ชลบุรีเริ่มค่าแรง 400 เอกชนวอนรัฐช่วย หลังกระทบต้นทุน

7 ม.ค. 2568 - 03:30

  • เริ่มแล้วขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในพื้นที่ 5 จังหวัด

  • แรงงานพัทยาขานรับยินดีช่วยค่าครองชีพที่ขยับสูง

  • ผู้ประกอบการวอนรัฐหามาตรการช่วยลดต้นทุน

spacebar_big_city_east_chonburi_starts_wages_400_baht_SPACEBAR_Hero_b48c06c5fa.jpg

เริ่มแล้วขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ สูงสุดวันละ 400 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ตั้งแต่อัตราวันละ 7-55 บาท บาท สูงสุด 400 บาทที่ จ.ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ส่วน กทม.-ปริมณฑล 372 บาท และจังหวัดชายแดนใต้ 337 บาท  

บุญอนันต์ พัฒนสิน นายกสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา เปิดเผยว่า จากการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล ส่งผลต่อการเพิ่มต้นทุนของผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยค่าแรงถือเป็นต้นทุนหลักในทุกภาคธุรกิจที่ต้องพึ่งพาแรงงาน

spacebar_big_city_east_chonburi_starts_wages_400_baht_SPACEBAR_Photo01_9408e15422.jpg

“ธุรกิจบางราย โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย อาจมีต้นทุนค่าแรงต่ำกว่า เนื่องจากขาดการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานถูกกฎหมาย ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นและเสียเปรียบในการแข่งขัน”

“ผลกระทบต่อธุรกิจบริการในพัทยา ธุรกิจบริการซึ่งเป็นหัวใจหลักของเมืองพัทยา ได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น โดยธุรกิจขนาด SME และขนาดใหญ่บางแห่ง เลือกจ่ายค่าแรงผ่านรูปแบบเซอร์วิสชาร์จ หรือค่าบริการอื่นๆ ที่รวมกันแล้วสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด และการขึ้นค่าแรงยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าครองชีพในเมืองพัทยาที่สูงอยู่แล้ว”

spacebar_big_city_east_chonburi_starts_wages_400_baht_SPACEBAR_Photo02_26fc94d4db.jpg

นายกสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา ยังเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณานโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการขึ้นค่าแรง รวมถึงค่าภาษี ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าใบอนุญาตประกอบการ

“ถึงแม้รัฐบาลจะไม่สามารถช่วยเหลือได้เต็ม 100% แต่ควรมีมาตรการซัพพอร์ตในด้านอื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และช่วยลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการในระยะยาว”

spacebar_big_city_east_chonburi_starts_wages_400_baht_SPACEBAR_Photo03_efaaa003bc.jpg

บุญเกิด สุขศรีการ ผู้บริหารโรงแรมซันบีมพัทยา กล่าวว่า ค่าแรงขึ้น 400 บาท ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมได้รับผลกระทบราคาต้นทุนที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มขึ้นอีกด้วย  อยากขอให้ภาครัฐช่วยเรื่องค่าไฟฟ้า เนื่องจากช่วงหน้าร้อนค่า FT จะสูงขึ้น ทั้งยังเป็นช่วงโลว์ซีซั่น คือช่วงที่นักท่องเที่ยวไม่เดินทางมา ทำให้รายได้น้อยไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น

spacebar_big_city_east_chonburi_starts_wages_400_baht_SPACEBAR_Photo04_56d28a3c1e.jpg

มนธิชา สนิทกลาง ผู้ใช้แรงงานในพื้นที่เมืองพัทยา กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ค่าแรงขึ้น 400 บาท เนื่องจากราคาสินค้าต่างๆ มีการขึ้นราคาเยอะมาก และอยากให้ขึ้นค่าแรงให้เร็วที่สุด ตามนโยบายที่ตั้งเอาไว้ ประชาชนรอดูผลงานที่รัฐบาลอยู่

spacebar_big_city_east_chonburi_starts_wages_400_baht_SPACEBAR_Photo05_9429086915.jpg

วงกรต อินดี ผู้ใช้แรงงานอีกราย กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ค่าแรงขึ้น 400 บาท เพราะค่าครองชีพเมืองพัทยาสูงขึ้น สินค้า อาหารก็มีราคาที่สูงขึ้น อยากให้รัฐบาลเร่งปรับเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานระดับล่างมีค่าครองชีพที่ดีขึ้น

spacebar_big_city_east_chonburi_starts_wages_400_baht_SPACEBAR_Photo06_f1223681a6.jpg

ข้อมูลแรงงานจังหวัดชลบุรี นับจากเกณฑ์ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,723,396 คน แบ่งเป็นแรงงานนอกระบบ จำนวน 327,042 คน ผู้มีงานทำ จำนวน 1,207,298 คน ผู้ว่างงาน 9,220 คน 

แรงงานต่างด้าวที่เป็นนักลงทุน มาตรา 59 (ทั่วไป) จำนวน 16,128 คน มาตรา 62 (BOI) จำนวน 1,960 คน มาตรา 63/1(ชนกลุ่มน้อย) จำนวน 2,382 คน รวมทั้งสิ้น 20,470 คน

แรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ 1.กัมพูชา จำนวน 55,558 คน 2.เมียนมา จำนวน 76,266 คน 3.ลาว จำนวน 13,439 คน 4.เวียดนาม 494 รวมทั้งสิ้นจำนวน 145,757 คน จำนวนนายจ้าง 13,098 คน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์