พลิกโฉมประเทศไทย ด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม

21 ก.พ. 2568 - 06:17

  • ทีดีอาร์ไอ เผย บทบาทของเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในประเทศไทย สำคัญ ยุคดิจิทัล

  • ชี้ ธุรกิจแพลตฟอร์ม ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่ม Gig Worker

  • รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับมหภาค

tdri-thailand-platform-economy-digital-SPACEBAR-Hero.jpg

วงเสวนา “นิยามใหม่ของสังคม: พลิกโฉมประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ชี้ถึงบทบาทเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในประเทศไทย อิทธิพลใหญ่กับการทำงานในอนาคต และรวมถึงสินค้า-บริการหลากหลาย ที่เราเห็นในปัจจุบัน ซึ่งภาครัฐควรมีส่วนช่วยในการสร้าง และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากแพลตฟอร์มดิจิทัลได้มากขึ้น

tdri-thailand-platform-economy-digital-SPACEBAR-Photo01.jpg

ทั้งนี้ ในวงเสวนา ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมเวทีด้วยนั้น มีการยกกรณีศึกษาของแอปพลิเคชัน Grab ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ครอบคลุมหลายบริการ โดยพบว่าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1.79 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของ GDP พร้อมนำเสนอแนวทางในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มของหน่วยงานภาครัฐโดยมุ่งเน้นการรักษาสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Mr. Keith Detros จาก Tech For Good Institute (TFGI) กล่าวถึงบทบาทของแพลตฟอร์มดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีต่อภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (หรือ MSME) ใน 4 มิติ ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) การขยายขนาดธุรกิจ (Scale) การส่งเสริมการเข้าถึงโอกาส (Accessibility) และการปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย (Agility)

tdri-thailand-platform-economy-digital-SPACEBAR-Photo02.jpg

แพลตฟอร์มดิจิทัล ประโยชน์ 3 ด้าน

กล่าวได้ว่า แพลตฟอร์มดิจิทัล ยังสร้างประโยชน์ให้กับสังคมใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 
1. เพิ่มความรวดเร็วและการเข้าถึงได้มากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือในช่วงการระบาดของโควิด-19 แพลตฟอร์มดิจิทัล เป็นช่องทางให้การทำงานต่าง ๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้ ทั้งเชื่อมโยงช่วยเหลือจากภาครัฐสู่ประชาชน และการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจและลูกค้า 
2. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาส เช่น การเป็นตัวกลางจับคู่การจ้างงาน (แก้ข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาดงาน) อีกทั้งเป็นช่องทางในการเข้าถึงความรู้ เพิ่มทักษะต่าง ๆ และ 
3. สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสนับสนุนความยั่งยืนทางสังคมและธุรกิจ เช่น การเข้าถึงวัตถุดิบและการขนส่งที่มีคาร์บอนต่ำ หรือเชื่อมโยงให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้โดยง่าย

“แพลตฟอร์มดิจิทัลไม่ใช่แค่เครื่องมือทางธุรกิจ แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงภาครัฐ เอกชน และ SMEs เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และการเข้าถึงบริการที่หลากหลาย การพัฒนาแพลตฟอร์มเหล่านี้อย่างเหมาะสมจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจและส่งเสริมนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยทั้งภาครัฐ และเอกชนต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมเทคโนโลยีและการคุ้มครองผู้ใช้บริการ โดยรัฐสามารถสนับสนุนผ่านนโยบายที่พัฒนาทักษะดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ภาคเอกชนมีบทบาทในการสนับสนุน SMEs และร่วมมือกับภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง”

Mr.Keith กล่าว

Mr.Keith มีข้อเสนอเชิงนโยบายด้วยว่า ภาครัฐควรมีส่วนช่วยในการสร้าง และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากแพลตฟอร์มดิจิทัลได้มากขึ้น ขณะเดียวกันควรขยายการให้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐแก่ประชาชน และใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการแบ่งปันข้อมูล เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลในการส่งเสริมการตัดสินใจ และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมใหม่สำหรับภาคเอกชนนั้น ควรทำงานเชิงรุกร่วมกับภาครัฐ เพื่อช่วยมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และมีบทบาทในการสนับสนุนกลุ่ม MSMEs เพื่อให้กลุ่มธุรกิจนี้สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ควรมีส่วนร่วมในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลส่งเสริมนโยบายภาครัฐ เช่น การสร้างแพลตฟอร์มในการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ

แพลตฟอร์มดิจิทัลหนุนเศรษฐกิจ เปิดกรณีศึกษา Grab และความท้าทายของแพลตฟอร์มดิจิทัล แนะภาครัฐ สร้างสมดุลสนับสนุน-กำกับดูแล แพลตฟอร์มต่างๆ

tdri-thailand-platform-economy-digital-SPACEBAR-Photo03.jpg

ด้าน ดร.นณริฎ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสจากทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า คณะผู้วิจัยได้ศึกษาผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์มดิจิทัลกรณีศึกษาแอปพลิเคชัน Grab ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น การเดินทาง สั่งอาหาร และขนส่ง ซึ่งมีบทบาในการสร้างผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับเศรษฐกิจไทย รวมถึงการสร้างรายได้และโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและแรงงานอิสระ

“ในปี 2566 กิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวงจรธุรกิจของ Grab ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) ซึ่งมีมูลค่า 1.79 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไทย ช่วยสร้างงานกว่า 280,000 ตำแหน่ง และรายได้ครัวเรือนราว 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระดับมหภาค นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยานยนต์ พลังงาน การสื่อสาร การเงิน อาหาร และค้าปลีก โดยสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ในวงกว้าง”

ดร.นณริฎ กล่าว

ทั้งนี้ ในวงเสวนา ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมเวทีด้วยนั้น มีการยกกรณีศึกษาของแอปพลิเคชัน Grab ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ครอบคลุมหลายบริการ โดยพบว่าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1.79 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของ GDP พร้อมนำเสนอแนวทางในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มของหน่วยงานภาครัฐโดยมุ่งเน้นการรักษาสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Mr. Keith Detros จาก Tech For Good Institute (TFGI) กล่าวถึงบทบาทของแพลตฟอร์มดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีต่อภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (หรือ MSME) ใน 4 มิติ ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) การขยายขนาดธุรกิจ (Scale) การส่งเสริมการเข้าถึงโอกาส (Accessibility) และการปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย (Agility)

รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) กล่าวว่า การพัฒนาทางเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ตลอดจนการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มดิจิทัล ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทิศทาง และรูปแบบการทำงานในอนาคตเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานอิสระหรือ Gig Worker ที่มีแนวโน้มเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะคน Gen Y ในช่วงปลาย และ Gen Z เนื่องจากตอบโจทย์ในเรื่องความยืดหยุ่น ความเป็นอิสระ รวมทั้งสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทำให้คนอยากแสวงหารายได้เพิ่มเติม ซึ่งรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปนี้ส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมหภาค จึงถือเป็นโจทย์สำคัญที่ภาครัฐต้องเตรียมความพร้อมและกำหนดนโยบายให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

tdri-thailand-platform-economy-digital-SPACEBAR-Photo04.jpg

“ทิศทางการทำงานในโลกอนาคตเปลี่ยนไปมาก ถ้าไม่เตรียมความพร้อม ให้เหมือนกันนานาประเทศที่เตรียมตัวไปค่อนข้างมากแล้ว โดยเฉพาะภาคการศึกษาภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน ก็คงจะไม่ทันต่อเทรนด์ของโลก ซึ่งมีทั้งในเรื่องของการอัพสกิล รวมทั้งนโยบายแรงงานที่ต้องออกมาตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้จากการสำรวจตำแหน่งงานใหม่เกิดขึ้นพบว่า มี 170ล้านตำแหน่งทั่วโลก แต่จะมีตำแหน่งงานที่หายไป 92ล้านตำแหน่ง ซึ่งพบว่ามีจำนวนตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าลดลง ดังนั้นต้องตั้งโจทย์ถามภาครัฐว่า ภาครัฐได้เตรียมความพร้อมไว้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะตำแหน่งงานใหม่ที่เกิดขึ้นค่อนข้างมากนี้เชื่อว่าเป็นตำแหน่งงานที่อยู่บนแพลตฟอร์มจำนวนมาก”

รศ.ดร.ดนุวัศ กล่าว

ขณะที่ความท้าทายของแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น ดร.นณริฎ กล่าวว่า การเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลทำให้กฎระเบียบในเรื่องของการกำกับดูแลเปลี่ยนแปลงไป เช่นการจัดการกับสินค้าไม่ได้คุณภาพ หรือสินค้าไม่ตรงปก โดยล่าสุดมีมาตรการหน่วงเงิน เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งให้สิทธิผู้บริโภคได้เปิดสินค้าตรวจสอบความถูกต้องก่อน โดยถ่ายคลิปไว้เป็นพยานหลักฐาน และหากพบว่าสินค้าไม่ตรงปก สามารถหยุดการจ่ายเงินให้กับร้านค้าเอาไว้ก่อนได้ และส่งตีคืนได้ภายใน 7 วัน ซึ่งถือเป็นมาตรการใหม่ที่อุดช่องว่างของปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการสร้างสมดุลระหว่างการสนับสนุนภาคธุรกิจ กับการกำกับดูแลแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งภาครัฐต้องกำหนดบทบาทให้ดี

tdri-thailand-platform-economy-digital-SPACEBAR-Photo05.jpg

นายศุภโชค จันทรประทิน จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการของธุรกิจแพลตฟอร์ม โดยเผยว่าปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศใช้ กฎหมาย DPS (Digital Platform Service) หรือพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมนวัตกรรม

“การกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ดีต้องรักษาสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการ และการส่งเสริมนวัตกรรมควบคู่กันไป หน่วยงานภาครัฐจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์ที่โปร่งใส เป็นธรรม และเอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่หรือสตาร์ทอัพไทยที่ต้องการขยายตลาดไปสู่ระดับสากล ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญของเราไม่ใช่แค่การควบคุม แต่เป็นการสร้างระบบนิเวศที่ทุกฝ่ายสามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน”

นายศุภโชค กล่าว

tdri-thailand-platform-economy-digital-SPACEBAR-Photo06.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์