Concrete Utopia อพาร์ตเมนต์ ห้องแห่งความฝันและปัญหาสูงสุดของคนเกาหลีใต้

1 ก.ย. 2566 - 07:03

  • Concrete Utopia ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยของผู้คนในสังคมเกาหลีใต้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำในระบบทุนนิยมยิ่งเพิ่มช่องกว้างขึ้นกว่าเดิม

Concrete-Utopia-House-Holding-Crisis-In-South-Korea-SPACEBAR-Hero
*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์* 

Concrete Utopia ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์สัญชาติเกาหลีใต้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best International Feature Film) ในปี 2024 ผลงานการกำกับของ ออมแทฮวา (Um Tae Hwa) ผู้กำกับเจ้าของรางวัล Best New Director จากเวที Grand Bell Awards ครั้งที่ 54 เมื่อปี 2017 โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ 3 นักแสดงมากฝีมืออย่าง อีบยองฮอน (Lee Byung Hun), พักซอจุน (Park Seo Joon) และ พักโบยอง (Park Bo Young) ร่วมแสดงบทนำ กวาดเสียงวิจารณ์เชิงบวกจากทุกสำนักทั้ง IMDb, Rotten Tomatoes และ The New Yorker อีกทั้งยังทำรายได้สูงถึง 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากเปิดตัวเพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น 

แม้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามักจะได้เห็นภาพยนตร์เนื้อหาเสียดสีสังคม การสะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำและการต่อสู้ทางชนชั้นกันอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอความเน่าเฟะอันน่าสยดสยองของสังคมผ่านอาหารอย่าง The Platform (2019) ภาพยนตร์สะท้อนการถูกบั่นทอนทางจิตใจจากความเหลื่อมล้ำอย่าง JOKER (2019) หรือภาพยนต์รางวัลอย่าง Parasite (2019) ที่บอกเล่าความโกรธแค้นของคนชั้นล่างผ่านการใช้บ้านเป็นสัญลักษณ์ ในวันนี้ ภาพยนตร์ Concrete Utopia (2023) พยายามบอกเล่าเรื่องราวความน่าขยะแขยงของสังคมให้ผู้คนเห็นภาพไปพร้อมๆ กันอีกครั้ง ผ่านการล่มสลายของ ‘ตึกอพาร์ตเมนต์’
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6I8OikqNffoyxjqiL8CsCH/cbfdaea8401370fd5c251bf977467acb/Concrete-Utopia-House-Holding-Crisis-In-South-Korea-SPACEBAR-Photo01__1_
Photo: เว็บไซต์ Daum 영화

ไม่เอาบ้าน อพาร์ตเมนต์เท่านั้นที่ต้องการ 

การมีอพาร์ตเมนต์ 3 ห้องนอนใจกลางมหานครที่มีประชากร 10 ล้านคน อย่างโซลถือว่าเป็นความฝันสูงสุด หรือ The Korean Dream เลยก็ว่าได้ ตามรายงานของ Korean Statistical Information Service มีผู้คนสูงถึงร้อยละ 85 อาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ ในขณะที่ 15 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยวธรรมดา

สาเหตุที่พวกเขานิยมเลือกอาร์ตเมนต์มากกว่ามีบ้านเป็นของตัวเองนั่นเนื่องมาจากมันมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ที่จอดรถ คนเฝ้าประตู ภารโรง และการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้สะดวก ไม่ต้องกังวลว่าอ่างล้างจานหรือโคมไฟจะพัง เพียงโทรหาผู้จัดการอาคารเรื่องพวกนี้ก็สามารถจัดการได้หมด  

ในทางตรงกันข้าม บ้านเดี่ยวกลับกลายเป็นที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีเพียงไม่กี่หลังที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960-1990 ที่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเกาหลีใต้ถูกพัฒนาขึ้นแล้ว ทำให้วัสดุ โครงสร้าง หรือย่านระแวกของบ้านไม่ได้เหมาะสม น่าอยู่ และปลอดภัยแต่อย่างใด ประชากรกว่า 3 ใน 4 ต่างจึงต้องการมีอพาร์ตเมนต์บนตึกสูงเป็นของตัวเอง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5ngPvsybBaM8euIJGoGRaL/b8edd2f29d0fdbf51cda0fff3a45bb2c/Concrete-Utopia-House-Holding-Crisis-In-South-Korea-SPACEBAR-Photo02__1_
Photo: เว็บไซต์ Daum 영화

อพาร์ตเมนต์ สัญลักษณ์แห่งความมีระดับและมั่งคั่งของคนเกาหลีใต้ 

ในภาพยนตร์ หลังจากการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ประเทศเกาหลีใต้กลายเป็นเพียงศูนย์กลางของซากปรักหักพังที่ถูกปกคลุมไปด้วยความหนาวเหน็บในช่วงฤดูหนาว ไม่มีวงการเคป็อบ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล หรือธนาคารใดๆ มีเพียงอพาร์ตเมนต์ฮวังกุง สถานที่เดียวที่ยังคงอยู่รอดปลอดภัยและคอยเป็นที่อยู่อาศัยให้กลับผู้คนทุกคนที่รอดชีวิต แต่หลังจากการอยู่ร่วมกันของผู้คนภายนอกและภายในที่เป็นเจ้าของห้องกว่า 2 เดือน เหตุอาชญากรรมก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อผู้อยู่อาศัยภายนอกไม่พอใจเจ้าของห้องและใช้มีดแทงเข้าบริเวณหน้าท้องจนบาดเจ็บสาหัส เหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความตกใจและหวาดกลัวต่อชาวอพาร์ตเมนต์เป็นอย่างมาก พวกเขาจึงจัดตั้งการประชุมเพื่อโหวตแสดงความคิดเห็นต่อการไล่คนนอกออกไปจากที่พักของตน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1rpoO2xv5psgyZgdsp2ASf/7e6b7041f5831066afd856d5e84ce0bd/Concrete-Utopia-House-Holding-Crisis-In-South-Korea-SPACEBAR-Photo03__1_
Photo: ซ้าย: พักซอจุน รับบท มินซอง | ขวา: พักโบยอง รับบท มยองฮวา (เว็บไซต์ Daum 영화)
“การไล่พวกเขาออกไปในสถานการณ์แบบนี้ ไม่ต่างอะไรจากการไล่ให้พวกเขาออกไปตาย” มยองฮวากล่าว 

“คุณลองคิดกลับกันดู ถ้าหากเป็นตึกของพวกเราที่ทลายลง คุณคิดว่าคนนอกพวกนั้นจะให้พวกเราเข้าไปใช้พื้นที่ แบ่งปันอาหาร และเสื้อผ้าให้ไหม ก่อนที่จะเกิดเรื่องบ้าๆ นี้ขึ้น คนพวกนั้นยังคอยแต่จะหาเรื่องและรังแกพวกเราเลย พวกเราทำงานเก็บเงินกว่า 23 ปีเพื่อที่จะซื้ออพาร์ตเมนต์นี้ ทำไมเราจะต้องแบ่งให้พวกเขาอยู่” สามีภรรยาคู่หนึ่งโต้ 

ผู้คนภายนอกอพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่ล้วนมาจากตึกดรีม ที่พักคุณภาพดีราคาสูงของผู้คนที่มีหน้ามีตาในสังคม อย่างที่เราได้เห็นในภาพยนตร์จะมีนักการเมืองเป็นต้น ในขณะที่อพาร์ตเมนต์ฮวังกุงเป็นเพียงที่พักขนาดเล็กที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อผู้ที่มีรายได้น้อยในประเทศเกาหลีใต้  

ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยคือปัญหาอันดับหนึ่งของคนเกาหลีใต้ จากสถิติเมื่อปี 2022 พบว่าประชากรกว่า 9.4 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็น 44% ของครัวเรือนทั้งหมดไม่ได้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์บ้านของตัวเอง และยังมีประชากรอีกหลายพันคนที่ยังคงเป็นคนไร้บ้าน เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยในปีที่ผ่านมาราคาที่พักโดยเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 200 ล้านวอน หรือ 5.2 ล้านบาทต่อหลัง ทำให้การมีที่อยู่อาศัยมีค่าไม่ต่างอะไรจากโล่ประกาศเกียรติคุณที่ใช้ยืนยันฐานะทางสังคม 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3CYOdAZyve0m0LefmaR2fJ/375621cb7a342ff3a59c99b95c0f0625/Concrete-Utopia-House-Holding-Crisis-In-South-Korea-SPACEBAR-Photo04__1_
Photo: เว็บไซต์ Daum 영화

การทำงาน 2-3 ชั่วชีวิตเพื่อแลกกับการอพาร์ตเมนต์ 

แม้จะเป็นมีคำพูดตลกร้ายที่ติดปากอย่าง “พวกเราอาจจะต้องทำงาน 2-3 ชั่วชีวิตในย่านคังนัม ย่านที่มั่งคั่งที่สุดของเกาหลีใต้เพื่อแลกกับการมีที่พักเป็นของตัวเองสักครั้ง” แต่นั่นก็อาจจะเกินจริงไปอยู่มาก เพราะในชีวิตจริงพวกเขาแค่ต้องทำงานเกือบค่อนชีวิตเท่านั้นเพื่อให้มีเงินมากพอในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของตัวเอง โดยคิมซังดัล ผู้อำนวยการนโยบายสาธารณะของ Citizens' Coalition for Economic Justice (CCEJ) องค์กรพัฒนาเอกชนที่อุทิศตนเพื่อต่อสู้กับการเก็งกำไรด้านอสังหาริมทรัพย์และคลายการยึดครองเศรษฐกิจ ของกลุ่มแชโบลของเกาหลีใต้ (กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่) กล่าวว่าการซื้อบ้านของคนเกาหลีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาทำงานเกิน 20 ปีแล้วเท่านั้น เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาที่พักอาศัยบางส่วนของกรุงโซลสูงขึ้นเกือบเท่าตัว โดยราคาที่พักในกรุงโซลปัจจุบันอยู่ระหว่าง 370,000 ถึง 1.3 ล้านบาทต่อตารางเมตรขึ้นอยู่กับประเภทของที่อยู่อาศัยและสถานที่ตั้ง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/55q5BKCL4HSsOLvhqMx93A/14e0ca80f741dc3d212eb9934c46a0bf/Concrete-Utopia-House-Holding-Crisis-In-South-Korea-SPACEBAR-Photo05__1_
Photo: เว็บไซต์ Daum 영화
ราคาบ้านที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ และการทำให้ประเทศกลายเป็นสังคมสูงวัย เนื่องจากรัฐบาลยังไม่ได้มีนโยบายในการสนับสนุนการลดค่าเช่าอย่างชัดเจน ทำให้ผู้คนกว่า 44% ที่เป็นเพียงผู้อยู่อาศัยถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของเป็นอย่างมาก จากรายงานการวิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้และความมั่งคั่งตามอายุและพื้นที่ที่อยู่อาศัย โดยอิงจากข้อมูลจากการสำรวจในปี 2018 พบว่าผู้คนทั่วประเทศมีระดับรายได้ที่ใกล้เคียงกัน แต่กลับมีความมั่งคั่งด้านอสังหาริมทรัพย์ไม่เท่ากัน 

จากการตรวจสอบความความมั่งคั่งตามการเป็นเจ้าของบ้านและผู้เช่าพบว่า ระดับของผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านและผู้ที่ไม่มีบ้านแตกต่างกันถึง 62.3% และเมื่อนำผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านหลายหลังมาบวกกัน ผลกระทบของความมั่งคั่งก็เพิ่มขึ้นเป็น 67.9% นั่นจึงทำให้คนหนุ่มสาวจำนวนมากเริ่มล้มเลิกความคิดเรื่องการสร้างครอบครัว หรือแม้แต่การแต่งงาน ด้วยอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำลงมากขึ้นทำให้ประเทศเกาหลีใต้กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบอย่างที่เราจะเห็นได้ว่าในอาพร์ตเมนต์ฮวังกุงจะมีคุณลุงคุณป้าเป็นผู้อยู่อาศัยมากกว่า และจะมีคู่แต่งงานเพียงไม่กี่คู่เท่านั้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/31wga3nzOequMA4JRLjxJH/3a6d3d4948db30196957699e3f5c945a/Concrete-Utopia-House-Holding-Crisis-In-South-Korea-SPACEBAR-Photo06__1_
Photo: เว็บไซต์ Daum 영화
ปัญหาเรื่องการไร้บ้าน เป็นเพียงหนึ่งในภาพสะท้อนของภาพยนตร์เรื่องนี้เท่านั้น Concrete Utopia ยังคงพูดถึงอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การตั้งคำถามต่อการมีมนุษยธรรม การเลือกผู้ปกครองที่ชี้ชะตาคนในพื้นที่ การปฏิบัติตามหน้าที่จนลืมฟังเสียงความคิดเห็นของตัวเอง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เราต้องฉุกคิดและตั้งคำถามกับตัวเอง สำหรับใครที่สนใจก็สามารถรับชมภาพยนตร์ Concrete Utopia และเข้าไปหาคำตอบกันได้ว่าภาพยนตร์ภัยพิบัติเรื่องนี้กำลังพูดอะไรกับคุณ โลกที่ล่มสลายลงไปเป็นเพราะแผ่นดินไหวหรือผู้คน หาคำตอบพร้อมกันได้ที่ทุกโรงภาพยนตร์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์