มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี (Michelangelo Buonarroti) หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโลศิลปินชาวอิตาเลียนยุคเรเนอซองส์ ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ผลานสุดมหัศจรรย์ในหลายๆ ด้าน ทั้งงานจิตรกรรม สถาปัตยกรรม และประติมากรรม โดยผลงานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดหนีไม่พ้นประติมากรรมแกะสลักหินอ่อนร่างเปลือยเปล่าของเดวิด (David) และรูปพระแม่มารีประทับในท่ารองรับร่างพระบุตร หรือ ปีเอตา (Pieta)
ในช่วงชีวิตของเขา มีเกลันเจโลได้สร้างผลงาน ‘แม่พระระทมทุกข์’ (Our Lady of Sorrows) ถ่ายทอดเรื่องราวขณะพระแม่มารีร่ำไห้เหนือร่างของพระเยซูเอาไว้อย่างน้อย 3 ชิ้น ได้แก่ ‘บันดินี’ (Bandini) ‘ปีเอตา’ (Pieta) และ ‘รอนดานินี’ (Rondanini)
เมื่อปี 2022 พิพิธภัณฑ์ฟลอเรนซ์โอเปร่าเดลดูโอโม (Florence’s Opera Del Duomo Museum) ประเทศอิตาลี ได้จัดแสดงนิทรรศการรวมรูปปั้นผลงานทั้งสามชิ้นเป็นครั้งแรก โดยในงานจัดแสดง รูปปั้นทั้งสามชิ้นถูกจัดให้หันหน้าชนกัน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ และความย้อนแย้งกันด้านความงามระหว่างงานทั้งสามชิ้นที่มีเกลันเจโลสร้างสรรค์ในช่วงวัยที่ต่างกัน
ต่อไปนี้คือเรื่องราวโดยย่อของแม่พระระทมทุกข์แต่ละชิ้นของเขา...
ในช่วงชีวิตของเขา มีเกลันเจโลได้สร้างผลงาน ‘แม่พระระทมทุกข์’ (Our Lady of Sorrows) ถ่ายทอดเรื่องราวขณะพระแม่มารีร่ำไห้เหนือร่างของพระเยซูเอาไว้อย่างน้อย 3 ชิ้น ได้แก่ ‘บันดินี’ (Bandini) ‘ปีเอตา’ (Pieta) และ ‘รอนดานินี’ (Rondanini)
เมื่อปี 2022 พิพิธภัณฑ์ฟลอเรนซ์โอเปร่าเดลดูโอโม (Florence’s Opera Del Duomo Museum) ประเทศอิตาลี ได้จัดแสดงนิทรรศการรวมรูปปั้นผลงานทั้งสามชิ้นเป็นครั้งแรก โดยในงานจัดแสดง รูปปั้นทั้งสามชิ้นถูกจัดให้หันหน้าชนกัน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ และความย้อนแย้งกันด้านความงามระหว่างงานทั้งสามชิ้นที่มีเกลันเจโลสร้างสรรค์ในช่วงวัยที่ต่างกัน
ต่อไปนี้คือเรื่องราวโดยย่อของแม่พระระทมทุกข์แต่ละชิ้นของเขา...

ปีเอตา ปัจจุบันรูปปั้นดังกล่าวถูกจัดเก็บไว้ที่นครวาติกัน นี่คือหนึ่งในผลงานอันน่าเหลือเชื่อของมีเกลันเจโล เพราะตอนสร้างเขาเป็นชายหนุ่มอายุแค่ 20 ต้นๆ เท่านั้น ผลงานนี้แสดงเหตุการณ์พระแม่มารีโอบอุ้มพระเยซูที่ดูคล้ายอยู่ในภวังค์ ก่อนจะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง หลังจากปิเอตาเสร็จสมบูรณ์ งานชิ้นนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้กับศิลปินร่วมสมัยคนอื่นๆ เป็นอย่างมาก ด้วยความงามของพระแม่มารี องค์ประกอบ ความละเอียดของกล้ามเนื้อ และรอยย่นยับของผ้าที่ปลิวพริ้วไหวระนาบไปกับร่าง
ในปี ค.ศ.1972 รูปปั้นปีเอตาได้รับความเสียหายจากการโดนค้อนทุบ ผู้ลงมือเป็นชาวฮังการีชื่อว่า ลาซโล ท็อท (Laszlo Toth) ในเหตุการณ์เขาตะโกนว่า “ข้าคือพระเยซู ผู้ฟื้นจากความตาย” ก่อนจะลงมือเหวี่ยงค้อนเข้าไปที่รูปปั้นปิเอตา ตามข่าวระบุว่า ลาซโล มีอาการทางจิต พิพิธภัณฑ์จึงสร้างห้องกระจกขึ้นมากั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย
ในปี ค.ศ.1972 รูปปั้นปีเอตาได้รับความเสียหายจากการโดนค้อนทุบ ผู้ลงมือเป็นชาวฮังการีชื่อว่า ลาซโล ท็อท (Laszlo Toth) ในเหตุการณ์เขาตะโกนว่า “ข้าคือพระเยซู ผู้ฟื้นจากความตาย” ก่อนจะลงมือเหวี่ยงค้อนเข้าไปที่รูปปั้นปิเอตา ตามข่าวระบุว่า ลาซโล มีอาการทางจิต พิพิธภัณฑ์จึงสร้างห้องกระจกขึ้นมากั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย

ผลงานที่สอง บันดินี เป็นผลงานที่มีเกลันเจโลไม่พอใจถึงขั้นเอาค้อนทุบด้วยตัวเอง จะสังเกตว่าแต่ละส่วนของรูปปั้นจะมีรอยเชื่อมติดกัน ถูกบูรณะครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1565 โดยช่างปั้นที่สนิทกับมีเกลันเจโล และถูกบูรณะให้ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อปี ค.ศ.2019
ตามข้อมูลในหนังสือ ‘Michelangelo’s Florence Pieta’ เขียนโดย แจ็ค เวเซอแมน (Jack Waserman) ระบุว่า จริงๆ แล้วมีเกลันเจโลตั้งใจจะเปลี่ยนงานนี้เป็นอย่างอื่น เขาใช้สิ่วในการกระเทาะเอาแต่ละส่วนออก ตามลักษณะนิสัยแล้วเขาดูไม่ใช่คนที่จะใช้ค้อนทุบผลงานของตัวเอง
บันดินี คือผลงานที่มีเกลันเจโลทำขึ้นในวัย 72 ปี ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เขาถูกรุมเร้าด้วยโรคซึมเศร้า ว่ากันว่าเขากังวลเรื่องความตายที่กำลังมาเยือน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เขายึดเหนี่ยวตัวเองกับศาสนามากที่สุด ในงานเขาหยิบยืมนักบุญนิโคเดมัส (Nicodemus) มายืนปกป้องให้กับพระเยซูกับมารี แมกดาเลน (Mary Magdalene - หนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง) และพระแม่มารีมาไว้ในงาน
ตามข้อมูลในหนังสือ ‘Michelangelo’s Florence Pieta’ เขียนโดย แจ็ค เวเซอแมน (Jack Waserman) ระบุว่า จริงๆ แล้วมีเกลันเจโลตั้งใจจะเปลี่ยนงานนี้เป็นอย่างอื่น เขาใช้สิ่วในการกระเทาะเอาแต่ละส่วนออก ตามลักษณะนิสัยแล้วเขาดูไม่ใช่คนที่จะใช้ค้อนทุบผลงานของตัวเอง
บันดินี คือผลงานที่มีเกลันเจโลทำขึ้นในวัย 72 ปี ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เขาถูกรุมเร้าด้วยโรคซึมเศร้า ว่ากันว่าเขากังวลเรื่องความตายที่กำลังมาเยือน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เขายึดเหนี่ยวตัวเองกับศาสนามากที่สุด ในงานเขาหยิบยืมนักบุญนิโคเดมัส (Nicodemus) มายืนปกป้องให้กับพระเยซูกับมารี แมกดาเลน (Mary Magdalene - หนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง) และพระแม่มารีมาไว้ในงาน

งานที่สาม รอนดานินี เป็นงานที่น่าสนใจ เพราะมีลักษณะความงามแตกต่างจากสองงานแรกอย่างสิ้นเชิง สูงราวสองเมตร เรียบง่าย ไม่หวือหวา งานชิ้นนี้เป็นงานสุดท้ายในชีวิตวัย 80 ปีของเขา ซึ่งเป็นผลงานที่ยังทำไม่เสร็จ ถูกพบที่บ้านของเขาในกรุงโรม ที่ที่เขาทำงานศิลปะจนจบชีวิตลง
ทั้งสามงาน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันเราจะเห็นการเติบโตทางด้านความคิดของมีเกลันเจโลผ่านรูปแบบของงานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะงานสุดท้าย รอนดานินี ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่างานชิ้นนี้แสดงถึงแรงศรัทธามีความสำคัญมากกว่าลักษณะรูปร่างหน้าตา มีเกลันเจโลมอบชีวิตให้กับศาสนาตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ.1564 ด้วยวัย 88 ปี
ทั้งสามงาน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันเราจะเห็นการเติบโตทางด้านความคิดของมีเกลันเจโลผ่านรูปแบบของงานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะงานสุดท้าย รอนดานินี ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่างานชิ้นนี้แสดงถึงแรงศรัทธามีความสำคัญมากกว่าลักษณะรูปร่างหน้าตา มีเกลันเจโลมอบชีวิตให้กับศาสนาตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ.1564 ด้วยวัย 88 ปี