สบตาต้นฉบับ ‘เจ้าชายน้อย’ ก่อนจะเป็นหนังสือคลาสสิกที่แตะหัวใจคนทุกชาติทุกวัย

6 กุมภาพันธ์ 2566 - 05:25

Culture-Book_20220304_01_Tablet
  • ‘เจ้าชายน้อย’ เป็นผลงานของนักเขียนชาวฝรั่งเศส อองตวน เดอ แซงเตก-ซูเปรี และเป็นหนึ่งในหนังสือคลาสสิกที่ถูกแปลไปแล้วกว่า 300 ภาษาทั่วโลก

  • เรื่องราวของเจ้าชายน้อยที่หนีมาจากดาวของตัวเองเป็นการเดินทางเพียงไม่กี่หน้าที่แตะหัวใจคนได้ทุกชาติทุกวัย

  • เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2022 ได้มีการจัดแสดงต้นฉบับหนังสือ ‘เจ้าชายน้อย’ ที่ประเทศฝรั่งเศส เป็นครั้งแรกที่โลกได้เห็นเบื้องหลังและภาพร่างก่อนจะมาเป็นเจ้าชายน้อย

เราจะมองเห็นแจ่มชัด ด้วยหัวใจเท่านั้น สิ่งสำคัญนั้น ไม่อาจเห็นได้ด้วยตา”

อองตวน เดอ แซงเตก-ซูเปรี (Antoine de Saint-Exupéry) เป็นผู้เขียนประโยคนี้ และอีกหลายประโยคใน ‘เจ้าชายน้อย’ หนังสือเล่มกระทัดรัดที่อาจทำให้เกิดแวบตรัสรู้ไปจนถึงน้ำตารื้น ด้วยเรื่องราวที่ร้อยเรียงจากจินตนาการเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง หยิบขึ้นมาอ่านวัยไหนก็ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เสมอ 
 
ปี 2022 เป็นครั้งแรกที่โลกได้เห็นต้นฉบับ ‘เจ้าชายน้อย’ ที่จัดแสดงในนิทรรศการ ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ร่องรอยของสี ดินสอ ปากกา ที่เผยให้เห็นว่ากว่าจะมาเป็นหนังสืออมตะสักเล่มต้องผ่านอะไรมาบ้าง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7bSVJ18mEQquHqxlZDprUc/568c6d13bfe55249ee4291eab78fe136/Culture-Book_20220304_01_01
ภาพเจ้าชายน้อยที่ อองตวน แกะสลักลงบนโต๊ะของ เบอร์นาร์ด ลาม็อตต์ (Bernard Lamotte) เมื่อปี 1941 หรือ 1942 (เบอร์นาร์ด เป็นเพื่อนที่ อองตวน เจอที่โรงเรียนศิลปะ และเป็นเจ้าของสตูดิโอที่เขามักใช้เขียน/วาดเจ้าชายน้อย)
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4pzr3zNs3xsOcF2xYqdzuF/fa71f5dc958d238834cc31cd363f6d1d/Culture-Book_20220304_01_02
จดหมายที่ อองตวน เขียน/วาดให้ ลีออง เวิร์ธ (Léon Werth) เพื่อนรักที่เขาอุทิศหนังสือ ‘เจ้าชายน้อย’ ให้ แอนน์ โมนีเย (Anne Monier) หนึ่งในภัณฑารักษ์ที่จัดนิทรรศการนี้อธิบายว่า เราเริ่มเห็นแกะ ดอกกุหลาบ ภูเขาไฟ ต้นไม้ใหญ่คล้ายต้นเบาบับ ซึ่งแสดงให้เห็นจักรวาลของเจ้าชายน้อยที่เริ่มก่อร่างขึ้นมาแล้ว
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/20BUJ3WjRVSlR5JUzN6MXm/5cc5feca540bb0ab7b8f1f6b9268229f/Culture-Book_20220304_01_08
อัลบัน เซอริสิเยร์ (Alban Cerisier) ภัณฑารักษ์อีกคนอธิบายวิวัฒนาการของคาแรกเตอร์เจ้าชายน้อยในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 โดยจะเห็นว่าลักษณะต่างๆ ค่อยๆ เป็นรูปเป็นร่างและชัดเจนขึ้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3iM9vVSlodsYrY7fu8G5VX/08f0fec393172444120dc9f0af064954/Culture-Book_20220304_01_03
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/Fdg66bNHsnkxdV8uhy7e9/5fa740f4d0b7c18fd1a4564379b82d4d/Culture-Book_20220304_01_04
ต้นฉบับเจ้าชายน้อยเผยให้เห็นตอน ‘หมวก/งูเหลือมกินช้าง’ อันโด่งดัง เป็นตอนที่ชี้ให้เห็นพลังของมุมมองแต่ละคนที่ต่างกัน และสอนว่าสิ่งที่เห็นอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดเสมอไป
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/GreSrAbJin6KBUffYZfAT/e5fe421b2043b93610b6e7071df748e4/Culture-Book_20220304_01_05
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5JaWIJswb6RVmv9nmkQogl/a58b187df6e5e3bc7f8922d1caf94f0d/Culture-Book_20220304_01_09
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4IG80kAHLSgv6tFko6yxQ3/df80bb14a57360d5d39797d3dcb55592/Culture-Book_20220304_01_10
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3vNosHAepwaRPRwV0r4Sz4/3547132ceb54ee2671e48f8bfd4a4ca4/Culture-Book_20220304_01_11
Photo: ภาพ อองตวน เดอ แซงเตก-ซูเปรี
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5b8w4yQM7T2wjAUYan9Gdj/4244ecfd58bac6ed18e578fb8ae9a559/Culture-Book_20220304_01_13
Photo: ชั้นรวบรวมหนังสือ ‘เจ้าชายน้อย’ ที่ถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6rAC7q34XKgEQwaXzsj0DB/9e2f697adaa58b639ef0ca89a9c7ed6d/Culture-Book_20220304_01_12
Photo: ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3TDIcs3OV5NlbTRpuHUNlQ/86488a92857f016b68c1c43c9e9d5500/Culture-Book_20220304_01_06
แอนน์ เล่าว่า เมื่อชมนิทรรศการจบผู้อ่านจะได้มุมมองใหม่ในการอ่าน ‘เจ้าชายน้อย’ และได้รู้จัก อองตวน มากขึ้นว่าจริงๆ แล้วเขาคือใคร ผ่านเหตุการณ์อะไรมาบ้าง และได้สร้างผลงานอะไรอีกนอกจากเจ้าชายน้อย ซึ่งการรู้ข้อมูลพวกนี้จะทำให้เราเข้าใจ ‘เจ้าชายน้อย’ มากขึ้น 
 
 
นอกจากนี้ อัลบัน ยังอธิบายว่าจากต้นฉบับเราจะเห็นว่า อองตวนกลั่นกรองคำพูดออกไปเยอะมาก เขาตัดเรื่องที่เกี่ยวโยงกับข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป รวมถึงเรื่องที่ผูกติดกับสถานการณ์หรือยุคสมัยของเขา เพื่อที่จะถ่ายทอดสภาพของมนุษย์ที่ธรรมดาสามัญที่สุด  ซึ่งอยู่เหนืออารยธรรมและความแตกต่างหลากหลายของแต่ละคน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2gG94nMGqf2yTirkguWHTS/cbe9d7155afbe64f175c437157edfb22/Culture-Book_20220304_01_07
ด้วยยอดขายและ ‘เจ้าชาย’ ที่เป็นที่พูดถึงยาวนานจวบจนปัจจุบัน น่าจะประจักษ์ชัดแล้วว่าความอุตสาหะในการถ่ายทอดสิ่งธรรมดาสามัญให้ออกมาวิเศษของ อองตวน ประสบความสำเร็จ 
 
เชื่อว่าตอนนี้หลายคนคงมี ‘เจ้าชายน้อย’ เป็นหนังสือสามัญประจำบ้านที่หยิบมาอ่านเมื่อต้องการเพื่อนสะกิดหัวใจ เพื่อนที่คอยเตือนให้เรามองโลกและเข้าใจชีวิตในแบบที่เราอาจลืมหรือมองข้ามไป

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์