MAY DAY ดีเดย์พลังงานพุ่ง คนไทยปาดเหงื่อ !!

16 พ.ย. 2565 - 09:16

  • จะไม่ให้เรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มได้อย่างไร ในเมื่ออะไรๆ ก็พุ่งให้จ่ายเพิ่ม

  • 1 พ.ค. 65 แรงงานปาดเหงื่อ พลังงานพุ่ง ‘วันแรก รัฐเลิกตรึงดีเซล’

  • จับตาสินค้า 18 หมวด ขึ้น/ไม่ขึ้น !!

May-Day- labor-energy-inflation_Main
แรงงานร้องขอ ‘ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 492 บาท’

1 พ.ค. 65 วันแรงงานแห่งชาติ ... อาจจะเป็นวันหยุดปีแรก ที่แรงงานต้องหวาดผวา เพราะค่าครองชีพที่พุ่งสูงจนคาดเดาไม่ได้ เป็นเหตุให้ต้องควักเงินเลี้ยงชีพพุ่งขึ้นไปอีก แต่รายรับกลับไม่พุ่ง

ปัจจัยที่เห็นๆ และมีผลเป็นรูปธรรมวันนี้ ก็คือ ‘ราคาพลังงาน’ ที่วันนี้ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นวันแรก ที่รัฐประกาศ ‘ลอยตัวพลังงาน’ ซึ่งเท่ากับว่า ราคาตลาดโลกเป็นอย่างไร ราคาก็เป็นไปตามนั้น และตอนนี้ โลกก็ปั่นป่วนมาก จากประเทศต้นทางของผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซ รัสเซีย-ยูเครน ยังรบกันไม่หยุด นี่จึงเป็นเหตุซ้ำเติมคนไทย-แรงงานไทยทั่วทุกอณู เรื่องนี้ จึงเป็นต้นเหตุส่วนหนึ่ง ให้แรงงานไทยออกมาเรียกร้องปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ โดยขอปรับเพิ่มเป็น 492 บาททั่วประเทศ

นายจ้าง ชี้บ้าง ‘ค่าจ้างใหม่ รับไม่ไหว’ ขอรัฐรอบคอบ ยอมตาม ‘ระบบพัง’

โดยแม้ขณะนี้จะยังไม่มีผลจากรัฐบาล ว่าเห็นควรปรับเพิ่มตามการเรียกร้องหรือไม่ แต่ฟากฝั่งของสภาองค์การนายจ้าง 40-50 สมาคม ก็ได้ร่วมกันยื่นหนังสือถึงรัฐบาลด้วย โดยขอให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามที่มีการเรียกร้อง

โดยนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (ECONTHAI) กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศขณะนี้ยังไม่ค่อยดี ไม่ใช่เวลาที่จะปรับขึ้นค่าจ้าง นายจ้างรับไม่ไหว ขณะเดียวกันก็มีความกังวลว่า หากถูกนำไปเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อสนองนโยบายประชานิยม จนมีการแทรกแซงไปยังคณะกรรมการไตรภาคี ให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อหวังผลทางการเมือง จะทำให้พังทั้งระบบ เนื่องจากที่ผ่านมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของไทยมีอยู่ 8 ระดับตามพื้นที่ ซึ่งหากยึดค่าจ้างขั้นต่ำใน กทม.ที่อัตรา 331 บาทต่อวันมาคำนวณ จะเท่ากับ มีการปรับค่าจ้างขึ้นไปถึงวันละ 161 บาท หรือขึ้นถึง 48.6% ซึ่งเป็นอัตราที่นายจ้างรับไม่ไหว

ปัญหาค่าครองชีพที่พุ่งสูง ส่วนหนึ่งก็เห็นใจลูกจ้าง แต่หากมาพิจารณาผลกระทบจะพบว่า อัตราเงินเฟื้อที่สูงขึ้นนั้นมีสาเหตุที่แท้จริงมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ไม่ได้มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ผู้ประกอบการไม่สามารถสะท้อนต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังราคาสินค้าได้เหมือนภาวะเงินเฟ้อปกติ จึงเสนอ 2 ทางเลือก ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม หรืออาจขึ้นไม่เกินอัตราเงินเฟ้อ 5%

ราคาน้ำมันวันแรก ‘รัฐเลิกตรึงราคา’

ขณะที่ปัญหา ‘ราคาพลังงานพุ่งสูง’ โดยวันนี้ถือเป็นวันแรกที่รัฐประกาศ ยกเลิกตรึงราคาพลังงาน เป็นผลราคาหน้าปั๊มปรับขึ้นถ้วนหน้า อ้างอิงจาก 3 สถานีบริการ

ราคาน้ำมันวันนี้ (1 พ.ค.65) อ้างอิง ปตท. และบางจาก
แก๊สโซฮอล์ 95 ราคา 39.65 บาท/ลิตร
แก๊สโซฮอล์ E20 ราคา 38.54 บาท/ลิตร
แก๊สโซฮอล์ E85 ราคา 32.84 บาท/ลิตร
แก๊สโซฮอล์ 91 ราคา 39.38 บาท/ลิตร
เบนซิน 95 ราคา 47.06 บาท/ลิตร
ดีเซล B7 ราคา 31.94 บาท/ลิตร
ดีเซลพรีเมี่ยม ราคา 37.96 บาท/ลิตร
ดีเซลหมุนเร็ว B20 ราคา 31.94 บาท/ลิตร
ดีเซล ราคา 31.94 บาท/ลิตร

ราคาน้ำมันวันนี้ (1 พ.ค.65) อ้างอิงจาก เชลล์ (Shell)
เชลล์ ฟิวเซฟ แก๊สโซฮอล์ E20 ราคา 40.14 บาท/ลิตร
เชลล์ ฟิวเซฟ แก๊สโซฮอล์ 91 ราคา 40.98 บาท/ลิตร
เชลล์ ฟิวเซฟ แก๊สโซฮอล์ 95 ราคา 41.25 บาท/ลิตร
เชลล์ วี-เพาเวอร์ แก๊สโซฮอล์ 95 ราคา 48.74 บาท/ลิตร
เชลล์ ดีเซล B20 ราคา 31.94 บาท/ลิตร
เชลล์ ฟิวเซฟ ดีเซล ราคา 31.94 บาท/ลิตร
เชลล์ ฟิวเซฟ ดีเซล B7 ราคา 31.94 บาท/ลิตร
เชลล์ วี-เพาเวอร์ ดีเซล ราคา 31.94 บาท/ลิตร
เชลล์ วี-เพาเวอร์ ดีเซล B7 ราคา 40.39 บาท/ลิตร

จับตาพาณิชย์ ดูแลราคาสินค้า

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ผลจากความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครน ที่ยังไม่จบ และไทยซึ่งอยู่ในสภาวะต้องพึ่งพาพลังงานนอกประเทศ ย่อมหลีกเลี่ยงผลกระทบนี้ไม่ได้ ยังไม่รวม ‘น้ำมันปาล์ม’ ที่ก็ปั่นป่วนไม่แพ้กัน จ่อแนวโน้มทำพลังงานผลิตอาหารพุ่งปรี๊ดปร๊าด หลังอินโดนีเซียเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันปรุงอาหารสั่งระงับส่งออก ดังนั้น อาหารที่ต้องพึ่งพาน้ำมันปาล์มของไทยก็จ่อขึ้นอีกหลายรายการ จับตาสินค้า 18 หมวด กระทรวงพาณิชย์ จะยับยั้งไม่ขึ้นราคา ไหวหรือไม่ ?? หรือจะบาลานซ์ช่วยให้ทุกฝ่าย อยู่รอดในท่ามกลางสภาวะเช่นนี้ ได้อย่างไร ??

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์