‘1984’ วรรณกรรมแนวดิสโทเปียของ จอร์จ ออร์เวลล์ (Greorge Orwell) ที่บอกเล่าเรื่องราวเผด็จการที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนเพื่อทำสงคราม ตอนนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในรายชื่อหนังสือขายดีในประเทศรัสเซียในปี 2022 บนเว็บไซต์ขายหนังสือออนไลน์ชื่อ LitRes
1984 ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1949 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาซีเยอรมันพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็นในฝั่งตะวันตก กับการขึ้นมามีอำนาจของสหภาพโซเวียต หนังสือ 1984 ถูกแบนในสหภาพโซเวียตจนถึงปี 1988 เนื่องจากมีเนื้อหาที่เหมาะสมต่อกลุ่มผู้มีอำนาจในสหภาพ
จอร์จ ออร์เวลล์ เคยอธิบายเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ว่า เขามีใช้ภาพลักษณ์ของความเป็นเผด็จการจาก โจเซฟ สตาลิน (Josef Stalin) มาเป็นแบบในการเขียนงาน หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Big Brother ตัวละครในเรื่องที่สามารถสอดส่องทุกพฤติกรรมของคนในเมือง และมอบความเชื่อว่า “สงครามคือสันติภาพ อิสรภาพคือความเป็นทาส”
1984 ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1949 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาซีเยอรมันพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็นในฝั่งตะวันตก กับการขึ้นมามีอำนาจของสหภาพโซเวียต หนังสือ 1984 ถูกแบนในสหภาพโซเวียตจนถึงปี 1988 เนื่องจากมีเนื้อหาที่เหมาะสมต่อกลุ่มผู้มีอำนาจในสหภาพ
จอร์จ ออร์เวลล์ เคยอธิบายเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ว่า เขามีใช้ภาพลักษณ์ของความเป็นเผด็จการจาก โจเซฟ สตาลิน (Josef Stalin) มาเป็นแบบในการเขียนงาน หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Big Brother ตัวละครในเรื่องที่สามารถสอดส่องทุกพฤติกรรมของคนในเมือง และมอบความเชื่อว่า “สงครามคือสันติภาพ อิสรภาพคือความเป็นทาส”

บางคนเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการพูดแทนถึงสิ่งที่ วราดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีรัสเซีย ทำอยู่ในตอนนี้ โดยเขากำจัดคู่แข่งทางการเมือง รวมถึงสื่อต่างๆ ออกจากสาธารณะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หากมานึกดูดีๆ ก็ไม่ต่างจากสิ่งที่ สตาลิน หรือ Big Brother ทำเท่าไรนัก
การสั่งบุกโจมตีของปูตินในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้สร้างกฎใหม่ขึ้นมา นั่นคือผู้ใดที่เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสงครามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ ถือว่าเป็นอาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม นักแปลหนังสือ 1984 ฉบับภาษารัสเซีย เห็นโลกคู่ขนานแบบหนึ่งที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ
“ออร์เวลล์คงไม่ได้คิดว่าฝันร้ายจะมาถึง กล่าวคือ เผด็จการเสรีนิยม (Liberal Totalitarianism) จะเข้าสู่โลกตะวันตก” ดารยา เซโลวัลนิโควา (Darva Tselovalnikova) นักแปลหนังสือ กล่าว
การที่หนังสือ 1984 ขายดี อาจหมายความว่าชาวรัสเซียรุ่นใหม่อาจไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่รัฐบาลรัสเซียทำอยู่ในตอนนี้ หรือเป็นการขยายภาพจำของเผด็จการหรืออำนาจนิยมรุ่นเก่าให้เห็นชัดมากขึ้น มาดูกันต่อไปว่า 1984 จะกลายเป็นนวนิยายที่ถูกแบนอีกครั้งหรือไม่
การสั่งบุกโจมตีของปูตินในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้สร้างกฎใหม่ขึ้นมา นั่นคือผู้ใดที่เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสงครามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ ถือว่าเป็นอาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม นักแปลหนังสือ 1984 ฉบับภาษารัสเซีย เห็นโลกคู่ขนานแบบหนึ่งที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ
“ออร์เวลล์คงไม่ได้คิดว่าฝันร้ายจะมาถึง กล่าวคือ เผด็จการเสรีนิยม (Liberal Totalitarianism) จะเข้าสู่โลกตะวันตก” ดารยา เซโลวัลนิโควา (Darva Tselovalnikova) นักแปลหนังสือ กล่าว
การที่หนังสือ 1984 ขายดี อาจหมายความว่าชาวรัสเซียรุ่นใหม่อาจไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่รัฐบาลรัสเซียทำอยู่ในตอนนี้ หรือเป็นการขยายภาพจำของเผด็จการหรืออำนาจนิยมรุ่นเก่าให้เห็นชัดมากขึ้น มาดูกันต่อไปว่า 1984 จะกลายเป็นนวนิยายที่ถูกแบนอีกครั้งหรือไม่