แผนแม่บทคุม ‘OTT’ บอร์ดใหญ่ กสทช.ทำหาย??

8 ก.พ. 2568 - 12:19

  • ข้อมูลจากคณะทำงานร่างแผนแม่บทกำกับดูแล OTT

  • ทำตามขั้นตอนเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี 2566

  • ‘ร่างแผนแม่บท’ ไม่เคยถูกนำเสนอให้พิจารณา ‘ล่องหนหายไป’

nbtc-ott-media-ntrepreneurs-SPACEBAR-Hero.jpg

คำถามที่ตามมาหลังศาลตัดสินคดีระหว่าง ‘บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป’ กับ ‘พิรงรอง รามสูต’ คือ ‘อำนาจในการกำกับดูแล OTT ของ กสทช.’ ที่ให้เหตุผลว่า “ไม่มีอำนาจ”  จึงเกิดข้อสงสัยตามมาว่า “แล้วไม่ต้องทำหน้าที่หรือ?” ซึ่งที่ผ่านมา คณะกรรมการ กสทช. ได้มีการจัดระดมความคิด สอบถามความคิดเห็นผู้ประกอบการหลายครั้งในเรื่อง OTT เพื่อร่างแผนแม่บทกำกับดูแลอย่างจริงจัง

ระวี ตะวันธรงค์ เมื่อครั้งนั่งในตำแหน่งนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เป็นหนึ่งในคณะทำงานของ กสทช.เพื่อทำเรื่องนี้ ได้เผยผ่านเฟซบุ๊ก (8 กุมภาพันธ์) เนื้อหาระบุว่า

Fact is Ugly truth #saveพิรงรอง (ยาวนะครับ)
ขออนุญาตให้ข้อมูล(ไม่ใช่ความคิดเห็น) ผมในการร่วมทำงานกับ อ.พิรงรอง และคณะทำงาน กสทช ในฐานะที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลประเทศไทย ในช่วงเวลาที่อยู่ในตำแหน่งนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ช่วงปี 62-66 (ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสมาคมฯ)

1. ไทยยังไม่มีกฏหมายกับกับดูแล #OTT ?) 
- ใช่ครับ ปัจจุบันไม่มี แต่ในฐานะที่ได้ทำงานร่วมกับกสทช.ในช่วงที่ผมเป็นนายกสมาคมฯ ได้รับรู้และรับทราบถึงการตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่อง #OTT ตั้งแต่ประมาณปี 63 แล้ว

2. แล้วกสทช.ไม่ทำหรือ ทำไมถึงไม่มีอำนาจ?
- ยังไม่มีอำนาจตามกฎหมายครับ เนื่องจากตั้งแต่ช่วงปี 64 ถึงปัจจุบันมีการทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปี 63-68 (ฉบับปรับปรุง)
3. อ้าว? ก็ทำแล้วนี่ แล้วทำไมยังกำกับดูแลไม่ได้
- ร่างแผนแม่บทเกี่ยวกับ OTT ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในเชิงการศึกษาและทำแผนแล้ว ซึ่งมีการเสนอเพื่อเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.ชุดใหญ่ ตั้งแต่เดือนพ.ย.2566 จนถึงปัจจุบันแผนยังไม่ได้ถูกนำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณา อ้างอิงเนื้อหาดังนี้

“_ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ได้กล่าวถึงแผนการร่างประกาศ เพื่อใช้กำกับดูแลแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง OTT ซึ่งได้มีการจัดทำแล้วเสร็จทุกขั้นตอนรวมถึงการจัดรับฟังความคิดเห็นครบถ้วนแล้ว ซึ่งได้เสนอเข้าสู่วาระการประชุมรอบแรกก่อนวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566ซึ่งเป็นวันที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้เป็นเส้นตายของธุรกิจที่ให้บริการดิจิทัลหรือแพลตฟอร์มดิจิทัลมาจดแจ้ง ตาม พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565_”

ซึ่งข้อนี้ ก็คือเรื่องอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานของกสทช. สามารถอ้างอิงระเบียบการทำงานที่นี่
https://broadcast.nbtc.go.th/about

4. ต้นตอการร้องเรียนของประชาชนเรื่องโฆษณาคืออะไร?
- ผู้ร้องรับชมช่องทีวีดิจิตอลภายใต้การกำกับดูแลของกสทช. โดยดูผ่านกล่อง TrueID พบโฆษณาขั้นระหว่างรับชม ซึ่งมากกว่าเงื่อนไขที่กสทช.กำหนดในแต่ละช่อง เช่น โฆษณา pop up ระหว่างชม หรือระหว่างเปลี่ยนช่อง (ซึ่งเมื่อกล่องเป็นOTT ก็สามารถทำได้ เพราะ ยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแล)

5. โฆษณาแบบนี้คืออะไร ไม่เหมือนโฆษณาทีวีหรือ?
- ไม่เหมือนทีวีเลยระบบนี้คือ ‘Programmatic Guarantee’ เหมือนโฆษณาออนไลน์ ที่ระบบสามารถรู้พฤติกรรมเราได้ ดูช่องอะไร ดูกี่โมง ดูที่ไหน ง่ายๆคือโฆษณาสามารถยิงตรงไปยัง ‘พฤติกรรมและความสนใจของผู้ชมทีวี’ เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น

- ต่างยังไงกับโฆษณาทีวีที่ผ่านมา? ต่างที่เดิมการโฆษณา จะรู้แค่ว่าช่องนี้ รายการนั้นเรตติ้งเท่าไหร่ เท่ากับน่าจะมีคนดูเยอะ ค่าโฆษณาก็จะขึ้นกับเรตติ้ง แต่ผู้โฆษณาจะวัดไม่ได้ว่า แล้วคนดูมาซื้อหรือใช้บริการเขาจากที่โฆษณาไปหรือไม่ เหมือนที่เราเล่นเน็ตแล้วจะเจอของที่เราสนใจมาอยู่บนหน้าFB เราอัตโนมัติ

6. ช่องทีวี หรือผู้ผลิตคอนเท้นต์ไทยทำยังไง?
- ผมร่วมกับ สมาคมโทรทัศ์ระบบดิจิตอล ร่วมกับกสทช.ตั้งคณะทำงานศึกษาโครงการ “National Streaming Platform” ตั้งแต่ปี65 เพื่อวางแผนรับมือเทคโนโลยีใหม่ๆ และการหมดอายุสัมปทานทีวีดิจิตอล ปี72

- ซึ่งระบบ ‘Programmatic Guarantee’ เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาศึกษาในการยกระดับ Digital Ecosystem เพื่อการแข่งขันอย่างเท่าเทียม

ทั้งหมดนี้ย้ำว่าเป็น ‘Fact’ ไม่ใช่ ‘Opinion’ นะครับ มีข้อมูลอ้างอิงทุกเนื้อหา รวมถึงประกาศคณะกรรมการกสทช. เรื่องแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่2 (พ.ศ.2563-2568) ฉบับปรับปรุง ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2566 (อ้างอิงเอกสาร) https://broadcast.nbtc.go.th/.../law/doc/th/660600000001.pdf
ท่านสามารถอ่าน #แผนแม่บทฯกสทช. ฉบับเต็มได้ที่… https://broadcast.nbtc.go.th/.../law/doc/th/661100000001.pdf
เรียนเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาครับ
หากมีประโยชน์ ฝากแชร์เพื่อให้สังคมทราบข้อมูลโดยทั่วถึงครับ

View post on Facebook

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์