หาก ‘ประเทศไทย’ เปลี่ยน จากผู้ผลิต ‘รถสันดาป’ สู่ ‘รถไฟฟ้า’ (BEV) 100 % จะเกิดอะไรขึ้น ?

5 ธันวาคม 2566 - 06:03

Economy-When-Thailand-changed-combustion-vehicles-to-electric-vehicles-BEV-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ส.อ.ท. คาด 1,000 บริษัท เสี่ยงปิดกิจการ หากไทยผลิต‘รถไฟฟ้า’ (BEV) 100 %

  • มาตรการ EV 3.0-3.5 ไม่ส่งอานิสงส์ในทันที ต่อ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

  • รัฐ ต้องทบทวนแผ่นแม่บทฯ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

หาก ‘ประเทศไทย’ เปลี่ยน จากผู้ผลิต ‘รถสันดาป’  สู่ ‘รถไฟฟ้า’ (BEV) 100 % จะเกิดอะไรขึ้น ?

เอาอันนี้.jpg

สุพจน์ สุขพิศาล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานสัมมนา อนาคตภาคอุตสากรรมไทยวิกฤตหรือโอกาส ในงาน Motor Expo ครั้งที่ 40 ถึงมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ที่รัฐบาลสนับสนุนด้วยการอุดหนุนเงิน 70,000-150,000 บาทต่อคัน ถือว่าเป็นการกระตุ้นความต้องการซื้อรถยนต์ของประชาชนในระยะสั้น

398820224_744819961018071_4101278788764266149_n.jpg
Photo: EVAT

โดยรัฐบาล ต้องการกระตุ้นการซื้อให้มี ความต้องการซื้อรถ EV ในประเทศ และหวังว่าผู้ผลิตจะเข้ามาตั้งฐานการผลิต แต่ทว่าสินค้าอย่าง ‘รถไฟฟ้า’ (BEV) คือ สินค้าเทคโนโลยี แม้หากจะมีบริษัทข้ามชาติเข้ามาตั้งโรงงานผลิต แต่ผู้ประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ไทย อาจไม่ได้รับอานิสงส์ในทันที เพราะผู้ประกอบการไทยขาดเทคโนโลยีในการผลิตชิ้นส่วนฯรถไฟฟ้า (BEV)  หรือ หากไทยสามารถผลิตรถไฟฟ้าได้ (BEV) ต้นทุนก็แพงกว่าการนำเข้าชิ้นส่วนฯดังกล่าวจากจีนถึง 30 % ทำให้ยังไม่สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมได้

ดังนั้น มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่รัฐบาลประกาศออกมา ทั้ง EV 3.0 และ EV 3.5 เป็นเพียงการกระตุ้นระยะสั้น เพื่อหวังให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) สามารถเติบโตได้ด้วยกลไกของตลาด แต่กลับยังไม่ได้ส่งผลต่อประโยชน์กับผู้ประกอบชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ของไทยในระยะนี้ เนื่องจากไทยไม่มีเตรียมความพร้อมในด้านการเปลี่ยนเทคโนโลยีและบุคลากรไว้ล่วงหน้า เช่นการปรับทักษะจากเดิมด้านเครื่องกล Mechanic ไปเป็น Mechatronics หรือ Power electronics เป็นต้น

ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. ฉายภาพให้เห็นชัดมากขึ้นว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำรวม 1,700 บริษัท ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ฯ จำหน่ายในประเทศและส่งออกรวมมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 14% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีแรงงานอยู่ในอุตสาหกรรม 7.5 แสนคน โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องถึง 2 ล้านคน แต่การผลิตในปัจจุบันยังคงเป็นรถกระบะและที่เกี่ยวข้องถึงกว่า 65% การเปลี่ยนแปลงไปเป็น BEV จะอยู่ในกลุ่มรถยนต์นั่ง (Passenger car) ที่ครองส่วนแบ่งการผลิตเพียง 30% เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ฯ เคยมีการสำรวจไว้ว่า หากในอนาคตประเทศไทยเปลี่ยนจากการผลิตรถสันดาป มาผลิต รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) แบบ 100 %

เมื่อถึงเวลานั้น มีผู้ประกอบการ 4 กลุ่ม ที่มีศักยภาพในการปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยที่กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ฯ ทำร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม) ได้แก่

1.ผู้ผลิตชิ้นส่วน Tier 1 คือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดใหญ่ที่เป็นบริษัทข้ามชาติ: กลุ่มนี้มีการเตรียมการด้านเทคโนโลยีและกลยุทธ์ไว้แล้ว

2.ผู้ผลิตชิ้นส่วน Tier 2  คือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สัญชาติไทยขนาดใหญ่ เช่น Thai Summit Group , Summit Auto Group, SOMBOON ADVANCE TEACNOLOGY เป็นต้น

3.ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯกลุ่มที่เป็น Supply chain หรือบริษัทในกลุ่ม Tier1 ในกลุ่มแรก : กลุ่มนี้ก็คงปรับกลยุทธตามค่ายรถยนต์ได้บ้าง

4.ผู้ผลิตชิ้นส่วน Tier 3 คือ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทสัญชาติไทย

โดย 4 กลุ่มนี้มีจำนวนราว 1,700 บริษัท มีเฉพาะกลุ่มที่ 1-3 ที่มีศักยภาพในการปรับตัว เพราะมีทีมวิจัยและพัฒนา (R&D) มีทีมกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ (Business strategy) มีเงินทุน รวมถึงมีการสร้างบุคลากรอย่างเป็นระบบ

MicrosoftTeams-image (13).png

แต่ที่น่ากังวล คือกลุ่มที่ 4 บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ที่มีอยู่ราว 1,000 บริษัท ทำหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่งให้กลุ่ม Tier 1 เช่น โรงงานขึ้นรูปเหล็ก โรงงานหลอมเหล็ก โรงงานทำแม่พิมพ์ Jig-Fixture หรือ โรงงานฟอกหนัง ที่มีความเสี่ยงปิดตัวลง หากไม่สามารถปรับตัวได้

When-Thailand-changed-combustion-vehiclesSQ_01.jpg

สุพจน์ สุขพิศาล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. ย้ำว่า แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เปลี่ยนจากประเทศผู้ผลิตรถสันดาปสู่รถไฟฟ้า (BEV) 100 % ในเร็วๆนี้  แต่ทาง ส.อ.ท. และ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย ก็พยายามผลักดันผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs ไทย Tier 4 เข้าเป็นไปส่วนหนึ่งของสายการผลิตของยานยนต์  EV ผลิตสินค้า Automation Robotic (หุ่นยนต์ในโรงงาน) ชิ้นส่วนระบบราง รวมถึงสินค้ากลุ่ม After Market เช่น ผ้าเบรค ใบปัดน้ำฝน ไฟท้าย Performance part และ อุปกรณ์แคมปิ้ง ซึ่งยังเป็นที่ต้องการทั้งของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

Screenshot 2566-12-05 at 11.08.35.png
Photo: ส.อ.ท.

สำหรับอัตราการใช้รถไฟฟ้าในปัจจุบันของไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. ระบุว่า ตั้งแต่ต้นมกราคมถึงตุลาคม 2566 มีจำนวนรถไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่ที่ 58,078 คัน คาดตลอดปี 2566 คาดมีรถไฟฟ้าจดทะเบียนอย่างน้อย 60,000 คัน หรือ คิดเป็นจำนวนกว่า 7.5 % จากจำนวนรถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศ 800,000 คันต่อปี

อย่างไรก็ตามปีนี้กำลังซื้อในประเทศค่อนข้างชะลอตัว จากสาเหตุหนี้สินภาคครัวเรือน ทำให้ ส.อ.ท. ปรับเป้าการผลิตรถยนต์ในประเทศและส่งออกต่างประเทศลง เหลือ 1.85 ล้านคัน จากปี 2565 อยู่ที่ 1.88 ล้านคัน

อย่างไรก็ตามปี 2566 กำลังซื้อในประเทศค่อนข้างชะลอตัว จากสาเหตุหนี้สินภาคครัวเรือน ทำให้ ส.อ.ท. ปรับเป้าการผลิตรถยนต์ในประเทศและส่งออกต่างประเทศลง เหลือ 1.85 ล้านคัน จากปี 2565 อยู่ที่ 1.88 ล้านคัน

Screenshot 2566-12-05 at 10.01.19.png
Photo: ส.อ.ท.

คาด 7 ปีข้างหน้า ‘รถไฟฟ้า’ มีส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อย 1 ใน 3

ข้อมูลจาก EGAT ที่ระบุว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการผลักดันให้ไทยเป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค ตามนโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2030 หรืออีก 7  ปีข้างหน้า คิดเป็นกำลังการผลิตรถยนต์ประมาณ 725,000 คัน และรถจักรยานยนต์ประมาณ 675,000 คัน

Screenshot 2566-12-05 at 09.24.16.png
Photo: ส.อ.ท.

สอดคล้องกับ บทความ ‘รถน้ำมัน’ จะสูญหายไปจากไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์เมื่อไหร่? ที่ทีมข่าว SPACEBAR เคยเผยแพร่ โดยอ้างอิงจากรายงาน GLOBAL EV OUTLOOK2023 – CATCHING UP WITH CLIMATE AMBITIONS พบว่า 15 ปีที่ผ่านมา คือ ช่วงเวลาที่รถ EV เข้ามาในตลาด โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 หรือ อีก 7 ปีข้างหน้า สัดส่วนรถยนต์ทั่วโลกจะมีรถ EV ประมาณ 35 %

สถาบันยานยนต์ ขอรัฐทบทวนแผ่นแม่บทเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

Screenshot 2566-12-05 at 12.56.05.png
Photo: สถาบันยานยนต์

ตรีพล บุญยะมาน รองผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เสริมว่า จากการทางสถาบันฯทำการศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในเดือนส.ค. 2566 พบว่า ทางผู้ประกอบการยานยนต์ เสนอว่า ขอให้รัฐบาลทบทวนแผ่นแม่บทเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เพื่อเป็นแผนที่นำทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยครอบคลุมทั้งการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนสำหรับประกอบเป็นรถยนต์ใหม่ (ชิ้นส่วน OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทน (REM) และใช้ประโยชน์จากคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติที่มีจัดตั้งแล้ว

ข่าวที่น่าสนใจ

พาชมรถใหม่และบรรยากาศในงาน Motor Expo 2023

รถไฟฟ้าจีนทะยาน ยอดขายมอเตอร์ เอ็กซ์โปแซงรถญี่ปุ่น

จีน = มหาอำนาจยานยนต์โลกหรือยัง? ส่องยอดการผลิตรถยนต์ทั่วโลก ปี 1950-2022

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์