ตลาดบก-ตลาดน้ำ พื้นที่ทำเลทองของไทย

30 ส.ค. 2566 - 03:24

  • เปิดเรื่องราวย้อนยุควันวานของ ตลาดน้ำ และเยาวราช กับความรุ่งเรืองในอดีต

  • สัมผัสมนต์เสน่ห์ ที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ

Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Thumbnail_8fc8b48d6a.jpeg
กาลเปลี่ยน เวลาผ่าน วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยอาจต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ‘ตลาด’ คำที่คุ้นชินของใครหลายคน แต่ใครจะรู้บ้างว่า ‘ตลาด’ ที่เราไปซื้อของเกือบทุกแห่งหนในเมืองไทย ก็กลายแหล่งท่องเที่ยว จุดเช็กอินของบรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จนบางที่นับได้ว่าติด Top 10 ที่ต้องมาให้ได้ และวันนี้เราจะพาไปสัมผัสมนต์เสน่ห์ของตลาดน้ำและตลาดย่านเยาวราช ย้อนรอยเรื่องราวความเจริญของ 2 สถานที่แห่งนี้  

เริ่มที่ตลาดน้ำในไทย จากอดีตที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนในประเทศไทย แต่เดิมเรียกว่า ‘ตลาดท้องน้ำ’ โดยในนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตลาดน้ำที่สำคัญแห่งแรก คาดว่าจะเป็น ‘ปากคลองตลาด’ อยู่ระหว่างป้อมจักรเพชร และป้อมผีเสื้อ
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo01_5d57030e09.jpeg

ย้อนวันวานปากคลองตลาด 

ในอดีต ‘ปากคลองตลาด’ เคยเป็นตลาดค้าปลาขนาดใหญ่ที่ส่งตรง มาจากแม่น้ำท่าจีน จ.สมุทรสาคร แล้วส่งของผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีบันทึกว่าในในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ ให้ขุดคลองหลายสายมาตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงเทพ รวมถึง ‘คลองตลาด’ จนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ จะเรียกตลาดนี้ว่า ‘ตะพานปลา’ ในระยะหนึ่ง ก็เปลี่ยนจากตลาดค้าปลาไปยังตำบลวัวลำพอง (หัวลำโพงในปัจจุบัน) แทน ตลาดปลานี้จึงแปรสภาพเป็นตลาดสด ค้าสินค้าเกษตร อย่างผัก ผลไม้และดอกไม้สด มาจนถึงทุกวันนี้ 
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo02_8b7a0bd22e.jpeg
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo03_8a22d4467e.jpeg
ปัจจุบันปากคลองตลาดประกอบด้วยตลาดหลัก 4 แห่ง  
  • ตลาดองค์การตลาด ตลาดของรัฐ สังกัดกระทรวงมหาดไทย
  • ตลาดยอดพิมาน ตลาดเอกชน มีลักษณะเป็นระเบียงยาวตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีร้านอาหารและศูนย์การค้า 
  • ตลาดส่งเสริมเกษตรไทย ตลาดเอกชน 
  • ตลาดสะพานพุทธ ตลาดเอกชน
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo04_1_4a610a00b0.jpeg
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo06_1_a457c452c1.jpeg
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo05_1_109ef44443.jpeg
สำหรับตลาดน้ำในต้นรัตนโกสินทร์ ยังมีทั้งตลาดน้ำบางกอกน้อย, ตลาดน้ำคลองบางหลวง, ตลาดน้ำวัดทอง, ตลาดน้ำวัดไทร, ตลาดน้ำวัดคลองดาวคะนอง, ตลาดน้ำคลองมหานาค, ตลาดน้ำคลองคูพระนครเดิม, ตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวก, ตลาดน้ำคลองโพหัก, ตลาดน้ำอัมพวา, ตลาดท่าคา และตลาดน้ำบ้านกระแชง เป็นต้น 

เมื่อความเจริญด้านเศรษฐกิจและสังคมแบบตะวันตกเข้ามา ก็มีการตัดถนนเข้าสู่ชุมชน มีการพัฒนาระบบชลประทาน ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมลดลง วิถีชีวิตทางน้ำจึงลดลง และนับแต่ปี 2520 ตลาดน้ำในกรุงเทพและปริมณฑลได้สิ้นสุดเกือบทั้งหมด จนในช่วงปี 2540 เกิดกระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประกอบกับทางภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้มีการฟื้นฟูตลาดน้ำขึ้นมาใหม่
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo07_10c8f6611f.jpeg
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo08_ca8a617c4f.jpeg
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo09_3f2d0daea7.jpeg
Economy_Thailand_Yaowarat_Chinatown_Pak_Khlong_Talat_Market_SPACEBAR_Photo10_4100b90306.jpeg
มาถึงตลาดบกกันบ้าง อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากปากคลองตลาด นั่นก็คือ ‘เยาวราช’ ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวตลอดเส้นทาง 1.5 กิโลเมตร ได้รับขนานนามว่าเป็น ถนนมังกร 

ความเฟื่องฟู ‘เยาวราช’ ในอดีต 

ตลาดเยาวราช หรือที่นิยมเรียกว่า ตลาดเก่า เดิมเป็นที่ดินเป็นสวนผักและสถานที่ปลดทุกข์ของชาวจีนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ แต่ต่อมาเมื่อมีการสร้างเป็นตลาดขึ้นมา สินค้าในระยะแรกจึงเป็นพืชผักที่ปลูกอยู่รอบๆ ตลาด ก่อนจะเปลี่ยนมาขายสินค้าจากประเทศจีน และอาหารทะเลในเวลานั้นถือว่าเป็นตลาดขายส่งอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุด ทั้งของสดและของแห้ง เพราะอยู่ใกล้กับท่าเรือทรงวาด แต่ปัจจุบันก็ได้ซบเซาลงตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีร้านค้าจำนวนหนึ่งที่เปิดมาแต่อดีตอยู่ เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารแห้งและอาหารสดพร้อมรับประทานจำนานมาก ได้รับความนิยมและเป็นที่คึกคักอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เช่น เทศกาลตรุษจีน กินเจ อีกทั้งในฝั่งตรงกันข้าม คือ ซอยเยาวราช 6 อันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ซึ่งเชื่อมต่อกับซอยเจริญกรุง 16 ด้านฝั่งถนนเจริญกรุง ที่นี่เรียกว่า ตลาดใหม่ หรือ ตลาดเล่งบ๊วยเอี๊ยะ หรือตรอกอิสรานุภาพ ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และยังที่เป็นตั้งของร้านอาหารพร้อมรับประทานอีกจำนวนมาก 

จากตลาดเก่าเยาวราช สู่ไชน่าทาวน์เมืองไทย 

จบจากย่านตลาดเก่าเยาวราชไปกันแล้ว คราวนี้มาถึงสายสตรีตฟู้ด ในยามค่ำคืน สวรรค์สำหรับนักชิม ทั้งที่ชื่นชอบกินดื่ม ช้อปปิ้งยามราตรี ปัจจุบันถนนเยาวราช ได้พลิกโฉมเป็นอย่างมาก สองข้างถนนจะเต็มไปด้วยร้านอาหารสารพัดอย่าง ทั้งอาหารจีน ซีฟู้ด ขนมหวานและเครื่องดื่ม จนหลายคนต้องการันตี และที่นี่เป็นจุดหมายปลายทางนักท่องเที่ยวทั่วโลก

ในเวลากลางวันนั้นมองไปจะเจอแต่ร้านทอง ร้านขายสมุนไพรจีน ผลไม้ และร้านอาหารจีน แต่ถ้าไปเยือนเยาวราชหลังพระอาทิตย์ตกดิน ถนนเยาวราชจะกลายเป็นสวรรค์สำหรับนักชิม เพราะ 2ข้างถนน เต็มไปด้วยร้านอาหารสารพัด ทั้งอาหารจีน ซีฟู้ด รวมถึงขนมหวานและเครื่องดื่ม 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์