ปิรันย่าคือสัตว์นักล่าที่ว่ากันว่าทรงประสิทธิภาพมากที่สุดชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบอเมริกาใต้ ในประเทศ เวเนซูเอล่า และตอนใต้ของบราซิลในป่าแอมะซอนอันเลื่องชื่อ และแม้มันจะมีขนาดตัวไม่ใหญ่นัก ราว 14-26 เซนติเมตร แต่ก็โด่งดังไปทั่วโลกจากพฤติกรรมที่มักล่ากันเป็นฝูงด้วยฟันที่แหลมคม ทำให้มันรุมกัดกินซากสัตว์จนเหลือแต่กระดูกในพริบตา การโจมตีของเหล่าปิรันย่าจะทำให้น้ำปั่นป่วน แลกัดกินสัตว์จำพวกแมลง สัตว์น้ำ หรือ ครึ่งบกครึ่งน้ำทุกชนิด รวมไปถึงสัตว์ฟันแทะต่างๆ ลามไปยันสัตว์บกที่อ่อนแอหรือบาดเจ็บ ก็ล้วนตกเป็นเหยื่อของมัน

ซึ่งอย่างที่เกริ่นไปว่าแม้ปลาชนิดนี้จะดูน่ากลัว แต่มันไม่ได้อันตรายเสมอไป ปิรันย่าหลายชนิดเมื่อเติบโตก็อาศัยอย่างสันโดษไม่ได้ล่ากันเป็นฝูงเหมือนตอนยังไม่โตเต็มวัย มีเพียง 4-5 ชนิดเท่านั้นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคนได้ ซึ่งแม้จะเป็นชนิดที่อันตรายที่สุดมันก็ไม่ได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ขนาดนั้น ถึงขนาดว่าผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่ามันเป็นปลาขี้อาย จึงยากมากที่มันจะเข้าไปโจมตีคนก่อน ยกเว้นจะเป็นสถานการณ์พิเศษ เช่นเป็นสภาวะที่มันไร้ทางหนีจนต้องสู้เพื่อเอาตัวรอด หรือขาดแคลนอาหารอย่างหนัก
แถมแท้จริงแล้วมีปลาปิรันย่าจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของผู้ล่าที่มองหาอาหารแบบรสหวานรับประทานง่าย ทำให้มันขี้ตกใจและประหม่าตรงข้ามกับภาพลักษณ์อันดุร้ายของมัน ซึ่งความประหม่าและขี้ตกใจนี้เองทำให้มันเอาตัวรอดได้ในป่าลึกที่มีนักล่ามากมายพร้อมจะกินมันเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็น เสือจากัวร์ จระเข้เคแมน โลมาน้ำจืด และปลานักล่าขนาดใหญ่อื่นๆ อีกหลายชนิด
แถมแท้จริงแล้วมีปลาปิรันย่าจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของผู้ล่าที่มองหาอาหารแบบรสหวานรับประทานง่าย ทำให้มันขี้ตกใจและประหม่าตรงข้ามกับภาพลักษณ์อันดุร้ายของมัน ซึ่งความประหม่าและขี้ตกใจนี้เองทำให้มันเอาตัวรอดได้ในป่าลึกที่มีนักล่ามากมายพร้อมจะกินมันเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็น เสือจากัวร์ จระเข้เคแมน โลมาน้ำจืด และปลานักล่าขนาดใหญ่อื่นๆ อีกหลายชนิด
แล้วเหตุใดภาพลักษณ์ของปิรันย่าถึงอันตรายขนาดเอาชีวิตมนุษย์ได้ ?
อาจจะต้องย้อนไปในปี ค.ศ 1913 ที่อดีตประธานาธิปดีสหรัฐอเมริกา ธีโอดอร์ ‘เท็ดดี’ รูสเวลต์ ได้ไปเยือนประเทศ บราซิล โดยในตอนนั้นเขาไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับประเทศนี้มากนัก เขาได้เห็นชาวบ้านโยนเนื้อวัว (หรือบางเวอร์ชั่นก็ว่ากันว่าเป็นวัวทั้งตัว) ลงไปในบ่อปลาปิรันย่าที่ถูกอดอาหาร ทำให้รูสเวลต์ตกตะลึงในภาพการรุมกัดกินอันรวดเร็วของปลาปิรันย่า เขาทึ่งกับเหตุการณ์ดังกล่าวจนบรรยายถึงเรื่องราวของปลาปิรันย่าลงในบันทึกการเดินทางว่า “ปลาปิรันย่าเป็นปลาที่ดุร้ายที่สุดในโลก กรามของมันอ้าค้าง ฟันแหลมคมราวกับอาวุธที่โหดร้าย…ราวกับมัน (ปิรันย่า) เป็นตัวแทนของความชั่วร้าย” และบันทึกนี้เองได้กลายเป็นแรงบันดาลใจถึงความโหดร้ายของปลาปิรันย่าในสื่อต่างๆ เรื่อยมาในประเทศอเมริกาเอง จนการมาถึงของภาพยนตร์สยองขวัญขึ้นหิ้งเรื่อง PIRANHA (1978) ที่เป็นจุดเริ่มต้นการสานต่อความน่ากลัวของปลาชนิดนี้มาจนถึงปัจจุบัน