กลายเป็นประเด็นขบขันในโลกทวิตเตอร์ เมื่อ จาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ที่ใช้แอคเคาท์ที่ชื่อว่า Chaturon /จาตุรนต์ (@chaturon) ได้ออกมาทักทายเหล่าชาวเน็ต และได้พูดคุยกันในเรื่องทั่วไป
ซึ่งก็มีชาวเน็ตได้ใช้คำผวนว่า “เหล่ท่อ” (หล่อเท่) กับเขา และเขาก็ได้หยอกล้อกลับไปด้วยคำว่า “ใคจอบ” (ขอบใจ) และเขายังขอให้ชาวเน็ตสอนภาษาลูอีกด้วย ทำให้กลายเป็นประเด็นสุดฮาในทันที และดูเหมือนว่า คุณจาตุรนต์ จะเรียนรู้กันไวเสียด้วย
เมื่อมีชาวเน็ตรายหนึ่งได้พิมพ์ว่า “หลันฟูลีดูล่ะคู” (ฝันดีค่ะ) คุณจาตุรนต์ ก็ได้พิมพ์ตอบกลับไปทันทีว่า “ลุ่งพรูลี้นูลุยคูลันกูใหล่มู” (พรุ่งนี้คุยกันใหม่) เรียกรีทวิตจากชาวทวิตเตี้ยนได้มากเลยทีเดียว
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า ภาษาลู ใช้ยังไง มีวิธีผวนคำแบบไหน SPACEBAR VIBE จะมาแนะหลักการง่ายๆ สำหรับการใช้ภาษาลูกัน
หลักการง่ายๆ ของภาษาลู คือการทำให้คำ 1 พยางค์กลายเป็น 2 พยางค์ โดยมีการเติมความ ลู เข้าไป ซึ่งถ้าเป็นคำที่มีสระเสียงยาว ไม่ว่าจะเป็น อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤ ฤา เราสามารถใช้ “ล” แทนพยัญชนะเดิมได้เลย ส่วนพยัญชนะเดิมเรายังไม่ทิ้ง แต่เราจะเลื่อนพยัญชนะเดิมไปไว้ที่พยางค์ที่ 2 พร้อมเติมสระอูลงไป เช่นคำว่า “แอร์” จะออกเสียงเป็น “แล-อู” นั่นเอง
แต่ถ้าหากว่าคำนั้นๆ มีตัวสะกดด้วย พยางค์ที่ 2 ก็จะยกตัวสะกดมาด้วยเช่นกัน ดั่งคำว่า “หมวก” ก็จะเป็นคำว่า “หลวก มูก”
คำต้นทางมีพยัญชนะต้นเป็น “ร” หรือ “ล” เราจะไม่สามารถใช้ “ร” หรือ “ล” ได้โดยตรง แต่จะใช้ “ซ” แทน จากนั้นเอาพยัญชนะเดิมมาเติมสระอู และสระอุ เข้าไปแทน เช่นคำว่า “น้ำอัดลม” จะเป็นคำว่า “ล้ำนูลัดอูดซมลูม”
ส่วนคำไหนที่มีการใช้ “สระอู” และ ”สระอู” เราก็จะไม่สามารถใช้สระดังกล่าวเป็นตัวต้นได้เช่นกัน แต่จะใช้ “หล” แทนพยัญชนะต้น และใช้ “สระอิ” แทนสระอุ และสระอู เช่นคำว่า “ตะปู” จะเป็นคำว่า “ละตู หลูปิ”
หลักการสุดท้าย ถ้าหากว่า คำๆ นั้น มีทั้ง “ร” หรือ “ล” เป็นพยัญชนะต้น แล้วมี “สระอู” หรือ “สระอุ” เป็นสระ ให้ใช้ “ซ” แทนตัว “ร” หรือ “ล” และใช้ “สระอิ” แทน “สระอู” หรือ “สระอุ” เช่นคำว่า “ลูกรัก” จะเป็นคำว่า “ซูกลิก ซักรูก”
ภาษาลู 101 แบบง่ายๆ ก็จะเป็นประมาณนี้เลย ถ้าผู้อ่านอ่านมาถึงท่อนนี้ แน่นอนเลยว่า คุณจะสามารถรู้หลักการของภาษาลูได้แล้ว ก็ลองเอาไปใช้กันดูได้น้า
ซึ่งก็มีชาวเน็ตได้ใช้คำผวนว่า “เหล่ท่อ” (หล่อเท่) กับเขา และเขาก็ได้หยอกล้อกลับไปด้วยคำว่า “ใคจอบ” (ขอบใจ) และเขายังขอให้ชาวเน็ตสอนภาษาลูอีกด้วย ทำให้กลายเป็นประเด็นสุดฮาในทันที และดูเหมือนว่า คุณจาตุรนต์ จะเรียนรู้กันไวเสียด้วย
เมื่อมีชาวเน็ตรายหนึ่งได้พิมพ์ว่า “หลันฟูลีดูล่ะคู” (ฝันดีค่ะ) คุณจาตุรนต์ ก็ได้พิมพ์ตอบกลับไปทันทีว่า “ลุ่งพรูลี้นูลุยคูลันกูใหล่มู” (พรุ่งนี้คุยกันใหม่) เรียกรีทวิตจากชาวทวิตเตี้ยนได้มากเลยทีเดียว
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า ภาษาลู ใช้ยังไง มีวิธีผวนคำแบบไหน SPACEBAR VIBE จะมาแนะหลักการง่ายๆ สำหรับการใช้ภาษาลูกัน
หลักการง่ายๆ ของภาษาลู คือการทำให้คำ 1 พยางค์กลายเป็น 2 พยางค์ โดยมีการเติมความ ลู เข้าไป ซึ่งถ้าเป็นคำที่มีสระเสียงยาว ไม่ว่าจะเป็น อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤ ฤา เราสามารถใช้ “ล” แทนพยัญชนะเดิมได้เลย ส่วนพยัญชนะเดิมเรายังไม่ทิ้ง แต่เราจะเลื่อนพยัญชนะเดิมไปไว้ที่พยางค์ที่ 2 พร้อมเติมสระอูลงไป เช่นคำว่า “แอร์” จะออกเสียงเป็น “แล-อู” นั่นเอง
แต่ถ้าหากว่าคำนั้นๆ มีตัวสะกดด้วย พยางค์ที่ 2 ก็จะยกตัวสะกดมาด้วยเช่นกัน ดั่งคำว่า “หมวก” ก็จะเป็นคำว่า “หลวก มูก”
คำต้นทางมีพยัญชนะต้นเป็น “ร” หรือ “ล” เราจะไม่สามารถใช้ “ร” หรือ “ล” ได้โดยตรง แต่จะใช้ “ซ” แทน จากนั้นเอาพยัญชนะเดิมมาเติมสระอู และสระอุ เข้าไปแทน เช่นคำว่า “น้ำอัดลม” จะเป็นคำว่า “ล้ำนูลัดอูดซมลูม”
ส่วนคำไหนที่มีการใช้ “สระอู” และ ”สระอู” เราก็จะไม่สามารถใช้สระดังกล่าวเป็นตัวต้นได้เช่นกัน แต่จะใช้ “หล” แทนพยัญชนะต้น และใช้ “สระอิ” แทนสระอุ และสระอู เช่นคำว่า “ตะปู” จะเป็นคำว่า “ละตู หลูปิ”
หลักการสุดท้าย ถ้าหากว่า คำๆ นั้น มีทั้ง “ร” หรือ “ล” เป็นพยัญชนะต้น แล้วมี “สระอู” หรือ “สระอุ” เป็นสระ ให้ใช้ “ซ” แทนตัว “ร” หรือ “ล” และใช้ “สระอิ” แทน “สระอู” หรือ “สระอุ” เช่นคำว่า “ลูกรัก” จะเป็นคำว่า “ซูกลิก ซักรูก”
ภาษาลู 101 แบบง่ายๆ ก็จะเป็นประมาณนี้เลย ถ้าผู้อ่านอ่านมาถึงท่อนนี้ แน่นอนเลยว่า คุณจะสามารถรู้หลักการของภาษาลูได้แล้ว ก็ลองเอาไปใช้กันดูได้น้า