ส่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ‘รัฐบาลเศรษฐา’ รุ่ง – ร่วง

30 ธ.ค. 2566 - 06:01

  • รัฐบาลเศรษฐา รักษาสัญญาทำตามนโยบายตอนหาเสียง

  • แก้ปัญหาไม่ตรงจุดส่งผลกระทบประชาชน

economy-serttha-electricity-bill-sky-train-SPACEBAR-Hero.jpg

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ‘รัฐบาลเศรษฐา’ คือ นโยบายที่ดี แต่บางอันแก้ไม่ตรงจุด...???

การหาเสียงเลือกตั้งปี 2566 พรรคเพื่อไทย มีการจัดทำนโยบายเอาไว้เป็น 19 หมวดหมู่ โดยนโยบายที่มีผลกระทบกับกระเป๋าสตางค์ประชาชน และถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่พรรคเพื่อไทยต้องเร่งทำหลังเข้ามาเป็นรัฐบาล คือ 

  • นโยบายคมนาคม โดยมี HIGHLIGHT เรื่อง ‘รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย’
  • นโยบายพลังงาน ที่ต้องปรับลดราคาพลังงาน น้ำมัน ไฟฟ้า ทันที
  • นโยบายเศรษฐกิจ ที่จะมีการเติมเงิน Digital wallet จำนวน 10,000 บาทให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป 

ภายหลังการเข้ามาบริหารงาน ในช่วง 100 วันแรก ‘รัฐบาลเศรษฐา’ ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ด้วยการ

  • ลดค่าโดยสาร รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งสามารถได้ 2 สาย ประกอบด้วย 
  1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
  2. โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
  • ลดค่าไฟให้ลงมาอยู่ที่  3.99 บาท/หน่วย ในช่วงเดือน กันยายน – ธันวาคม 2566

แก้ปัญหายังไม่ตรงจุด

จากมาตรการที่ดำเนินการทั้ง 2 อย่าง ยังมีนักวิชาการ และนักวิเคราะห์ หลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เช่น

  • การลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่ทำได้เพียง 2 เส้นทาง ซึ่งมีประชาชนได้รับผลประโยชน์เพียง 80,000 คน/วัน หรือคิดเป็น 4.6% ของผู้ใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งที่รัฐควรดำเนินการ 

ควรจะปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และ Airport Raillink ที่มีผู้ใช้จำนวนมากก่อน

และควรออกมาตรการที่ครอบคลุมโครงข่ายขนส่งสาธารณะทุกประเภท

  • การลดค่าไฟให้ประชาชน ในช่วงเดือน กันยายน – ธันวาคม 2566 โดยการให้ กฟผ. แบกรับภาระหนี้ค่าเชื้อเพลิงไปก่อน ประกอบกับล่าสุด กกพ. มีมติปรับขึ้นค่าไฟ ของเดือนมกราคม -มีนาคม 2567 ให้อยู่ที่ 4.68 บาท/หน่วย แต่ ครม. ยังไม่มีความชัดเจนว่าค่าไฟจะปรับขึ้นเท่าไหร่ และใช้มาตรการใดมาเยียวยาประชาชน  ซึ่งการจัดการปัญหานี้ รัฐบาลควรดำเนินการ

ปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ เพื่อช่วยลดค่าไฟได้ 70 สตางค์/หน่วย

เร่งแก้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างรัฐกับเอกชน เพื่อลดค่าพร้อมจ่าย ซึ่งสามารถลดค่าไฟได้ 15 สตางค์/หน่วย

หยุดเซ็นสัญญากับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทั้งที่กำลังไฟฟ้าสำรองของประเทศสูงเกินมาตรฐาน

  • ส่วนมาตรการเติมเงิน Digital wallet จำนวน 10,000 บาทให้ประชาชน ที่ปรับไป ปรับมา ไม่มีความแน่นอน เช่น

เงินงบประมาณที่จะนำมาแจกว่าจะมาจากงบประมาณ จากธนาคารออมสิน หรืองบผูกผัน  หรือ เงินจาก พ.ร.บ.กู้เงิน

อีกทั้งยังมีการปรับเกณฑ์ผู้รับเงิน ซึ่งจากเดิมไม่มีเงื่อนไข แต่ภายหลังมีเงื่อนไขเรื่องเงินเดือนเข้ามา

บอกได้คำเดียวว่า การบริหารงานในช่วง 100 วันของรัฐบาลเศรษฐา ที่มีการงัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา อาจเป็นผลดีกับประชาชนในระยะสั้น แต่ถ้ามองในระยะยาวอาจเป็นการขว้างงูไม่พ้นคอ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์