WAREHOUSE นิทรรศการที่ทำให้เราตระหนักถึงแรงงานที่มองไม่เห็น

15 กุมภาพันธ์ 2566 - 03:46

WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Thumbnail
  • ‘WAREHOUSE’ นิทรรศการของ BANGKOK CITY CITY ที่มีมากกว่าแค่การจัดแสดงผลงานของศิลปินแต่จะทำให้เราได้ตระหนักถึง ‘แรงงานที่มองไม่เห็น’

‘WAREHOUSE’ คือโปรเจ็กต์ล่าสุดของ BANGKOK CITY CITY GALLERY ไม่ใช่แค่การจัดแสดงผลงานของศิลปิน แต่เป็นงานที่จะทำให้เราได้ตระหนักถึง ‘แรงงานที่มองไม่เห็น’ ซึ่งก็คือทีมงานที่อยู่เบื้องหลังแต่ละงาน 
 
BANGKOK CITY CITY GALLERY ได้นำผลงานของศิลปินกว่า 10 ชีวิต ที่เคยจัดแสดงในี่แกลเลอรีแห่งนี้ออกจาก ‘คลัง’ (Warehouse) ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บ ‘ศิลปะ’ หรือ ‘ข้อมูล’ มาจัดวางใหม่ในพื้นที่เปิด เพื่อนำเสนอข้อมูล เรื่องราว และกระบวนการทำนิทรรศการแต่ละครั้ง ไปจนถึงกิจวัตรประจำวันของทีมงานที่คอยดูแลจัดการ ‘หลังบ้าน’ 
ภายในงาน ผู้ชมจะได้พบกับทีมงานที่พร้อมจะอภิปรายเพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นถึงความทุ่มเทของสมาชิกผู้อยู่เบื้องหลัง กว่าแต่ละนิทรรศการจะออกมาเพื่อแสดงผลงานได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้น ต้องผ่านขั้นตอนอะไรมากมาย เสมือนการสร้างงานศิลปะที่ซ้อนงานศิลปะอีกทีหนึ่ง 
 
เมื่อเข้าไปถึงงานทุกอย่างเป็นสีขาวโพลนสะอาดตา ภายหลังเราทราบมาว่าคือความตั้งใจจัดของทีมงาน เพราะในแต่ละนิทรรศการนั้นมีการวางคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกันไป และในครั้งนี้ผลงานของศิลปินถูกวางอยู่ในพื้นที่เปิด ทำให้เราสามารถเข้าไปดูงานในระยะประชิดได้ ชวนให้รู้สึกราวกับอยู่ในสรวงสวรรค์ที่ต้องระวังไม้ระวังมือ  
 
โดยผลงานของศิลปินที่ได้นำมาแสดง คือ Alex Face, เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, จุฬญาณนนท์ ศิริผล, ธนัช ตั้งสุวรรณ, ดุษฎี ฮุนตระกูล, Ghost, กฤษณะ อิ่มเอมกมล, วงดนตรี JPBS, กรกฤต อรุณานนท์ชัย, กรกฤช เจียรพินิจนันท์, มิติ เรืองกิติยา, นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์, นวิน หนูทอง, อรวรรณ อรุณรักษ์, เต้ ภาวิต และ ธนัช ธีระดากร
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5cbXlWorjAPHZqxQF1qyXg/4fe72c57819c10eed339dd5fa5e4da14/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/waJ5comRbJZTvNe644nGV/18ec22c9f62d9a18787154708039edc8/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo03
สิ่งที่น่าสนสำหรับผู้เขียนนั้นก็คงหนีไม่พ้นผลงานของ ‘Alex Face’ กราฟฟิตี้ชาวไทย ที่เรามักจะคุ้นเคยกับผลงานของเขาที่มีให้เห็นตามกำแพงหรือบนตึกตามท้องถนน และเขายังเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นความคิดของชาวเมือง ผู้ส่งผลต่องานสตรีทอาร์ตในประเทศไทยให้งอกงาม และยังเคยไปแสดงผลงานที่ โตเกียว, โซล, ไทเป, จาการ์ตา, ออสโล, อัมสเตอร์ดัม  
 
ผลงานที่นำมาจัดแสดงใน Warehouse ครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นงานที่จัดแสดงในงานครบรอบ 20 ปีของ Alex Face และงานนี้ยังมีวิดีโองานกราฟฟิตี้ที่ศิลปินได้ไปเพ้นท์กำแพงตึกโบราณ ณ จ.ภูเก็ต ก่อนโดนสั่งให้ลบ ทำให้เราได้ตั้งคำถามถึงศิลปะแบบสตรีทนั้นมีคุณค่ามากพอสำหรับทุกคนไหม และที่ย้อนแย้งก็คือ หลังจากนั้นภูเก็ตก็เต็มไปด้วยงานกราฟฟิตี้ซึ่งกลายเป็นโลเคชันที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมหาศาล 
 
และครั้งนี้เราไม่ได้แค่เพียงเห็นผลงานเบื้องหน้าของเขา แต่เรายังเห็นเบื้องหลังก่อนที่ผลงานนี้จะถูกนำมาเสนอต้องผ่านขั้นตอนอีกมากมาย โดยตัวผลงานถูกใส่ไว้ในกล่องไม้ขนาดใหญ่ หรือถูกวางไว้บนตะแกรงไม้ ที่สร้างขึ้นมาจากทีมงาน ณ แกลเลอรี นอกจากนี้เรายังสามารถพูดคุยกับเหล่าทีมงานเพื่อสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของผลงานศิลปะแต่ละชิ้น รวมถึงขั้นตอนและเบื้องหลังการทำงานต่างๆ ได้ด้วย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3AzgatBtVLWaiL9bELKh3Y/2d3337ac2c37148c84ba974f6222566b/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo04
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/N3HpgKWE7VPbWNA7eEXr3/779c4fc5d4dcee4332a3713e4af5a22a/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo05
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6bKRirpw0eutqN1fGOlsJw/7b89c6b8aad9ce9a733aefefd5fac507/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo06
อีกหนึ่งผลงานที่เตะตาจนไม่พูดถึงไม่ได้ คือภาพกางเกงยีนส์ในวงไฟที่ลุกโชน ห้อยลงมาจากเพดานกลางห้อง เป็นผลงานของ กรกฤต อรุณานนท์ชัย (Korakrit Arunanondchai) ศิลปินไทยที่มักจะเซอร์ไพรส์ผู้ชมด้วยการนำเสนอผลงานสุดล้ำผ่านเพอร์ฟอร์แมนซ์และมิกซ์มีเดียที่หลากหลาย เขามักจะเลือกใช้ยีนส์และไฟในการสื่อสารกับผู้ชม เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยปราศจากการนับถือศาสนาและวัฒนธรรมใดก็ตาม
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7F09BhcRIzHYionoocejxk/61267fd2fb71341e32fbb71b8a00b01c/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo07
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/75OeyoeNzS086V16gGD9Zt/cc6590c5f3aca7277ace228d105e9c5f/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo08
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6MuCT8ntaHfXaXE5aaTyRo/b62b42b9ec8585214dbb0e3ed791bab5/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo09
อีกหนึ่งผลงานที่ดึงดูดสายตาของผู้เขียนคือ ภาพถ่ายของ มิติ เรืองกฤตยา ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนความเป็นเมืองและย่านห่างไกลความเจริญ โดยภาพที่คิวเรเตอร์ของงานนี้เลือกมานำมาเสนอคือผลงานภาพถ่ายที่จนดูคล้ายกับภาพวาด ด้านนอกที่สว่างกว่าด้านใน แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของแสงและสีที่ชัดเจน ราวกับจะสื่อว่าพื้นที่ใดที่มีถนนตัดผ่านพื้นที่นั้นจะนำมาสู่ความเจริญ ดังเช่นภาพนี้ ที่ลึกเข้าไปภายในยังเป็นโทนแสงที่ค่อนข้างมืดและภายนอกที่มีถนนตัดผ่านนั้นค่อนข้างสว่าง โดยผลงานที่ผ่านมาของเขาหลายชุดมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้อยู่อาศัยในเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่เป็นบ้านของเขา เขาเฝ้าติดตามความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของเมืองนี้และครุ่นคิดต่อมันอยู่เสมอ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5ry1spNFsmMOj6xT0Mljkv/4f90af016f448c34c4ba1344726662e0/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo10
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4XJgUDlqSy3ZEDJQgIq9bF/7d14f90f88ea65c342be71aa9a03e315/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo11
และหากพูดถึงสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในงานนี้ ที่เรียกว่าไม่ได้จะหาดูกันง่ายๆ ก็คือเบื้องหลังของการจัดการงานศิลป์เหล่านี้ ที่สรรค์สร้างโดย ‘แรงงานที่มองไม่เห็น’ แต่ครั้งนี้กลับมาทำงานให้ดูกันแบบเปิดเผย พร้อมอภิปรายถึงแต่ละขั้นตอน โดยจุดประสงค์ก็เพื่อสื่อสารให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมกับทางแกลเลอรี่ และกว่าจะมาเป็นนิทรรศการแสดงงานศิลปะในแต่ละชิ้นนั้นมีขั้นตอนอื่นๆ พร้อมกับผู้คนที่ทุ่มเทด้วยใจรักเพื่อให้แต่ละนิทรรศการเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เราได้ตระหนักถึง แรงงานอีกมากมายที่เรามองไม่เห็น ในทุกอุตสาหกรรมที่ต้องมีผู้อยู่เบื้องหลังเพื่อสร้างสรรค์ให้งานนั้นๆ สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/28Ofo97BVbfKVf5eCtdION/0fa6c28c34379d182bf0b924f3b85caf/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo12
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5RER3J4OgOipsBKGHlvKYc/41ed1a54353002942d03620fa5b87090/WAREHOUSE-BANGKOK-CITY-CITY-GALLERY-SPACEBAR-Photo13
ผลงานที่น่าสนใจไม่ได้มีอยู่เพียงเท่านี้ เพราะยังมีผลงานของศิลปินคนอื่นๆ ภายในงานที่ถูกเลือกมานำเสนอให้ได้รับชมกัน และเราอยากเชิญชวนให้ทุกท่านไปสัมผัสกับนิทรรศการ ‘WAREHOUSE’ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โดยแกลเลอรี่เปิดให้บริการเฉพาะวันพุธ, พฤหัส, ศุกร์ และเสาร์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์