แม้จะทราบดีกว่า ปรอท เป็นภัยร้าย ทั้งกับสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ แต่ก็มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง โดยปรอทซึ่งอยู่ในรูปของเหลวนั้น มนุษย์นำไปใช้ผสม หรือเจือโลหะต่างๆ เช่น ทองคำ เงิน และทองแดง ที่เรียกว่า ‘อะมัลกัม’ หรือคือวัสดุที่นำไปใช้ในการอุดตัน ใช้เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ในยาปราบศัตรูพืช
ผลที่ตามมา เมื่อน้ำทิ้งไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือลงทะเล สัตว์น้ำเหล่านั้นก็ได้รับปรอทโดยถ้วนทั่ว ยิ่งเมื่อน้ำปนเปื้อนปรอทไหลลงสู่ทะเล ปริมาณปรอทในน้ำทะเล ก็ย่อมสูงขึ้นตามไปอีก
สิ่งที่ได้รับมอบหมาย คือ ให้จัดทำร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต และห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต พ.ศ. .... เพื่อควบคุม ลด เลิกการใช้และการปลดปล่อยปรอทจากแหล่งกำเนิดตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะฯ
ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียจนถึง 30 เมษายน 2566 คาดประกาศใช้ได้ปลายปีนี้ เพื่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก ให้อุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
โรงงานใช้ปรอท มีโรงงานประเภทไหนบ้าง?
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยข้อมูลโรงงาน 6 ประเภทหลัก ใช้ปรอทเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้า ประกอบด้วย โรงงานผลิตก๊าซคลอรีนและโซดาไฟ โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ โรงงานผลิตสีต่างๆ และโรงงานหลอมโลหะ นอกนั้นยังมีโรงงานอุตสาหกรรมเล็กๆ ที่ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ทีมีการใช้ปรอทเป็นวัตถุดิบด้วย ซึ่งในบรรดาอุตสาหกรรมดังกล่าว พบว่า โรงงานผลิตก๊าซคลอรีนและโซดาไฟ กับโรงงานผลิตกระดาษ จะใช้ปรอทเป็นจำนวนมาก และมักจะปล่อยสารปรอทออกมากับน้ำทิ้ง หรือน้ำเสียจากโรงงานเหล่านี้ด้วย เพราะโรงงานดังกล่าว นิยมผลิตก๊าซคลอรีน และโซดาไฟจากน้ำเกลือ โดยกระบวนการแยกตัวด้วยกระแสไฟฟ้านั้น มีการใช้ปรอท ‘เป็นขั้วลบ’ ดังนั้น จึงมีปรอทปะปนในน้ำทิ้ง หรือน้ำเสียจากโรงงานเหล่านี้เสมอผลที่ตามมา เมื่อน้ำทิ้งไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือลงทะเล สัตว์น้ำเหล่านั้นก็ได้รับปรอทโดยถ้วนทั่ว ยิ่งเมื่อน้ำปนเปื้อนปรอทไหลลงสู่ทะเล ปริมาณปรอทในน้ำทะเล ก็ย่อมสูงขึ้นตามไปอีก
ภาคอุตสาหกรรม จัดการควบคุมดูแลโรงงานใช้สารปรอทอย่างไร?
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ควบคุมโรงงานที่มีการใช้สารปรอทมาต่อเนื่อง เพื่อการประกอบการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ล่าสุด เตรียมออกประกาศเรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต และห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต พ.ศ. .... ตามมาตรา 32 ภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535อุตสาหกรรมถามประชาชน เห็นด้วยหรือไม่? “ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทในกระบวนการผลิต”
จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เผย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินการ ‘ออกอนุบัญญัติ’ เพื่อรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะฯ ในส่วนของการควบคุมกระบวนการผลิตที่มีการใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอท ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560สิ่งที่ได้รับมอบหมาย คือ ให้จัดทำร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต และห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต พ.ศ. .... เพื่อควบคุม ลด เลิกการใช้และการปลดปล่อยปรอทจากแหล่งกำเนิดตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะฯ
ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียจนถึง 30 เมษายน 2566 คาดประกาศใช้ได้ปลายปีนี้ เพื่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก ให้อุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ร่างประกาศฯ ควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าอะไรบ้าง?
สำหรับร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต และห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต พ.ศ. .... นั้น มีสาระที่ “กำหนดให้มีการควบคุมกระบวนการผลิตที่มีการใช้ปรอท หรือสารประกอบปรอท จำนวน 5 กระบวนการ” ได้แก่- การผลิตคลอร์-แอลคาไล
- การผลิตอะซีตัลดีไฮด์ที่ใช้ปรอทและสารประกอบปรอทเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
- การผลิตสารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์
- การผลิตโซเดียมหรือโพแทสเซียมเมทิลเลต หรือเอทิลเลต
- การผลิตโพลียูรีเทนในภาคอุตสาหกรรม ที่ใช้ปรอทเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
กรอ. รายงานด้วยว่า จากการตรวจสอบและยืนยันข้อเท็จจริงจากฐานข้อมูลวัตถุอันตราย ฐานข้อมูลโรงงานของ กรอ. และรายงานผลการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ ไม่พบการนำเข้าหรือผลิตปรอท หรือสารประกอบปรอท ไปใช้ใน 5 กระบวนการผลิตข้างต้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในโรงงาน 6 ประเภทหลัก ใช้ปรอทเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้า ทั้งโรงงานผลิตก๊าซคลอรีนและโซดาไฟ โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ โรงงานผลิตสีต่างๆ และโรงงานหลอมโลหะ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมเล็กๆ ที่ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ก็ยังมีการใช้ปรอทเป็นวัตถุดิบ
5 ปีที่แล้ว ไทยจึงเป็น 1 ใน 128 ประเทศ ที่ร่วมลงนามในอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (The Minamata Convention on Mercury) ก่อนให้สัตยาบัน (Ratification) เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญามินามาตะ เป็นลำดับที่ 66 ของโลก โดยประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2017 หรือปี 2560 เป็นต้นไป
รู้จัก อนุสัญญามินามาตะ ว่าด้วยปรอท
‘อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (The Minamata Convention on Mercury)’ มีข้อกำหนดต่าง ๆ ทั้งเกี่ยวกับการระบุคลังปรอท แหล่งอุปทานปรอทที่มีการสะสมปรอทปริมาณมาก การห้ามค้าปรอท ยกเว้นเฉพาะวัตถุประสงค์การใช้ที่ได้รับอนุญาตจากอนุสัญญาฯ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการยกเลิก (Phase – out) การผลิต นำเข้า และส่งออก ผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอทตามภาคผนวก A ภายในปี 2020 ที่ผ่านมา อาทิ แบตเตอร์รี่ สวิตช์ไฟฟ้า กลุ่มหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดไอปรอทความดันสูง เครื่องสำอางค์ รวมทั้งสบู่และครีมผิวขาว สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อ และเครื่องมือวัดที่ไม่ใช่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และลดการใช้ (Phase – down) อะมัลกัมที่ใช้ทางทันตกรรมโดยในบางประเทศได้เริ่มดำเนินการตามข้อกำหนดนี้แล้ว เช่น ประเทศอาร์เจนตินา ประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ 8 รายการที่มีการเติมสารปรอท มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
เป้าหมายอนุสัญญามินามาตะฯ ควบคุม ลด เลิกการใช้และการปลดปล่อยปรอทจากแหล่งกำเนิด
ทั้งนี้ทั้งนั้น ในอนุสัญญามินามาตะ ว่าด้วยปรอท ยังยืดหยุ่นสำหรับประเทศในรัฐภาคีใดที่ยังไม่พร้อมเริ่มดำเนินการ โดยอนุสัญญาฯ ได้ให้สิทธิแก่รัฐในการจดทะเบียนขอยกเว้นข้อกำหนดการยกเลิก (Phase – out) โดยมีอายุเลื่อนได้ 5 ปี จำนวน 2 ครั้ง แต่หลังจากปี 2030 จะไม่อนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า และส่งออก ผลิตภัณฑ์มีสารปรอทภายใต้อนุสัญญาฯนอกจากนี้ยังมีข้อกำหนด ให้มีการพัฒนาและปฏิบัติตามแผนจัดการระดับชาติ เกี่ยวกับการปลดปล่อยปรอทสู่อากาศ แหล่งน้ำ และดิน การลดการใช้ปรอททำเหมืองแร่ทองคำพื้นบ้าน การเก็บกักปรอทชั่วคราวและการจัดการของเสียปรอทอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดการพื้นที่ที่ปนเปื้อนปรอท เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้น เราจึงมีความหวัง ว่าสารปรอท จะค่อยๆ เจือจางความอันตรายน้อยลงไปเรื่อยๆ
ย้ำชัด ไทยไม่มีโรงงาน ใช้ปรอทฯ ใน 5 กระบวนการผลิตที่กำลังควบคุม
ปัจจุบันประเทศไทย ‘ไม่มี’ สถานประกอบการโรงงานที่มีการใช้ปรอทและสารประกอบปรอทใน 5 กระบวนการผลิตที่จะมีการควบคุมดังกล่าว โดยมีการตรวจสอบและยืนยันข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้แก่- ฐานข้อมูลวัตถุอันตรายของ กรอ. ซึ่งไม่พบการนำเข้าหรือผลิตปรอทหรือสารประกอบปรอทไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับ 5 กระบวนการผลิตดังกล่าว
- ฐานข้อมูลโรงงานของ กรอ. ซึ่งไม่พบรายชื่อสถานประกอบการโรงงานที่มีการใช้ปรอทและสารประกอบปรอทเป็นวัตถุดิบใน 5 กระบวนการดังกล่าว
- รายงานผลการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการการจัดทำแนวทางและมาตรการจัดการสารปรอทที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศไทย กิจกรรมการจัดทำทำเนียบสารปรอท ปี พ.ศ. 2556 และโครงการการศึกษาความพร้อมของประเทศไทยในการปฏิบัติตามอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท ปี พ.ศ. 2557 ระบุว่า ไม่พบการใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในทั้ง 5 กระบวนการผลิต
“ผมมั่นใจมากว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยมีความพร้อมในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญามินามาตะ ว่าด้วยปรอท ในการเลิกใช้ปรอทและสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต จึงอยากขอความร่วมมือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนทั่วไป แสดงความคิดเห็นร่างประกาศกระทรวงดังกล่าว ผ่านเว็บไซต์ของระบบกลางทางกฎหมาย www.law.go.th หรือเว็บไซต์ กรอ. www.php.diw.go.th
ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 เมษายน 2566 ก่อนดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อประกาศใช้ในช่วงปลายปี 2566” อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวปิดท้าย

