บอร์ด กสทช. ลงมติ ไม่ให้อุทธรณ์ สรรหาเลขาฯ กสทช.

20 กุมภาพันธ์ 2567 - 10:05

nbtc-board-recruitment-secretary-meeting-resolution-SPACEBAR-Hero.jpg
  • บอร์ด กสทช. มีมติ 4:3 ไม่รับอุทธรณ์ค้ดค้าน ‘ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล’

  • หลังทำหนังสือถึง ประธาน กสทช. ค้านมติเสียงข้างมาก ไม่เห็นชอบเลือกเลขาธิการ กสทช.

ที่ประชุมกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้พิจารณาเรื่องขออุทธรณ์มติในการประชุม กสทช. นัดพิเศษครั้งที่ 1/2567 เรื่องการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. หลังนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ และรักษาการเลขาธิการ กสทช. เป็นผู้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณา 

ที่ประชุม มีมติไม่สามารถรับพิจารณาเรื่องอุทธรณ์ โดยมีการลงมติด้วยคะแนนเสียง 4:3 (งดออกเสียง 3) เนื่องจาก ยังไม่มีการแจ้งมติและมติของกรรมการไม่สามารถอุทธรณ์ได้ ชนตามพระราชบัญญัติราชบัญญัติวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครองพุทธศักราช 2539 

สำหรับการอุทธรณ์เรื่องดังกล่าวสามารถทำได้ หากพบว่า มีข้อเท็จจริงใหม่เกิดขึ้น แต่กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าการสรรหาเลขาธิการ กสทช. ไม่ได้ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ อย่างไรก็ดีกฎหมายเปิดช่องให้สามารถยื่นขอทบทวนมติของที่ประชุมได้ซึ่งจะต้องดูกันต่อไปว่าผู้ร้องจะมีการยื่นขอทบทวนมติบอร์ดอีกหรือไม่

ทั้งนี้ ได้มีคำอธิบายจากมติเสียงข้างมากถึงผลการพิจารณาที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ มติ กสทช. ครั้งนั้น เป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ (ใช่ มติ กสทช. เป็นคำสั่งทางปกครอง)
2. หากเป็นคำสั่งทางปกครอง การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
3. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ส่วนที่ 5 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง มาตรา 48 กรณีคำสั่งของคณะกรรมการต่างๆ คู่กรณีมีสิทธิ์โต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ซึ่งปัจจุบันคืออำนาจพิจารณาของศาลปกครอง
4. คำอุทธรณ์ที่ยื่นมานี้ จึงไม่สามารถรับพิจารณาได้ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง แต่ผู้รับคำสั่ง (มติ กสทช.) สามารถดำเนินการตามมาตรา 48 ซึ่งในปัจจุบันคือการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

มาตรา 48 คำสั่งทางปกครองของบรรดาคณะกรรมการต่างๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือไม่ ให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท สิทธิการอุทธรณ์และกำหนดเวลาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์