ป้องกันอันตรายจาก ไพโรไลซิส แก๊สโซลีน

9 พ.ค. 2567 - 11:44

  • แนวทางการดูแล และป้องกันการรับมือสารไพโรไลซิส แก๊สโซลีน

  • ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย

prevent-danger-pyrolysis-gasoline-map-ta-phut-tank-terminal-SPACEBAR-Hero.jpg

ศูนย์เชี่ยวชาญโรคจากสารเคมีและการตอบโต้ด้านสาธารณะสุขในอุบัติภัยสารเคมี กลุ่มงานอาชีวะเวชกรรม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จเพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ระยอง ได้ทำเผยแพร่วิธีการป้องกัน และแนวทางปฎิบัติเบื้องต้น ในการรับมือกับสารไพโรไลซิส แก๊สโซลีนที่เกิดอุบัติภัยในขณะนี้ 

โดยไพโรไลซิส แก๊สโซลีน Pyrolysis Gasoline หรือ ‘ไพแก๊ส’ มีคุณสมบัติเป็นสารผสมจึงทำให้เกิดพิษต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ระบบหายใจ หัวใจ และระบบประสาทอย่างรุนแรง

ผู้ที่ได้รับสารนี้ ควรสังเกตอาการผิดปกติ ดังนี้
- ปวดหัว คลื่นไส้ อาจกดทับประสาทถึงขั้นหมดสติ
- ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร อาจถึงขั้นสำลักอาเจียน
- ระคายเคืองผิวหนัง จนเกิดอาการแพ้ และคัน
- ระคายเคืองต่อจมูก และอาจมีเลือดกำเดาไหล  

วิธีการป้องกัน
- หลังอพยพ เปิดประตูหน้าต่างระบายอากาศ
- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน หน้ากากป้องกัน PM2.5
- ถอดเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ล้างด้วยน้ำสะอาด
- ล้างตาด้วย Normal Saline

หากสัมผัสกับสารเคมีอันตราย ควรทำอย่างไร?
- หากสัมผัสสารเคมีที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด เพื่อให้สารเคมีเจือจาง
- กรณีสัมผัสทั่วร่างกายให้รีบถอดเสื้อผ้าออก
- กรณีสารเคมีเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้ไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว
- หากสูดดม ให้ย้ายผู้ที่ได้รับสารไปที่อากาศบริสุทธิ์ ประเมินการหายใจ และการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ทำการ CPR และรีบขอความช่วยเหลือ เพื่อส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

prevent-danger-pyrolysis-gasoline-map-ta-phut-tank-terminal-SPACEBAR-Photo V01.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์