แก้หนี้นอกระบบ ควรเลิกมาตรการพักหนี้

28 พ.ย. 2566 - 10:58

  • การให้ความรู้ทางการเงินจะเป็นทางที่ดีที่สุด

  • กลุ่มที่เป็นหนี้เสีย แก้ยากที่สุด ทางออก คือ การปรับโครงสร้างหนี้

economy-informal-debt-debtor-loan-SPACEBAR-Hero.jpg

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า อย่างที่เราทราบกันในสถานการณ์ปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เร่งขึ้นมาอยู่ที่ 90% เที่ยบกับประเทศที่มีรายได้เท่ากัน ไทยอยู่อันดับต้น ๆ ของโลก มีไม่กี่ประเทศไทยที่มีอันดับสูงกว่าไทย และยังมีแนวโน้มที่ไม่ดีขึ้น  โดยรวมทิศทางภาพใหญ่ยังคงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น 

การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้ได้ ต้องทำหลายเรื่อง โดยต้องมีความร่วมมือของทุกภาคส่วน ที่สำคัญที่่สุด คือ ตัวประชาชนเองจะต้องมีความพยายามด้วย การแก้ไขต้องเริ่มจากการแบ่งกลุ่มของคนที่เป็นหนี้มีกลุ่มใดบ้าง แต่ละกลุ่มมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใด กลุ่มแรก คือ คนที่เป็นหนี้เยอะมากจนถึงขั้นที่จ่ายไม่ไหว รายได้ไม่พอ บางส่วนเป็นหนี้เสียไปแล้ว บางส่วนกำลังจะเป็นหนี้เสียในเวลาไม่นานนัก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมาก ,กลุ่มที่เป็นหนี้แต่ยังไม่ได้เป็นหนี้สูญ มีปริมาณหนี้สูง การส่งมีความยากลำบากพอสมควร หากดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นหรือรายได้ลดลงหนี้จะเป็นหนี้สูญได้ และกลุ่มยังไม่ได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่มาก กลุ่มนี้เบาแต่ยังวางใจไม่ได้เมื่อสัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนยังสูงอยู่

economy-informal-debt-debtor-loan-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

วิธีช่วยแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันออกไปถ้ายังไม่เป็นหนี้หรือเป็นหนี้น้อยมาก การให้ความรู้ทางการเงินจะเป็นทางที่ดีที่สุด การบริหารการเงิน การส่งเสริมให้มีการเก็บออมและเพิ่มพูนรายได้  การชักชวนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ซื้อของแพงไม่ซื้อของตามเพื่อน  คนที่เป็นหนี้แล้วแต่ยังไม่มาก ต้องหาทางเพิ่มรายได้ และไม่เป็นหนี้เพิ่ม ส่วนกลุ่มที่เป็นหนี้เสีย แก้ยากที่สุด ทางออก คือ การปรับโครงสร้างหนี้ โดยต้องใช้การบูรณาการเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาจากธนาคารเจ้าหนี้ ธนาคารภาครัฐ เพื่อช่วยปรับโครงสร้างหนี้หรือมีมาตรการช่วยเหลือสงเคราะห์ซึ่งควรจะเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะทำเมื่อแก้ไขปัญหาได้ยากมาก

การแก้หนี้นอกระบบต้องระมัดระวังมาตรการที่ออกมาต้องไม่เป็นมาตรการส่งส่งเสริมให้เป็นหนี้มากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการพักหนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ หากพักบ่อยจนเกินไปจะเกิดความคาดหวังว่าถ้ามีปัญหาเดี๋ยวรัฐบาลก็จะมาช่วยอยู่ดี ประชาชนจะไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รัฐควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการออกมาตรการใดๆ เพราะจะเกิดผลกระทบต่อรัฐเองในฐานะผู้ดูแลให้ความช่วยเหลือ ขณะที่ประชาชนที่เป็นลูกหนี้แต่ไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องนอกจะเป็นหนี้เพิ่มจะเป็นปัญหาบานปลายที่แก้ไม่จบ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์