ก.ล.ต. กางแผนยุทธศาสตร์ปี 67 ฟื้นความเชื่อมั่นตลาดทุนไทย-ขับเคลื่อนศก.ดิจิทัล

7 ธ.ค. 2566 - 11:49

  • วัตถุประสงค์ของการแถลงแผนยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ โดย พิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ ก.ล.ต.

  • กล่าวถึง ทิศทาง การกำกับและการพัฒนา ตลาดทุนไทยเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืนของประเทศ

  • แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2567-2569 มุ่งบรรลุเป้าหมายหลัก 4 ด้าน

  • เสนอขาย ‘Investment Token’ เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์

Sec-Announcement-strategic-plan-for-2024-SPACEBAR-Hero.jpg

ก.ล.ต. กางแผนยุทธศาสตร์ปี 2567 พร้อมสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นของตลาดทุนไทย ผ่านการพัฒนาศักยภาพผู้ที่เกี่ยวข้องควบคู่กับการปรับตัวสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เศรษฐกิจ และตลาดทุนไทย 

พิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ ก.ล.ต. กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ‘การแถลงยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ในครั้งนี้จะเป็นทิศทางและเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ตลาดทุนไทยจะก้าวไปในระยะ 3 ปีข้างหน้า เพื่อคว้าโอกาสและรับมือกับความท้าทาย ภายใต้บริบทของประเทศและประเด็นสำคัญระดับสากล โดยการวางทิศทางและดำเนินนโยบายของ ก.ล.ต. เพื่อยกระดับศักยภาพของตลาดทุนไทย เชื่อมั่นว่าจะส่งผลให้ตลาดทุนไทยได้แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ประเด็นที่แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ฉบับนี้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญคือการเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นของตลาดทุนไทยผ่านการยกระดับบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร่วมตลาดทุน รวมถึงการยกระดับศักยภาพของ ก.ล.ต. ในการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ควบคู่ไปกับบทบาทการพัฒนาตลาดทุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเข้าถึงตลาดทุนของประชาชนในวงกว้างและในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชย์จากตลาดทุนอย่างทั่วถึง มีความเท่าเทียมทางโอกาส เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน 

นอกจากนี้ในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่จะผลักดันตลาดทุนไทยให้พัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตอบโจทย์ของประเทศได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การสื่อสารกับทุกภาคส่วนในตลาดทุนไทยในวันนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดนการแถลงยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ในครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะนำเสนอทิศทางการกำกับและพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืนของประเทศ’ 

พรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ ก.ล.ต. ได้กล่าวถึง ทิศทาง การกำกับและการพัฒนา ตลาดทุนไทยเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืนของประเทศ กล่าวว่า ‘กว่า 3 ทศวรรษที่ ก.ล.ต. ร่วมมุ่งมั่นและผลักดันให้ตลาดทุนไทยตอบโจทย์ของประเทศ ในการที่จะเป็นหนึ่งในกลไกหลักที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ผ่านมามีการพัฒนาช่องทางในการระดมทุนไม่ว่าจะเป็นองค์กร, ธุรกิจ, กิจการขนาดใหญ่, SME และ Start Up รวมถึงช่องทางการระดมทุน การออม การวางแผนการเงิน การจัดการความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและครอบคลุม  

อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพแวดล้อมของตลาดที่ผ่านมาทำให้ตลาดทุนไทยเผชิญกับความท้าทายในการตอบโจทย์ประเทศ แต่จะเห็นได้ว่าแม้จะเผชิญความท้าทายหรือวิกฤติกี่ครั้ง ตลาดทุนไทยก็ยังเติบโตพัฒนาต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันที่กำลังเผชิญปัญหาทั้งจากภายนอกประเทศและภายในประเทศ รวมถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มาขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ก.ล.ต.จะต้องเร่งการฟื้นคืนความเชื่อมั่นกลับมาให้ตลาดทุนไทยมีความน่าเชื่อถือ ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ผ่านความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย’

Sec-Announcement-strategic-plan-for-2024-SPACEBAR-Photo01.jpg

ในส่วนของเป้าหมายตลาดทุนไทย ต้องการพัฒนาศักยภาพใน Value Chain กำกับพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืน ตอบโจทย์ของประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน Green/Digital Economy พร้อมกับการสร้างสมดุลและสมรรถนะให้กับตลาดทุนไทยใน 3-5 ปีข้างหน้า 

สำหรับแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2567-2569 มุ่งบรรลุเป้าหมายหลัก 4 ด้าน ดังนี้

  • ตลาดทุนมีความน่าเชื่อถือ (trust and confidence) 
  • ตลาดทุนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่เศรษฐกิจดิจิทัล     
  • ตลาดทุนเป็นกลไกสำคัญสู่ความยั่งยืน (sustainable capital market)
  • ผู้ลงทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี 

นอกจากนี้ในปัจจุบันจะเห็นว่าหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วได้เริ่มมีการกำกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยที่จุดที่สำคัญของการมี พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล คือ จะต้องไม่มีความเลื่อมล้ำในการกำกับดูแลในเชิงของการคุ้มครองผู้ลงทุนกับสินทรัพย์ดั้งเดิมและสินทรัพย์ที่เป็น Digital Asset 

ในอดีต ก.ล.ต.มุ่งเน้นการกำกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ปัจจุบันมุ่งส่งเสริมการระดมทุนผ่านการออกและเสนอขาย ‘Investment Token’ เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการส่งเสริมนวัตกรรม รูปแบบของ Investment Token นั้นจะต้องมีสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งจะเป็นการระดมทุนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน ท้ายที่สุดเทคโนโยลีจะถูกประยุกต์เข้ากับโลกของสินทรัพย์การเงินแบบดั้งเดิม เช่น หุ้น ตราสารหนี้ ทุกอย่างจะสามารถแปลงเป็น Token หรือทำการ Tokenized ได้ 

นอกจากนี้ เทรนด์อนาคตที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลดโลกร้อน ผู้ประกอบการก็อาจจะมองไปถึงการออก ESG Investment Token ก็สามารถทำได้ บนโครงสร้างพื้นฐานที่ ก.ล.ต.ได้วางไว้ตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี พร้อมคาดว่าในอนาคตจะเห็นการผนวกกัน ทั้งในฝั่งของผู้ประกอบธุรกิจในโลกเดิม กับฝั่งของ Investment Token รวมทั้งฝั่งของผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล บนกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ทันสมัย เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์