
หาก The Grand Budapest Hotel (2014) และ The French Dispatch (2021) เป็นภาพยนตร์ที่ เวส เอนเดอสัน (Wes Anderson) บอกเล่าถึงความประทับใจในสิ่งที่เขาหลงใหลอย่าง ‘ประวัติศาสตร์ศิลป์’ หรือความงดงามของสื่อสิ่งพิมพ์ ทำให้ผู้ชมรับรู้ได้ถึงความประณีต คมคาย ชวนหลงใหล ราวกับการอ่านจดหมายรักที่ผู้เขียนตั้งใจจรดทุกตัวอักษร Asteroid City (2023) ก็คงเป็นจดหมายสั่งลาที่เขียนออกมาได้สวยงามที่สุดฉบับหนึ่ง หากผู้เขียนรู้ตัวว่าสักวันจะต้องหายไปจากจักรวาลนี้
เพราะแม้ภาพยนตร์ ไซ-ไฟ เรื่องนี้ จะยังคงความเนี้ยบของงานสร้างหรือองค์ประกอบต่างๆ ทางด้านวิชวลเหมือนงานเรื่องอื่นๆ แต่ในด้านของสารที่จะสื่อนั้นกลับเป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความอลหม่าน วุ่นวาย อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของทั้งวิทยาศาสตร์ ศาสนา ประวัติศาสตร์ การเมือง ศิลปะ จักรวาล และชีวิต
Asteroid City บอกเล่าเรื่องราวของละครเวทีที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อภาพยนตร์ โดยฉากของละครเวทีเกิดขึ้นที่เมืองสมมุติแห่งหนึ่งบนภูมิภาคทะเลทรายของอเมริกาในยุค 50s ซึ่งดำเนินเรื่องผ่านตัวละครพ่อผู้โดดเดี่ยว (เจสัน ฟรานเชสโก ชวาร์ตซมัน) ที่ขับรถพาลูกทั้ง 4 ของเขาข้ามประเทศเพื่อไปหาตาของเด็กๆ (ทอม แฮงค์ส) เพราะจุดประสงค์บางอย่าง ก่อนที่รถจะมาหยุด ณ เมืองแห่งอุกกาบาต โดยขณะนั้นมีการจัดประชุม Junior Stargazer/Space Cadet ซึ่งเป็นการแข่งขันทางวิชาการของนักเรียนและผู้ปกครองจากทั่วสารทิศ
โดยภาพยนตร์ตลอดทั้งเรื่อง ถูกร้อยเรียงโดยใช้วิธีนำฉากต่างๆ ในละครเวทีเรื่องดังกล่าวมาตัดสลับกับเบื้องหลังงานสร้าง คลอไปกับคำบรรยายจาก ‘ผู้เล่า’ (ไบรอัน แครนสตัน) ที่มีสถานะชวนฉงนในละครเวทีเรื่องนี้ ซึ่งในพาร์ทเบื้องหลังของละครเวที ภาพยนตร์ยังปรากฏฉายให้เห็น ผู้เขียนบทละคร ผู้กำกับละคร รวมไปถึงเรื่องราวอีกด้านของนักแสดงแต่ละคน สิ่งที่น่าฉงนไปกว่าผู้เล่าคือท่าทีของฉากเบื้องหลังที่ควรจะเป็นพาร์ทภาพยนตร์กลับถูกถ่ายทอดออกมาราวกลับละครเวที แต่พาร์ทของละครเวทีถูกถ่ายทอดออกมาแบบภาพยนตร์ ซึ่งเทคนิคการถ่ายทอดดังกล่าวนั้นก็ส่งเสริมการส่งสารในช่วงบทสรุปได้อย่างแยบคาย
เพราะแม้ภาพยนตร์ ไซ-ไฟ เรื่องนี้ จะยังคงความเนี้ยบของงานสร้างหรือองค์ประกอบต่างๆ ทางด้านวิชวลเหมือนงานเรื่องอื่นๆ แต่ในด้านของสารที่จะสื่อนั้นกลับเป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความอลหม่าน วุ่นวาย อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของทั้งวิทยาศาสตร์ ศาสนา ประวัติศาสตร์ การเมือง ศิลปะ จักรวาล และชีวิต
Asteroid City บอกเล่าเรื่องราวของละครเวทีที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อภาพยนตร์ โดยฉากของละครเวทีเกิดขึ้นที่เมืองสมมุติแห่งหนึ่งบนภูมิภาคทะเลทรายของอเมริกาในยุค 50s ซึ่งดำเนินเรื่องผ่านตัวละครพ่อผู้โดดเดี่ยว (เจสัน ฟรานเชสโก ชวาร์ตซมัน) ที่ขับรถพาลูกทั้ง 4 ของเขาข้ามประเทศเพื่อไปหาตาของเด็กๆ (ทอม แฮงค์ส) เพราะจุดประสงค์บางอย่าง ก่อนที่รถจะมาหยุด ณ เมืองแห่งอุกกาบาต โดยขณะนั้นมีการจัดประชุม Junior Stargazer/Space Cadet ซึ่งเป็นการแข่งขันทางวิชาการของนักเรียนและผู้ปกครองจากทั่วสารทิศ
โดยภาพยนตร์ตลอดทั้งเรื่อง ถูกร้อยเรียงโดยใช้วิธีนำฉากต่างๆ ในละครเวทีเรื่องดังกล่าวมาตัดสลับกับเบื้องหลังงานสร้าง คลอไปกับคำบรรยายจาก ‘ผู้เล่า’ (ไบรอัน แครนสตัน) ที่มีสถานะชวนฉงนในละครเวทีเรื่องนี้ ซึ่งในพาร์ทเบื้องหลังของละครเวที ภาพยนตร์ยังปรากฏฉายให้เห็น ผู้เขียนบทละคร ผู้กำกับละคร รวมไปถึงเรื่องราวอีกด้านของนักแสดงแต่ละคน สิ่งที่น่าฉงนไปกว่าผู้เล่าคือท่าทีของฉากเบื้องหลังที่ควรจะเป็นพาร์ทภาพยนตร์กลับถูกถ่ายทอดออกมาราวกลับละครเวที แต่พาร์ทของละครเวทีถูกถ่ายทอดออกมาแบบภาพยนตร์ ซึ่งเทคนิคการถ่ายทอดดังกล่าวนั้นก็ส่งเสริมการส่งสารในช่วงบทสรุปได้อย่างแยบคาย

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางตัวละครอันจัดจ้าน (ที่ล้วนรับบทบาทโดยดารายอดฝีมือแห่งยุค) เหตุการณ์สุดแสนอลหม่านบนเซ็ตติ้งสุดแสบสัน และบทสนทนาชวนหัวอันไร้ที่มาที่ไป อีกสิ่งที่ผู้ชมทุกคนน่าจะสัมผัสได้จากภาพยนตร์เรื่องที่ 11 ของเวสเรื่องนี้ คือ ‘ความโศกเศร้า’ ความเคว้งคว้าง? บางอย่าง ราวกับมนุษย์คนหนึ่งที่ยืนบน? ทางตันบางอย่างของชีวิต การชมภาพยนตร์เรื่องนี้จึงให้ความรู้สึก คล้ายกับคืนเข้านอนของคุณในบางคืนที่จู่ๆ ความกว้างใหญ่อันไร้สิ้นสุดของจักรวาลก็บีบให้มนุษย์ตัวเล็กๆ แบบเรา เกิดความกลัวต่อการมีตัวตนของของเราบนจักรวาลอันกว้างใหญ่ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว
“จริงๆ แล้ว เราเกิดมาบนจักรวาลที่กว้างใหญ่ใบนี้เพื่ออะไรกันแน่?”
จะว่าไปก็คล้ายๆ กับการถกประเด็นปัญหาต่างๆ ในเชิงจิตวิญญาณกับใครสักคนหนึ่ง เพียงแต่คนๆ นั้นคือ เวส แอนเดอร์สัน ซึ่งเขามีบทสนทนาในฟอร์มที่ต่างออกไป และมักเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างน่าประหลาด เวสได้สอดแทรกความคิดที่เขามีต่อเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ หรือจักรวาลนี้ ไว้เป็นหย่อมๆ ผ่านความสุนทรีย์ของภาพยนตร์ในแบบของเขา พอให้เราได้รับรู้และถกเถียงในใจ แต่ท่ามกลางสิ่งเหล่านั้น เขาก็ได้ตั้งคำถามด้วยวิธีอันลึกซึ้ง และชาญฉลาด ต่อการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตในเชิงจิตวิญญาณ
เพราะในขณะที่เหตุการณ์อันน่าเหลือเชื่อปรากฏขึ้นในเรื่อง (ซึ่งเป็นการค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ราวกับความลับบางอย่างของจักรวาลกำลังจะถูกเปิดเผย) สุดท้ายแล้วมนุษย์บางคนก็ยังคงง่วนอยู่กับการจดจ่อกับการหาทางออกจากเขาวงกตที่เรียกว่า ‘ชีวิต’ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงในเชิงกายภาพอย่างปัญหาการเงิน หรือ โรคร้าย แต่เป็นการเผชิญหน้ากับความซับซ้อนภายในจิตใจที่แท้จริงแล้ว มันกว้างใหญ่และลึกลับไม่ต่างจากจักรวาล เมื่อคุณเผชิญกับปัญหาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการหมกหมุ่นอยู่กับการเฝ้าตามหาความหมายหรือทางออกของมัน ในสภาวะที่คุณกำลังเผชิญอยู่นี้ เรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวไม่ว่าจะเป็น สงคราม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ หรือต่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับจักรวาล การรับรู้เรื่องเหล่านี้ก็เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งภายในจักรวาลอันยิ่งใหญ่ของจิตใจเราเช่นกัน ซึ่งก่อนที่ภาพยนตร์จะจบลง ตัวภาพยนตร์ก็ได้บอกกล่าวบทสรุปเกี่ยวกับชีวิตอันลุ่มลึกแก่ผู้ชม ราวกับเป็นประโยคปลอบประโลมต่อสิ่งมีชีวิตที่ถือกำเนิดมาบนจักรวาลนี้ ไม่ว่าคุณอยู่ใน ‘บทบาท’ ใดก็ตาม
Asteroid City เข้าฉายในไทยแล้ววันนี้ มาร่วมตามหาความหมายของการมีชีวิตได้ที่โรงภาพยนตร์ House Samyan
Asteroid City เข้าฉายในไทยแล้ววันนี้ มาร่วมตามหาความหมายของการมีชีวิตได้ที่โรงภาพยนตร์ House Samyan