รู้จัก Virtual Bank ตัวช่วยลดต้นทุนทางการเงิน

8 ม.ค. 2567 - 06:37

  • รู้จัก ‘ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ’ หรือ NIM กำไรจริงๆ ของแบงก์

  • Virtual Bank หวังลดต้นทุนทางการเงินเริ่มใช้แน่ปี 68

Economy-Get-to-know-Virtual-Bank-SPACEBAR-Hero.jpg

ย้อน นายกฯ ชน แบงก์ชาติ ขอให้ ธปท. ดูแลประชาชนไม่ขึ้นดอกเบี้ยสวนทางกับ เงินเฟ้อ

จากกรณีวันที่ 6 ม.ค. 67 สรกล อดุลยานนท์ หรือ หนุ่มเมืองจันท์ นักเขียนและคอลัมนิสต์ชื่อดัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “หนุ่มเมืองจันท์” แชร์บทความสั้น “แบงก์กำไรสูงสุด 2.2 แสนล้าน อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น-BBL แชมป์ ผมไม่รู้ว่า แบงก์ชาติ จะรู้สึกตะหงิดอะไรในใจบ้างไหม?” 

พร้อมตั้งคำคาม 6 ประเด็น ไล่เรียงถึง การทำหน้าที่ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในการดูแลธนาคารพาณิชย์​ เหตุใด ยังปล่อยให้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย สร้างกำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ขณะที่เงินเฟ้อเข้าสู่ภาวะชะลอตัวแล้ว จึงผลให้ประชาชนถูกปฏิเสธสินเชื่อสูง ชาวบ้าน พ่อค้า แม่ค้า ยังลำบากขายของยาก

ต่อมาช่วงคำวันที่ 7 ม.ค.67 เฟซบุ๊ก เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin  โพสต์ข้อความ 'จากการที่แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยทั้ง ๆ ที่เงินเฟ้อติดลบติดต่อกันหลาย ๆ เดือนนั้น ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจเลย และยังมีผลกระทบต่อ ประชาชนที่มีรายได้น้อย และ SME อีกด้วย

ผมจึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูราคาสินค้าเกษตรบางชนิดให้เหมาะสม เพราะอาจจะต่ำไปก็ได้ และหวังว่าแบงก์ชาติจะช่วยดูแลประชาชนไม่ขึ้นดอกเบี้ยสวนทางกับ เงินเฟ้อนะครับ'

คลี่คำอธิบาย รายได้สุทธิของธนาคาร ดูจาก ‘ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ Net Interest Margin หรือ NIM ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ราว 2.9 %

ข้อมุลใน ปี 2022 ระบุว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมารายได้หลักของธนาคารพาณิชย์ มาจากรายได้ดอกเบี้ย โดยมีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 70 ของ รายได้ทั้งหมด แต่รายได้จริงๆ หลังหักค่าใช้จ่ายของธนาคาร ต้องพิจารณาที่ตัวเลข ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ Net Interest Margin หรือ NIM

ก่อนหน้านี้ ทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย เคยอธิบายนิยามของ  ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin หรือ NIM) ว่า เป็นเครื่องชี้ที่สะท้อนความสามารถในการหารายได้ของธนาคารพาณิชย์จากส่วนต่างระหว่าง ‘ดอกเบี้ยรับ’ และ ‘ดอกเบี้ยจ่าย’  

โดยองค์ประกอบที่สำคัญของ ‘ดอกเบี้ยรับ’ คือ ปริมาณเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาถึงต้นทุนต่าง ๆ ทั้งต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้กู้ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ และต้นทุนการดำเนินงาน รวมถึงผลกำไรเพื่อการดำเนินธุรกิจและการเติบโตในอนาคต

22538826_522108221471943_4219853201978983076_o.jpg

ทั้งนี้หากต้นทุนต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลง ทั้งจากการลดต้นทุนความเสี่ยงของลูกหนี้ การลดต้นทุนการดำเนินงานจากการเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการส่งเสริมการแข่งขันในระบบการเงิน จะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงไปยังธุรกิจและประชาชน ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ NIM ปรับลดลง  

โดยความสามารถในการทำกำไรของระบบ ธนาคารพาณิชย์ โดยข้อมูลในปี 2022 พบว่า มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net interest margin: NIM) ค่อนข้างคงที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9

ข้อมูลณ เม.ย. 2023 จากเว็บไซต์ techsauce สรุปผลประกอบการและฐานะการเงินของธนาคารในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2566 พบว่า บางธนาคารมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ราว  3.3- 3.4%

รู้จัก Virtual Bank  ลตต้นทุน สาขา-พนง หวังลดต้นทุนทางการเงิน

โดยหนึ่งในประเด็นที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย พยายามจะส่งเสริมการแข่งขันในระบบการเงิน และลดต้นทุนด้านการเงิน คือ การให้ใบอนุญาต Virtual Bank  หรือ ธนาคารที่จัดตั้งเพื่อให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเพียงอย่างเดียว

โดยเป้าหมายลูกค้าของ Virtual Bank แบงก์ชาติ ต้องการกลุ่มที่อยู่ห่างไกลจนไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการของธนาคาร หรือ กลุ่ม Underserve เช่น ไม่เคยมีบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน/เข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ หรือกลุ่ม ที่ยังไม่ได้รับบริการที่ดีเพียงพอไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตน ให้มีโอกาสเข้าถึงหรือได้รับบริการทางการเงินที่ดีขึ้น  และกลุ่มรายย่อย หรือ SMEs ที่คุ้นเคยกับการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์

ล่าสุด  ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าของการออกใบอนุญาต Virtual Bank กับทาง Thairath Money ว่า  ขณะนี้ ธปท.ได้ส่งร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาต Virtual Bank ไปที่กระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา 

รอให้ทางกระทรวงการคลังออกประกาศอย่างเป็นทางการในเรื่องของการเปิดรับสมัคร และประกาศรายชื่อผู้ได้รับการอนุมัติภายในปี 2567 และหลังจากนั้น ในปี 2568 Virtual Bank สามารถดำเนินธุรกิจได้

Screenshot 2567-01-08 at 13.55.56.png

ในเบื้องต้น ธปท. จะนำเสนอรายชื่อผู้ที่สมควรได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่เกิน 3 ราย เพื่อ คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด

และสิ่งสำคัญ ที่ ธปท. อยากเห็นคือ การแข่งขันจากผู้เล่นรายใหม่ในรูปแบบการให้บริการแบบใหม่ๆ แต่ในทางกลับกันเงื่อนไข สำหรับของ Virtual Bank คือ  ธปท. ที่กำหนดทุนจดทะเบียนไว้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งประเด็นนี้อาจไม่ได้เปิดทางให้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาอย่างที่ต้องการหรือไม่ ?

อ้างอิง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์