“คุณคิดว่าเรื่องของเรามันเป็น ‘อินยอน’ ไหม?”
“คุณหมายถึงการที่เรามาอยู่ในเมืองเดียวกัน นั่งอยู่ที่โต๊ะเดียวกัน หลังจากที่ไม่ได้เจอกันมา 20 ปีน่ะเหรอ แน่นอนสิ มันเป็น ‘อินยอน’ อยู่แล้ว”
ภายใต้แสงสลัวของบาร์ในเวลาตี 3 นายองตอบแฮซองพร้อมกับรอยยิ้มกว้าง นัยน์ตาลึกซึ้งจับจ้องกันด้วยความคิดถึงและโหยหา แต่กระนั้นการยื่นมือออกไปหากันกลับเป็นเรื่องที่แสนลำบากและซับซ้อนเกินกว่าจะทำได้ อาร์เธอร์ สามีของนายองมองเห็นและรับรู้ถึงทุกสิ่งที่เกิดขึ้น โชคชะตาซับซ้อนชักนำพันเกี่ยวให้พวกเขาทั้ง 3 เขามาอยู่ในความสัมพันธ์ที่ยากเกินจะอธิบายและหลุดพ้น
Past Lives ภาพยนตร์โรแมนติกดราม่าจากค่าย A24 ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ภายใต้ความเชื่อเรื่อง ‘อินยอน’ หรือ ‘พรหมลิขิต’ ผลงานการกำกับและการเขียนบทของ ซีลีน ซง (Celine Song) ผู้กำกับและนักเขียนบทเชื้อสายเกาหลีใต้-แคนาดา ที่เคยฝากฝีไม้ลายมือการเขียนบทไว้ในซีรี่ส์ไฮแฟนตาซีอย่าง The Wheel of Time (2021) โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ 3 นักแสดงมากฝีมืออย่าง โท ยู (Teo Yoo) เกรต้า ลี (Greta Lee) และจอห์น มากาโร (John Magaro) ร่วมแสดงบทนำ กวาดเสียงวิจารย์เชิงบวกจากหลายสำนัก ไม่ว่าจะเป็น IMDb, Rotten Tomatoes และ The New Yorks Time ยิ่งไปกว่านั้น The Guardians ยังกล่าวว่านี่อาจเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของปี 2023 อีกด้วย
อินยอน (인연) หรือ ‘พรหมลิขิต’ คือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยคำว่า ‘อิน’ (인) หมายถึงพลังงานจากการกระทำของตนที่ทำให้เกิดผลพวงในอนาคต และคำว่า ‘ยอน’ (연) หมายถึงเป็นพลังทางอ้อมจากโชคชะตาที่ช่วยขีดเส้นให้ผู้คนได้มาพบกัน ซึ่งอินยอนเป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ โดยในภาษาสันสกฤติมีคำใช้เรียกสิ่งนี้ว่า ‘เหตุปราตยายะ’ หรือ ‘นิดานะ’ หมายถึง ต้นเหตุและปัจจัยที่ทำให้ผู้คนได้เดินทางมาพบกัน หรือที่เราเชื่อกันว่าการมาพบกันมักเกิดจาก ‘กรรม’ ที่ทำร่วมกันมาในอดีตชาตินั่นเอง

ในช่วงยุคสามราชอาณาจักรเกาหลี ศาสนาพุทธเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลีครั้งแรกโดยการเผยแพร่จากพระภิกษุซุนโด ราชวงศ์เฉียนฉิน ประเทศจีน ที่ได้เข้ามาเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างอาณาจักรโครยอในปี ค.ศ. 372 ก่อนจะเริ่มแพร่หลายไปสู่อาณาจักรแพ็กเจ ในปี ค.ศ. 384 และในช่วงกลางศตวรรษที่ห้าของอาณาจักรชิลลา ในช่วงเวลานั้น พระพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากผู้ปกครองทั้ง 3 อาณาจักร เพราะเป็นความเชื่อที่เหมาะจะเป็นสร้างรากฐานการปกครอง เนื่องจากศาสนาพุทธมีพระพุทธเจ้าเป็นวัตถุบูชาเพียงองค์เดียว จึงเปรียบเสมือนกษัตริย์เป็นวัตถุแห่งอำนาจเพียงหนึ่งเดียวของประชาชนเช่นกัน
ในช่วงศตวรรษที่ 6 ผู้คนเริ่มมีความศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการสร้างวัดและสำนักสงฆ์ขึ้นมากมาย และเมื่อถึงเวลาที่อาณาจักรชิลลารวมคาบสมุทรเป็นปึกแผ่นในปี ค.ศ. 668 พวกเขายอมรับศาสนาพุทธเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าระบบการปกครองในช่วงนั้นจะยังคงดำเนินไปตามแนวคิดและความเชื่อของขงจื๊อก็ตาม
ความเชื่อ ศิลปะ และสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองมาอย่างต่อเนื่องจากการสนับสนุนของขุนนาง จนกระทั้งในปี 1392 ‘อี ซองกเย’ (Yi Song-gye) หรือ ‘พระเจ้าแทโจ’ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โชซ็อนได้มีการก่อการจลาจลและประกาศตนเป็นกษัตริย์ เขาพยายามขจัดอิทธิพลทั้งหมดของศาสนาพุทธออกจากรัฐบาล และนำลัทธิขงจื๊อมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการประเทศและศีลธรรม
ความเชื่อตามแบบฉบับลัทธิขงจื้อดำเนินอยู่ในอาณาจักรโชซ็อนยาวนานกว่า 518 ปี ก่อนจะถูกประเทศญี่ปุ่นกวาดต้อน เข้ายึดครอง และพยายามหลอมรวมนิกายพุทธศาสนาของเกาหลีเข้ากับนิกายของญี่ปุ่นในปี 1910 อย่างไรก็ตาม ความสนใจในพุทธศาสนาของคนเกาหลีเพิ่งเริ่มฟื้นคืนมาในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้
ในช่วงศตวรรษที่ 6 ผู้คนเริ่มมีความศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการสร้างวัดและสำนักสงฆ์ขึ้นมากมาย และเมื่อถึงเวลาที่อาณาจักรชิลลารวมคาบสมุทรเป็นปึกแผ่นในปี ค.ศ. 668 พวกเขายอมรับศาสนาพุทธเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าระบบการปกครองในช่วงนั้นจะยังคงดำเนินไปตามแนวคิดและความเชื่อของขงจื๊อก็ตาม
ความเชื่อ ศิลปะ และสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองมาอย่างต่อเนื่องจากการสนับสนุนของขุนนาง จนกระทั้งในปี 1392 ‘อี ซองกเย’ (Yi Song-gye) หรือ ‘พระเจ้าแทโจ’ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โชซ็อนได้มีการก่อการจลาจลและประกาศตนเป็นกษัตริย์ เขาพยายามขจัดอิทธิพลทั้งหมดของศาสนาพุทธออกจากรัฐบาล และนำลัทธิขงจื๊อมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการประเทศและศีลธรรม
ความเชื่อตามแบบฉบับลัทธิขงจื้อดำเนินอยู่ในอาณาจักรโชซ็อนยาวนานกว่า 518 ปี ก่อนจะถูกประเทศญี่ปุ่นกวาดต้อน เข้ายึดครอง และพยายามหลอมรวมนิกายพุทธศาสนาของเกาหลีเข้ากับนิกายของญี่ปุ่นในปี 1910 อย่างไรก็ตาม ความสนใจในพุทธศาสนาของคนเกาหลีเพิ่งเริ่มฟื้นคืนมาในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้

ศาสนาพุทธมีความเชื่อว่า กิเลส เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด กรรม อันส่งผลให้เกิด วิบาก หรือ ผลของการกระทำ เมื่อปัจจัยยังคงกำเนิดใหม่เรื่อยๆ วิบากก็จะไม่สิ้นสุด ส่งผลให้ ‘วัฏจักรเวียนว่ายตายเกิด’ วนซ้ำอยู่กับที่อย่างไม่รู้จบ บางครั้งเราอาจเป็นผู้กระทำ บางครั้งเราอาจถูกกระทำ เวียนซ้ำหมุนเปลี่ยนกันไปในแต่ละชาติ แล้วในศาสนาพุทธที่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้คนที่ปรากฏอยู่ในชีวิตทำกรรมหรือมีสัมพันธ์ร่วมกันมาแล้วกี่ชาติ?
ในประเทศเกาหลี มีคำเรียกเวลาในการใช้ชีวิตแต่ละชาติว่า ‘กอป’ (겁) หรือ ‘กัลป์’ โดยเชื่อว่าเวลา 1 ภพชาติ มีค่าเท่ากับ 1 กัลป์ และทุกความสัมพันธ์ในชีวิตคนเราล้วนมีเกี่ยวโยงผ่านกัลป์ด้วยกันทั้งนั้น
ความสัมพันธ์ในชีวิตคนเราถูกแบ่งระดับด้วยกัลป์ ดังนี้
คนที่เราบังเอิญพบเจอ หรือเดินเฉียดกันตามท้องถนน คือ บุคคลที่มีชะตากรรมร่วมกัน 500 กัลป์ เป็นความสัมพันธ์ที่แค่บังเอิญพบเจอ แต่ไม่มีความผูกพันธ์ต่อกัน
คนที่เคยร่วมเตียงหลับนอนด้วยกัน คือ คนที่มีความสัมพันธ์ผูกกัน 3,000 กัลป์ แม้อาจจะแยกจากกันไปในชั่วข้ามคืน แต่ในอนาคต ความสัมพันธ์และโชคชะตาอาจพัฒนาไปสุ่การเป็นคู่รักได้
ผู้คนที่ได้มารักและแต่งงานกัน คือ คนที่มีชะตาร่วมกัน 8,000 กัลป์ เป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นเกินจะแยกได้ แม้ท้ายที่สุดอาจจะต้องจากกัน แต่โชคชะตาจะยังพันผูกกันไว้และได้พบกันในชาติต่อไป
ในภาพยนตร์เรื่อง Past Lives นายองเชื่อว่าเธอและแฮซองมีความสัมพันธ์ร่วมกันมาแล้ว 8,000 ชาติ แม้ความสัมพันธ์และความรู้สึกของพวกเขาจะซับซ้อนและยากเกินอธิบายได้ ท้ายที่สุดเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาจะลงเอยอย่างไร พวกเขาอาจได้บังเอิญพบกัน รักกัน และคบกันอีกครั้งในชาตินี้ หรืออาจต้องรอถึงชาติหน้า หรืออีกหลายสิบชาติเพื่อให้สมหวังก็เป็นได้
ในประเทศเกาหลี มีคำเรียกเวลาในการใช้ชีวิตแต่ละชาติว่า ‘กอป’ (겁) หรือ ‘กัลป์’ โดยเชื่อว่าเวลา 1 ภพชาติ มีค่าเท่ากับ 1 กัลป์ และทุกความสัมพันธ์ในชีวิตคนเราล้วนมีเกี่ยวโยงผ่านกัลป์ด้วยกันทั้งนั้น
ความสัมพันธ์ในชีวิตคนเราถูกแบ่งระดับด้วยกัลป์ ดังนี้
คนที่เราบังเอิญพบเจอ หรือเดินเฉียดกันตามท้องถนน คือ บุคคลที่มีชะตากรรมร่วมกัน 500 กัลป์ เป็นความสัมพันธ์ที่แค่บังเอิญพบเจอ แต่ไม่มีความผูกพันธ์ต่อกัน
คนที่เคยร่วมเตียงหลับนอนด้วยกัน คือ คนที่มีความสัมพันธ์ผูกกัน 3,000 กัลป์ แม้อาจจะแยกจากกันไปในชั่วข้ามคืน แต่ในอนาคต ความสัมพันธ์และโชคชะตาอาจพัฒนาไปสุ่การเป็นคู่รักได้
ผู้คนที่ได้มารักและแต่งงานกัน คือ คนที่มีชะตาร่วมกัน 8,000 กัลป์ เป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นเกินจะแยกได้ แม้ท้ายที่สุดอาจจะต้องจากกัน แต่โชคชะตาจะยังพันผูกกันไว้และได้พบกันในชาติต่อไป
ในภาพยนตร์เรื่อง Past Lives นายองเชื่อว่าเธอและแฮซองมีความสัมพันธ์ร่วมกันมาแล้ว 8,000 ชาติ แม้ความสัมพันธ์และความรู้สึกของพวกเขาจะซับซ้อนและยากเกินอธิบายได้ ท้ายที่สุดเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาจะลงเอยอย่างไร พวกเขาอาจได้บังเอิญพบกัน รักกัน และคบกันอีกครั้งในชาตินี้ หรืออาจต้องรอถึงชาติหน้า หรืออีกหลายสิบชาติเพื่อให้สมหวังก็เป็นได้