เตรียมตัวเกษียณสุข รับสังคมผู้สูงวัยระดับสุดยอด

21 มีนาคม 2567 - 06:32

Economy-Prepare-to-retire-happily-SPACEBAR-Hero.jpg
  • รับรู้สิทธิ “ผู้สูงวัย” เพื่อประโยชน์สูงสุดยามบั้นปลายชีวิต

  • Living Will หรือ การไม่ยื้อความตาย ช่วยให้จากไปอย่างสบายใจ

  • รู้จักเงิน 5 ก้อนสำหรับชีวิตเกษียณ วางแผนได้ตามนี้ เกษียณสุข

สถานการณ์อีก 9 ปีจากนี้ หรือ พ.ศ. 2576 ประเทศไทยจะเป็น Super-Aged Society ระดับสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด หรือ มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20 % ของประเทศ​ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้จัดงานงาน Aged Society สู่ Happy Young old ขึ้นโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ร่วมแชร์มุมองที่น่าสนใจ

าาาา.png
Photo: แรมรุ่ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

แรมรุ่ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงสถานการณ์ภาพรวมว่าในอนาคตประชากรไทย วัยแรงงาน 1 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ตามสถานการณ์ทางสังคมที่เด็กเกิดน้อย และผู้สูงอายุมีแนวโน้มมากขึ้น  ซึ่งตามนโยบายรัฐก็มีสวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้ 

ตามกฎหมาย รัฐบาลมี พรบ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 โดยเป็นนโยบายที่รองรับสังคมสูงวัย มี 4 เรื่อง  1.การเตรียมความพร้อมของประชากรวัยสูงอายุ  คือ การเตรียมความพร้อมก่อนสูงวัย 2.การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 3.การปฏิรูปและบูรณาการระบบบริหารเพื่อรองรับสังคงสูงวัยอย่างมีคุณภาพ 4.เพิ่มศักยภาพการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสูงวัย

โอภาส.png
Photo: โอภาส ศรีฉันทะมิตร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

โดยในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “เรื่องชวนคิด ออกแบบชีวิต เกษียณสุข” เริ่มต้นจาก โอภาส ศรีฉันทะมิตร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ผู้สูงอายุไทย อายุ 60 บริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิ เและ สวัสดิการตามกฎหมายที่หลากหลาย เช่น สิทธิในการออม สิทธิในกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งแต่ละบุคคลจะได้สิทธิได้ก็อยู่ที่การส่งเงินสมทบในช่วงเวลาที่อยู่ในวัยทำงาน และจะได้เป็นสวัสดิการในวัยเกษียณ  

จากปัญหา ที่พบจากรายงานของ กระทรวงพม. คือ  พบว่า ผู้สูงอายุกว่า 41% ไม่รับทราบสิทธิของตัวเองในช่วงเกษียณ และไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในแง่ของสิทธิ เช่น เมื่ออายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับสิทธิการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ ฟรี ทั่วประเทศเป็นต้น หรือ แม้กระทั่งมิติด้านอื่นๆ เช่น สิทธิด้านสุขภาพ จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งเดินหน้าสร้างความเข้าใจกับกลุ่มคนสูงวัยตั้งแต่วันนี้

ขณะที่ ศาสตราจารย์พิเศษกิตติพงษ์ อุรพิพัฒนพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด  กล่าวถึง หัวใจสำคัญของการเกษียณแบบสุขใจ สุขกาย มี 2 ประเด็น คือ  

1.ดูแลพินัยกรรมแบ่งทรัพย์สินให้ดี กรณีที่ผู้สูงอายุ มีที่ดินเยอะ แนะนำให้ขาย เพื่อเปลี่ยนเป็นสภาพคล่อง เป็นเงินสด และเอาไปใช้จ่ายเป็นค่าดูแลให้กับเนอร์สซิ่งโฮมคุณภาพดี  

2.พินัยกรรมชีวิต หรือ Living Will หรือ การไม่ยื้อความตาย นั่นคือ การแสดงเจตจำนงของตัวเองในยามเจ็บป่วยเพื่อนำไปสู่การวางแผนจัดการทรัพย์ ซึ่งต้องริ่มต้นตั้งแต่ผู้สูงอายุยังมีสติสัมปชัญญะดี เตรียมความพร้อมเมื่อเริ่มเป็นคนไร้ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ  หรือ แม้กระทั่งการจัดการชีวิตหลังความตาย  การจัดงานศพที่วัด การดำเนินการต่างๆ ซึ่งถือเป็นสัจธรรมของชีวิตเพื่อให้ผู้สูงอายุ รู้สึกจากไปอย่างมีคุณค่า ไม่เดือดร้อนลูกหลาน

การจัดทำ living eill.png
Photo: ศาสตราจารย์พิเศษกิตติพงษ์ อุรพิพัฒนพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด 

สังคมเดี่ยวกำลังเกิดขึ้นมาในประเทศไทย ดังนั้น พินัยกรรมชีวิต หรือ Living Will หรือ การไม่ยื้อความตาย เป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งคนที่ไม่มีลูกหลาน หรือ มีลูกหลาน ต้องวางแผนไว้

ศาสตราจารย์พิเศษกิตติพงษ์ อุรพิพัฒนพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

วศิน วัฒนวรกิจกุล นายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย กล่าวว่า หลักการเรื่องการลงทุน คนที่สำหรับการเกษียณแล้ว ด้านความมั่นคั่งด้านการเงินด้วยแบ่ง เงินเป็น 5 ก้อน สำหรับการใช้หลังเกษียณ 

1.เตรียมไว้ใช้จ่าย 1-2 ปีแรก เหมาะกับลงทุนด้วยการฝากธนาคารกองทุน ถอนแบบมีสภาพคล่อง  

2.เตรียมไว้ใช้ปีที่ 3-5 ปีแรก เหมาะกับลงทุนด้วยการลงทุนในตราสารหนี้  

3.เตรียมไว้ใช้ปีที่ 5-10 ปีแรก เหมาะกับลงทุนด้วยการลงทุนในหุ้น สัดส่วนราว 20%  

4.เตรียมไว้ใช้ปี 11-20 ปีแรก เหมาะกับลงทุนด้วยการลงทุนหุ้น สัดส่วน มากกว่า 20 % 

5.สำรองไว้ยามฉุกเฉิน เมื่อจำเป็น เก็บไว้ตลอดอายุเกษียณ

คุณวสิน.png
Photo: วศิน วัฒนวรกิจกุล นายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย

สำคัญที่สุด คือ การทำประกันเพื่อช่วยในการดูแลด้านการเงินในช่วงเวลาที่เจ็บป่วย ซึ่งหลักการที่สามารถนำไปใช้ได้ตลอด คือ พออายุมากขึ้น การลงทุนอาจจะไม่ได้เน้นเติบโต แต่ให้เน้นกระแสะเงินสด เน้นเรื่อง Income มากกว่า Growth

วศิน วัฒนวรกิจกุล นายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย 

ข่าวที่น่าสนใจ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์