าน ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  ETDA ระบุว่า ขณะนี้ ETDA และรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อยู่ระหว่างรอดู (wait and see) กฎหมายของทางสหภาพยุโรป และอังกฤษ จีน และประเทศอื่นๆ ที่จะออกมาอย่างชัดเจนก่อน ถึงจะมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของไทย ดังนั้น ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐก็อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม

โดยปัจจุบันมีการร่างกฎหมายด้าน AI ไว้ 2 ฉบับ ขณะที่ในส่วนของการทำงานร่วมกับ ภาคเอกชน มีการทำคู่มือเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ AI เพื่อให้สำหรับการประเมินองค์กร

ซึ่งมองว่าหากมีการบังคับใช้กฎหมาย AI เร็วเกินไป ทุกภาคส่วนก็จะไม่สามารถปรับตัวได้ เหมือนพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่เคยออกมาก่อนหน้านี้ แล้วต้องเลื่อนการบังคับใช้ออกมา

g0bVznCEdWvZQ1iyXiEf.webp

เรื่องการกำกับดูแล AI ของทั้งโลกมันมาแน่ๆ แต่เราต้องระวัง การกำกับมากเกินไป แล้วอาจจะทำให้เราเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากมันได้อีก ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังพูดถึงตอนนี้ คือ เราจะเตรียมตัวอย่างไร เพราะกฎหมาย EU 2 ปีนะครับ กว่าจะได้ใช้ ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องรีบออกกฎหมาย AI ในไทย เพราะจะกลายเป็นปัญหาปรับตัวไม่ได้เหมือนกับกฎหมาย PDPA ที่ต้องเลื่อนบังคับใช้ออกไป

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ETDA

พลอากาศตรีอมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ปัจจุบัน สิ่งที่เราก็กังวลมากที่สุด คือ เรายังไม่รู้ถึงขอบเขตผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ AI  อย่างที่ผ่านมาจะเห็นการข่าวการหลอกลวงใช้ Deep Fake คนดังเพื่อการหลอกหลวงจากมิจฉาชีพ ซึ่งนี่ถือเป็นสิ่งที่น่ากังวลที่สุด  เพราะสร้างความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่อยากให้ทุกคนกังวลในการเทคโนโลยี AI มากเกินไป เพราะอาจจะเสียประโยชน์ได้

ZUd0LLufaKlTnH0Jp9KC.webp

AI เป็นดาบสองคม ทั้งดี และลบ แต่ในระหว่างที่เรากำลังดูสองด้านนี้ สิ่งที่ เรากลัวมาที่สุด คือ ดาบทื่อ คือ ถ้าไม่เรียนรู้ ไม่อะไรเลย ดาบทื่อนี้ ใช้เป็นค้อนได้อย่างเดียว มันแต่ลังเล จะไปก็ไปไม่สุด ”

พลอากาศตรีอมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

0hkkk.png

ขณะที่มุมมองของ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมดิจิทัลเซอร์วิสครบวงจร อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวว่า แม้ในไทยจะยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ AI ที่ชัดเจน แต่ AIS ก็นำหลักการ ดร.ไอแซค อาซิมอฟ ชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซียที่ประสบความสำเร็จ มาเป็นแกนในการทำงานร่วมกับ AI เพื่อเป็นหลักการในทางปฏิบัติ ได้แก่ 

1.หุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ หมายความว่า ผู้สร้าง AI ต้องให้ความสำคัญในการสร้าง AI เพื่อไม่ให้ทำร้ายมนุษย์ ซึ่ง AIS ก็นำประยุกต์ใช้ในเรื่องของการใช้ข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของลูกค้า โดยการเทรน AI ทาง AIS จะเลือกมาเฉพาะข้อมูลลูกค้าที่ยินยอมแล้ว 

2.หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งมนุษย์ หมายความว่า ในทางปฏิบัติสร้างหุ่นยนต์ต้องมีความรับผิดชอบต่อคำตอบของAI  กำหนดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้นมาของโปรแกรม และมีการวัดผลชัดเจน รวมถึงสร้างความโปร่งใสต่อลูกค้า 

3.หุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายตัวเอง เช่น สมมติว่า เราตั้งคำถามกับหุ่นยนต์ ว่า แถวนี้มีจุดอีวีชาร์จกี่เครื่อง เราจะชาร์จเกิน 1 ชม.ดีไหม ตรงไหนที่ชาร์จเกิน 1 ชั่วโมงได้บ้าง หุ่นยนต์ก็ควรจะตอบว่า การชาร์จ 1 ชม. ขึ้นไปมันจะทำให้ผู้อื่น ไม่สามารถที่จะชาร์จรถ หรือ ใช้งานได้ นั่นหมายว่า  เราต้องมี Guardrails  บ้างอย่าง เพื่อไม่ให้หุ่นยนต์แนะนำในทางที่ผิด  

โดย AIS เน้นย้ำว่าได้ให้ความสำคัญในแง่ของความโปร่งใสในการใช้เทคโนโลยี AI  ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า โปรแกรมนี้ เอาข้อมูลมาจากไหน มีวิธีการทำงานอย่างไร ต้องมีการปกป้องข้อมูลของลูกค้า รวมถึงคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานเป็นสำคัญ

ขอบคุณภาพ Nation

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์