ล่าสุด ‘Everythinng Everywhere All at Once’ ได้กวาดรางวัลจากออสการ์กันไปชุดใหญ่ไปถึง 7 สาขา ทั้งรางวัล ‘ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม’, ‘บทภาพยนตร์ดั้งเดิม’, ‘ผู้กำกับยอดเยี่ยม’, ‘นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม’, ‘นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม’, ‘นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม’ และ ‘ตัดต่อยอดเยี่ยม’ ที่งานนี้นอกจากจะการันตีความเก๋าด้วยรางวัลแล้ว เบื้องหลังการสร้างก็ยังเจ๋งมากๆ อีกด้วย
และสำหรับวันนี้เราจึงอยากพาทุกท่านไปพบกับ ‘10 เรื่องราวเบื้องหลังก่อนจะมาเป็นซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส’ ถ้าพร้อมแล้วก็กระโดดข้ามเวิร์สไปพร้อมกันเลย!!
และสำหรับวันนี้เราจึงอยากพาทุกท่านไปพบกับ ‘10 เรื่องราวเบื้องหลังก่อนจะมาเป็นซือเจ๊ทะลุมัลติเวิร์ส’ ถ้าพร้อมแล้วก็กระโดดข้ามเวิร์สไปพร้อมกันเลย!!
1. มือฮ็อตด็อกนั้นเป็นถุงมือเทียม ไม่ใช่ CG
‘แดเนียล ไชเนิร์ท (ผู้กำกับ)’ ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการสร้างถุงมือฮ็อตด็อกขึ้นมาโดยไม่ใช้ CG ก็เพื่อทำให้การถ่ายทำสนุกและง่ายขึ้น เพราะนักแสดงจะมาสามารถรู้ได้ว่าพวกเขากำลังแสดงอะไร และควรมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อสิ่งนั้น
2. ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้สมาชิกในตัดต่อเพียง 5 คน
พวกเขาได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการตัดต่อและทำ CG จากคลิปในยูทูป โดยได้สร้างสรรค์ผลงานเกือบ 80% กันภายในห้องนอนของตัวเอง ช่วงที่โควิด 19 ระบาดหนัก
3. เสื้อผ้าของบทบาทมนุษย์ป้าเดียร์เดร (เจ้าหน้าที่สรรพากรสุดโหด) ถูกเลือกเองโดย ‘เจมี ลี เคอร์ติส’
ซึ่งชุดเหลืองในตำนานได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพถ่ายสต็อกของเจ้าหน้าที่ IRS ตัวจริง และเจมียังได้อ้างอิงคาแรกเตอร์ของตัวละครมาจากภาพยนตร์ที่เธอเคยแสดงเรื่อง ‘Daddy and Them (2002)’

4. บทสนทนาเงียบจากฉากก้อนหิน ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดย ‘มิเชล โหย่ว’
ในจักรวาลที่สองแม่ลูกเอเวลีนและจอยเป็นก้อนหิน เดิมทีแล้วฉากนี้จะมีการสนทนาที่เป็นบทพูดตลอดทั้งฉากแต่มิเชล โหย่ว ได้เสนอไอเดียให้ฉากนี้เงียบสนิทเพราะคิดว่ามันจะสามารถทำงานได้ดีขึ้นหากมีเพียงคำบรรยาย โดยเธออธิบายว่าฉากนี้จะให้ความรู้สึกเหมือน ‘เซนการ์เดน’ หรือ ‘สวนหิน’ โดยมีแนวคิดในการยึดมั่นซึ่งสงบสันโดษ เป็นสวนแบบจินตนาการ หรือการสมมุติ ที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาเชิงนามธรรม

5. ในจักรวาลดาราที่เอเวลินและเวย์มอนด์ได้กลับมาคุยกันอีกครั้งนั้น ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ขึ้นหิ้งของหว่องกาไว เรื่อง ‘In the Mood for Love (2000)’


6. แรงบันดาลใจของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้แก่เรื่อง ‘The Matrix (1999)’, ‘Kill Bill (2003)’, ‘It's a Wonderful Life (1946)’ และผลงานภาพยนตร์ทั้งหมดของ ‘มิเชล โหย่ว’


7. รูปลักษณ์อพาร์ตเมนต์ของครอบครัวเอเวลินได้รับแรงบันดาลใจจากบ้านปู่ย่าของผู้กำกับ ‘แดเนียล กวัน’
เรื่องราวส่วนหนังของภาพยนตร์เกิดขึ้นในห้องคับแคบของเอเวอลินและเวย์มอนด์ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่มักอัดแน่นชั้นวางของ สิ่งของ โต๊ะ และของประดับตกแต่งที่ดูเหมือนหลุดมาจากอพาร์ตเมนต์ของชาวจีน ให้ความรู้สึกถึงความเป็นเอเชีย นั่นก็เป็นเพราะแดเนียล กวัน จำลองสถานที่นี้มาจากบ้านที่เขาเติบโตมาในช่วงวัยเด็ก
8. ภาพยตร์ใช้เวลาถ่ายทำน้อยกว่า 40 วัน
ปกติิภาพยนตร์แนวไซไฟมักใช้เวลาการถ่ายทำนับหลายต่อหลายเดือน และมีการถ่ายซ้ำถ่ายแก้แบบไม่รู้จบสิ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้กำกับสองแดเนียลได้ทำในสิ่งที่แทบเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ โดยพวกเขาได้ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่องในระยะเวลาไม่เกิน 40 วัน!9. ภาพยนตร์มักจะใช้ชื่อปลอมในระหว่างการถ่ายทำเพื่อเก็บรายละเอียดไว้เป็นความลับ
สำหรับชื่อที่ใช้เรียกภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ‘A Woman Tries to Do Her Taxes’10. เฉินหลงคือตัวเลือกแรกของผู้กำกับ
เนื่องจากภาพยตร์์มีฉากที่ใช้ศิลปะการต่อสู้มากมาย จึงไม่แปลกที่สองแดเนียลจะเลือกให้เฉินหลงเป็นตัวเลือกแรกในการแสดงนำ แต่ในสุดท้ายเฉินหลงได้ให้คำปฏิเสธไป บทบาทตัวละครหลักจึงได้รับการปรับแต่งใหม่ให้กลายเป็นของมิเชล โหย่ว