สศช.ชี้ GDP ไทยปี 67 ขยายตัว 2.5% ต่ำกว่าคาด ปี68 ที่ 2.8%

17 ก.พ. 2568 - 05:38

  • ‘สภาพัฒน์’ แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2567

  • ชี้ GDP ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจาก 2% ปีก่อน

  • คงประมาณการ GDP ปี 2568 ขยายตัวได้ 2.3 – 3.3% ค่ากลาง 2.8%

nesdc-gdp-thailand-2024-forecast-2025-economy-growth-SPACEBAR-Hero.jpg

สศช. แถลงตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เศรษฐกิจไทย ขยายตัว 3.2% หลังเครื่องชี้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลทั้งปี 2567 ขยายตัว 2.5% ขณะที่ปี 2568 ยังคงประมาณการขยายตัว 2.8%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 และแนวโน้มปี 2568 ว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของไทย ขยายตัว 3.2% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 3.0% ในไตรมาส 3 ปี 2567 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจทั้งภาคการผลิตและการใช้จ่ายปรับตัวดีขึ้นทุกตัว โดยเฉพาะการลงทุนรวมขยายตัวได้ดีขึ้น

nesdc-gdp-thailand-2024-forecast-2025-economy-growth-SPACEBAR-Photo01.jpg

สำหรับเศรษฐกิจไทย ปี 2567 ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจาก 2.0% ในปี 2566 โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 4.4% และการอุปโภคภาครัฐบาล ขยายตัว  2.5% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.8% โดยมีเพียงการลงทุนภาคเอกชนตัวเดียว ที่ลดลง 1.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ ขยายตัว 5.8% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.3% ของ GDP

nesdc-gdp-thailand-2024-forecast-2025-economy-growth-SPACEBAR-Photo02.jpg

ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 นั้น สศช.คาดว่าจะขยายตัว อยู่ที่ 2.3 – 3.3% (ค่ากลางของการประมาณการอยู่ที่ 2.8%) ซี่งยังคงไว้ตามประมาณการครั้งก่อน ทั้งนี้ คาดว่า ในปี 2568 การอุปโภคบริโภค จะขยายตัว 3.3% และการลงทุนภาคเอกชน จะขยายตัว 3.2% มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ ขยายตัว 3.5% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย อยู่ในช่วง 0.5 - 1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของ GDP

nesdc-gdp-thailand-2024-forecast-2025-economy-growth-SPACEBAR-Photo03.jpg

อย่างไรก็ตาม ในด้านเป้าหมายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ GDP ไทย ขยายตัวได้ถึง 3.0-3.5% ในปี 2568 นี้ เลขาฯ สภาพัฒน์ มองว่า รัฐจะต้องใช้มาตรการอื่นมาเสริมมากขึ้น โดยเฉพาะการเร่งรัดให้มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น รัฐอาจส่งเสริมเป็นแพ็คเกจ เพื่อเพิ่มเม็ดเงินลงทุนเข้าระบบ เช่น เรื่องการลงทุนบริหารจัดการน้ำ ซึ่งอาจทำเป็นโครงการไม่ใหญ่ ใช้งบประมาณ 50-60 ล้านบาท เพื่อกระจายในพื้นที่ต่างๆ ทั่งประเทศ สิ่งนี้จะทำให้เกิดการสร้างปัจจัยการผลิตระยะยาว พราะเศรษฐกิจไทยยังต้องมอร์นิเตอร์ปัจจัยเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เช่น สงครามการค้า ขณะที่อีกด้าน ยังช่วยเรื่องแนวทางป้องกันภัยพิบัติ (น้ำท่วม-ภัยแล้ง) ได้อีกด้วย

nesdc-gdp-thailand-2024-forecast-2025-economy-growth-SPACEBAR-Photo04.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์