ดัน ‘สตรีมมิงไทย’ สู่แพลตฟอร์มระดับชาติ

30 ส.ค. 2566 - 02:34

  • นำ Live Streaming ไปสู่ผู้ชมผ่าน device ที่ผู้ชมใช้ด้วย App for mobile OTT, web

  • รองรับแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้งานโมบายมากกว่าทีวีมากขึ้น

Economy-Thailand-Streaming-National-Platform-Online-Tech-SPACEBAR-Hero
ศ.ดร.พิรงรอง นามสูต กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า แนวคิดที่จะดูแลกิจการโทรทัศน์ให้ดำเนินต่อไปได้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ออนไลน์ (Online Migration) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วบางส่วน จะเห็นช่องโทรทัศน์กว่า 15 ช่อง มีการเปลี่ยนแปลงด้วยการมีช่องทางให้บริการวิดีโอออนดีมานด์ของตัวเอง หากมองในต่างประเทศการเปลี่ยนผ่านไปสู่ออนไลน์ไม่มีความลำบาก  

“มิติของ Convergence มีทั้ง Network Service และ Device ที่รวมทุกอย่างเข้าด้วยกันทั้งหมด ในมาเลเซียมีช่องทีวีอยู่สิบกว่าช่องมีวิทยุ 4-5 ช่อง จึงให้ MYTV เป็นผู้ดูแลการเปลี่ยนผ่านทั้งหมด MYTV ได้รับสิทธิประกอบการ MYTV เป็นผู้ดูแลมัค จึงทำหน้าที่ดีลเอาผู้ประกอบการเอาเนื้อหาสตรีม หรือรวบรวมสัญญาณขึ้นมาไว้บน Portal ในแง่โฆษณาก็ไหลไปด้วยกันหมด ส่วนที่เรามีหลายมัคสุดท้ายคงต้องให้ใครคนใดคนหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่ดูแล ไม่ใช่ทุกมัคลุกขึ้นมาทำทั้งหมด อาจจะมีคนเดียวเลือกคนที่มีความสามารถที่จะทำได้เป็นคนดูแล” 

สำหรับประเทศไทย มีมัคมากกว่ามัคเดียว กสทช.พิจารณาเรื่องนี้ร่วมกับสมาคมทิวีดิจิทัล สมาคมโฆษณา โดยมองเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดีที่จะมีแพลตฟอร์มกลาง เพราะถ้าข้อมูลของผู้ใช้อยู่รวมกันเป็นก้อนเดียว การวางแผนโฆษณาจะทำได้ง่ายขึ้น แนวคิดที่จะทำ คือ National Streaming Platform ที่นำ Live Streaming ไปสู่ผู้ชมผ่าน device ที่ผู้ชมใช้ด้วย App for mobile OTT, web (ไม่มี VoD)  แนวคิดนี้สามารถทำ Data Analytic เก็บข้อมูลการใช้งานได้ง่าย Ad-insertion (เพิ่ม ad เฉพาะกลุ่มเป้าหมายได้ แต่ต้องควบคุมให้อยู่ภายในกำหนดเวลา ไม่ให้เอาเปรียบผู้บริโภค) การดำเนินการคงต้องขอความร่วมมือผู้ผลิต Andriod TV, LG, Samsung ในการติดตั้งแอปจากโรงงาน 

ขั้นตอนการดำเนินการ 

ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาโดยจะเอาเข้ามาพิจารณาในบอร์ดอีกครั้งในวันที่ 5 ก.ย.นี้ ใช้งบประมาณกองทุนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation) หรือ USO มากดำเนิน เบื้องต้นได้บรรจุเรื่องนี้ไว้ในกรอบนโยบาย USO Boardcast ระบบที่พัฒนาขึ้นออกแบบให้ทุกคนสามารถเอาคอนเทนท์ขึ้นมาสตรีมบนแพลตฟอร์มได้ส่วนใครที่มีแพลตฟอร์มอยู่แล้วสามารถให้บริการต่อไป แนวคิดนี้ได้หารือกับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลแล้ว และเห็นด้วยที่จะมีแพลตฟอร์มกลางเพื่อการเปลี่ยนผ่านให้ทุกคนเข้าสู่ออนไลน์สตรีมมิงทุกราย  

ประโยชน์ที่จะได้ 

ในเรื่องนี้มีประโยชน์ คือ ความชัดเจนของ Ad insertion/Ad manager และรูปแบบการดำเนินการ, แก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์ ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนท์ทำธุรกิจต่อไปได้ เมื่อใบอนุญาตดิจิทัลทีวีหมดอายุลง  

ทั้งนี้การกำหนดแนวทางที่ชัดเจนแนวทางดังกล่าวถือเป็นการกำกับดูแลและส่งเสริมกิจการ OTT ตามแนวทางสากล   

สำหรับการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ รองรับแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้งานโมบายมากกว่าทีวีมากขึ้น ทำให้การจัดสรรคลื่นในภาพรวมทั่วโลกมีการเอาคลื่นย่าน 600 Mhz ไปให้บริการในกิจการโทรคมนาคม เมื่อรวมกับแนวโน้มการใช้งาน 4K มากขึ้นจะทำให้คลื่นความถี่ในกิจการโทรทัศน์เหลือน้อยลง คลื่นจะลดลงจากเดิม 470-694 MhZ เป็น 470 -614 Mhz ถ้ามีการใช้ 4K มากขึ้นแนวโน้มการลดลงของช่องโทรทัศน์จะลดลง ความเป็นไปได้คือเหลือแต่ช่องที่เป็น HD กับ 4K

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์