Revenant (악귀) ซีรีส์ลึกลับระทึกขวัญจากช่อง SBS ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ กู ซานยอง (รับบทโดย คิม แทรี) หญิงสาวที่ถูกวิญญาณร้ายครอบงำและ ยอม แฮซัง (รับบทโดย โอ จองเซ) ศาสตราจารย์ด้านคติชนวิทยาที่สามารถมองเห็นภูติผีได้ ทั้งสองต้องร่วมกันค้นหาความจริงเบื้องหลังการฆ่าตัวตายอย่างลึกลับรอบเมืองที่เกิดจากวิญญาณร้าย ด้วยเนื้อเรื่องที่น่าชวนขนลุก และมักสอดแทรกความเชื่อเรื่องลี้ลับของผู้คนแต่ละพื้นที่ในประเทศเกาหลีใต้ไว้เสมอ ทำให้ซีรีส์ Revenant มีเรตติ้งเฉลี่ยทั่วประเทศสูงถึง 10.2% แม้จะออนแอร์มาได้เพียง 6 ตอนเท่านั้น
แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจและมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องนี้คือความเชื่อเรื่อง ‘วิญญาณ’ และ ‘ร่างทรง’
แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจและมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องนี้คือความเชื่อเรื่อง ‘วิญญาณ’ และ ‘ร่างทรง’

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามักจะเห็น ‘ภูติผี’ และ ‘ร่างทรง’ เข้ามามีบทบาทไม่มากก็น้อยในซีรีส์เกาหลีเสมอ ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์ล้างแค้นอย่าง The Glory (2022) ซีรีส์โรแมนติคคอมเมดี้ Hotel Del Luna (2019) หรือ ซีรีส์ในดวงใจของใครหลายๆ คนอย่าง Goblin (2016) ที่นำเสนอ สอดแทรก และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อความศรัทธาต่อ ‘วิญญาณ’ และ ‘ร่างทรง’ ที่ยังคงหยั่งรากลึกอยู่ในสังคมเกาหลีตลอดมา
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ลัทธินับถือภูติผี (Shamanism) เป็นลัทธิความเชื่อแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในแผ่นดินเกาหลี โดยพวกเขาเชื่อว่าบรรดาสรรพสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น พระอาทิตย์ พระจันทร์ กลุ่มดาว ทะเล ภูเขา ต้นไม้ ก้อนหิน แม่น้ำ ลำธาร ล้วนแต่มีผู้สร้างและวิญญาณสิงสถิตอยู่ ดังนั้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุข จึงมีการพยายามติดต่อกับ ‘เทพเจ้า’ หรือ ‘วิญญาณ’ ของผู้สร้างผ่าน ‘ชาแมน’ (Shaman) หรือ ‘ร่างทรง’ เพื่อขอพรให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง รักษาอาการเจ็บป่วย และนำคำทำนายมาแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ แต่การจะเป็นร่างทรงไม่สามารถเป็นกันได้ง่ายๆ เพราะหากต้องเป็นสื่อกลางระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ก็จำเป็นต้องให้ ‘เทพเจ้า’ เป็นคนเลือก
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ลัทธินับถือภูติผี (Shamanism) เป็นลัทธิความเชื่อแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในแผ่นดินเกาหลี โดยพวกเขาเชื่อว่าบรรดาสรรพสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น พระอาทิตย์ พระจันทร์ กลุ่มดาว ทะเล ภูเขา ต้นไม้ ก้อนหิน แม่น้ำ ลำธาร ล้วนแต่มีผู้สร้างและวิญญาณสิงสถิตอยู่ ดังนั้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุข จึงมีการพยายามติดต่อกับ ‘เทพเจ้า’ หรือ ‘วิญญาณ’ ของผู้สร้างผ่าน ‘ชาแมน’ (Shaman) หรือ ‘ร่างทรง’ เพื่อขอพรให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง รักษาอาการเจ็บป่วย และนำคำทำนายมาแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ แต่การจะเป็นร่างทรงไม่สามารถเป็นกันได้ง่ายๆ เพราะหากต้องเป็นสื่อกลางระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ก็จำเป็นต้องให้ ‘เทพเจ้า’ เป็นคนเลือก

คนเกาหลีเชื่อว่า การจะเป็นร่างทรงได้นั้นต้องมี ‘โรคร่างทรง’ ก่อน โดยจะรู้สึกเจ็บป่วยทุกข์ทรมานกับโรคที่ไร้สาเหตุ ไม่ว่าจะด้านร่างกายหรือจิตใจ และมักฝันถึงเทพหรือปีศาจเป็นประจำ อาจมีอาการประสาทหลอน หรือเห็นภาพหลอนเป็นเวลานานควบคู่ ซึ่งวิธีเดียวที่สามารถรักษาอาการทั้งหมดได้คือ ‘การเข้าพิธีรับทรง’ โดยจะรับเทพที่ฝันถึงบ่อย ๆ มาเป็นเทพประจำตัว อนุญาติให้ท่านสามารถเข้ามาใช้ร่างกายในการสื่อสารเพื่อแลกกับการที่ท่านคอยปกปักษ์รักษา
ในการติดต่อสื่อสาร ร่างทรงจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ โดยจะใช้บทเพลงและการร่ายรำเป็นเหมือนสายสัญญาณในการติดต่อไปยังสวรรค์ มีท่วงท่าและชื่อเรียกพิธีแตกต่างกันไปตามวาระและโอกาส แต่มักเริ่มจากการร่ายรำในจังหวะช้า เพื่อเป็นการอ้อนวอนต่อวิญญาณและขอความเมตตาจากทวยเทพ ก่อนจะเพิ่มจังหวะเร็วขึ้นเพื่อแสดงความปีติยินดีที่สามารถสื่อสารกับดวงวิญญาณได้
วิญญาณในประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทพเจ้า และ ภูติผี โดยเทพเจ้าถือเป็นวิญญาณระดับสูงที่มีพละกำลังและความสามารถในการหยั่งรู้สูงกว่ามนุษย์ ท่านจะช่วยปกป้อง คุ้มครอง และประทานสิ่งดีงามให้แก่ผู้คนที่เคารพนับถือและประพฤติตนบนความดีงาม ในขณะที่ภูติผีจะให้พลังงานที่ตรงกันข้าม
แม้หลายคนจะคิดว่าโลกหลังความตายของประเทศไทยมีความเปิดกว้างมากกว่าประเทศอื่นๆ เพราะมีประเภทของภูติผีให้เลือกเป็นได้มากมาย แต่ในประเทศเกาหลีก็ไม่ได้ต่างกันนัก เพราะสามารถแบ่งประเภทของผีออกมาได้ถึง 3 ประเภทใหญ่
1. ผีต้นไม้ (나무귀신) เป็นวิญญาณที่อาศัยอยู่ในต้นไม้ ในหมู่บ้านชนบทส่วนใหญ่ของเกาหลี ต้นไม้เก่าแก่ขนาดใหญ่จะถูกเรียกว่า 'ดังมก' (당목) มีความหมายว่า ‘ต้นไม้ของคุณ’ (당산나무) ดังนั้นเมื่อเป็นต้นไม้ของเรา ชาวบ้านจึงต้องหมั่นดูแลและจัดพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษต่างๆ ให้กับต้นไม้
2. ผีเด็ก
ในการติดต่อสื่อสาร ร่างทรงจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ โดยจะใช้บทเพลงและการร่ายรำเป็นเหมือนสายสัญญาณในการติดต่อไปยังสวรรค์ มีท่วงท่าและชื่อเรียกพิธีแตกต่างกันไปตามวาระและโอกาส แต่มักเริ่มจากการร่ายรำในจังหวะช้า เพื่อเป็นการอ้อนวอนต่อวิญญาณและขอความเมตตาจากทวยเทพ ก่อนจะเพิ่มจังหวะเร็วขึ้นเพื่อแสดงความปีติยินดีที่สามารถสื่อสารกับดวงวิญญาณได้
วิญญาณในประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทพเจ้า และ ภูติผี โดยเทพเจ้าถือเป็นวิญญาณระดับสูงที่มีพละกำลังและความสามารถในการหยั่งรู้สูงกว่ามนุษย์ ท่านจะช่วยปกป้อง คุ้มครอง และประทานสิ่งดีงามให้แก่ผู้คนที่เคารพนับถือและประพฤติตนบนความดีงาม ในขณะที่ภูติผีจะให้พลังงานที่ตรงกันข้าม
แม้หลายคนจะคิดว่าโลกหลังความตายของประเทศไทยมีความเปิดกว้างมากกว่าประเทศอื่นๆ เพราะมีประเภทของภูติผีให้เลือกเป็นได้มากมาย แต่ในประเทศเกาหลีก็ไม่ได้ต่างกันนัก เพราะสามารถแบ่งประเภทของผีออกมาได้ถึง 3 ประเภทใหญ่
1. ผีต้นไม้ (나무귀신) เป็นวิญญาณที่อาศัยอยู่ในต้นไม้ ในหมู่บ้านชนบทส่วนใหญ่ของเกาหลี ต้นไม้เก่าแก่ขนาดใหญ่จะถูกเรียกว่า 'ดังมก' (당목) มีความหมายว่า ‘ต้นไม้ของคุณ’ (당산나무) ดังนั้นเมื่อเป็นต้นไม้ของเรา ชาวบ้านจึงต้องหมั่นดูแลและจัดพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษต่างๆ ให้กับต้นไม้
2. ผีเด็ก
- มยองโด/ แทจู (명도/ 태주) ผีที่เกิดจากการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบที่พูดไม่ได้ โดยผีเด็กผู้หญิงเรียกว่า ‘มยองโด’ และผีเด็กผู้ชายเรียกว่า ‘แทจู’ นิยมอัญเชิญมาเพื่อเสี่ยงทายหรือทำนายอนาคตผ่านร่างทรง
- ดงจา / ดงนยอ (동자/ 동녀) ผีที่มีอายุระหว่าง 5 ถึง 15 ปี ชอบทำตามอารมณ์ของตัวเองและไม่มีความรักต่อมนุษย์ ทำให้พวกมันมีมนต์ขลังมาก ร่างทรงจึงนิยมอัญเชิญวิญญาณเหล่านี้มาทำพิธีเป็นพิเศษ
- แทจากวี (태자귀) ผีเด็กที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับความตายอย่างไม่ยุติธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย และกลายเป็นผีที่เต็มไปด้วยความเคียดแค้น ทำให้วิญญาณพวกนี้มีพลังสูงส่ง ร่างทรงจึงมักจะใช้วิญญาณประเภทนี้มาเป็นบริวารเพื่อเพิ่มพลังวิญญาณของตัวเอง
- เซทานี (세타니) วิญญาณของเด็กผู้ชายที่เสียชีวิตจากความอดอยากหลังจากที่แม่ของเขาทิ้งไป ว่ากันว่าอันตรายและมีพลังมากกว่าผีแทจาขนาดที่แม้แต่หมอผีก็ยังลังเลที่จะอัญเชิญวิญญาณมา
- มองดัลกวี (몽달귀) วิญญาณที่จากโลกนี้ไปโดยไม่ได้แต่งงาน พวกเขาเป็นวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งถูกทิ้งไว้ด้วยความแค้นเพราะพวกเขาไม่สามารถรับและกินเครื่องสังเวยได้ ในประเทศเกาหลี จะมีคำเรียกผีที่กินอาหารไหว้บรรพบุรุษไม่ได้เพราะไม่มีลูกหลานว่า 'มูจากวี' ผีมองดาลก็เป็นหนึ่งในมูจากวีเช่นกัน นอกจากนี้ยังว่ากันว่าผีสาวโสดที่เสียชีวิตด้วยโรคจากเซ็กซ์สามารถทำร้ายสาวพรหมจารีได้ เนื่องจากมีความเคียดแค้นที่ตัวเองไม่สามารถบรรลุความรักได้นั่นเอง
- ซนมัลมยอง (손말명) ผีสาวพรหมจรรย์ หรือผีสาวบริสุทธิ์ ว่ากันว่าในสมัยก่อนผู้คนหวาดกลัวผีสาวพรหมจรรย์เป็นอย่างมาก เพราะผีประเภทนี้จะชอบรังควาญผู้คนและพยายามทำทุกทางเพื่อเติมเต็มความปรารถนาที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตอนมีชีวิตอยู่ คนเกาหลีจึงนิยมทำตุ๊กตาฟางที่เน้นอวัยวะเพศของผู้ชายใส่ไว้ในโลงศพ จากนั้นจะฝังคว่ำโลงไว้บริเวณที่มีต้นหนามอยู่รอบๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผีออกมาได้
- ซองวานโดซา (선관도사) คือวิญญาณที่แต่งงาน มีลูก มีครอบครัว และใช้ชีวิตตามปกติ แต่ยังคงวนเวียนอยู่ในโลกนี้ด้วยความเคียดแค้น เพราะยังมีบ่วงผูกติดอยู่
- เซอูนี (새우니) ผีที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาทุกผี เป็นผีที่แต่เดิมเคยทำงานร่วมกับหมอผีและวิวัฒนาการโดยการสร้างความสามารถทางจิตวิญญาณ ก่อนจะฆ่าหมอผีที่ดูแลทิ้ง ทำให้มันมีพลังสูงสุดและควบคุมไม่ได้ จนกลายเป็นผีที่หมอผีต่างพากันหวาดกลัว

เว็บไซต์ Poline สำนักข่าวออนไลน์ประเทศเกาหลีใต้ได้มีการออกมาเปิดเผยข้อมูลสถิติการนับถือศาสนาของคน เกาหลีในปี 2022 พบว่าประชากรกว่า 51% เป็นคน ‘ไม่นับถือศาสนา’ มากกว่านั้นในประชากรกลุ่ม ที่มีอายุน้อย ความศรัทธาในศาสนาก็ยิ่งน้อยลง และเมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทีบกับสถิติการนับถือศาสนาของคนเกาหลีใต้ในปี 2021 พบว่าสัดส่วนต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปถึง 21% โดย 9% มีการเปลี่ยนย้ายศาสนา และ 12% หันมาไม่นับถือศาสนา
ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการไม่นับถือศาสนาใดๆ ของคนเกาหลีใต้ที่ยังคงค่าเฉลี่ยนอยู่ที่ 50% ของประชากรทั้งหมดตั้งแต่ปี 2015-2022 และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต จากบทสัมภาษณ์ของ ‘พัค ฮยอนจิน’ หญิงสาวชาวเกาหลีใต้วัยกลางคน ในบทความ Why young South Koreans are turning away from religion บนเว็บไซต์ Aljazeera สำนักข่าวออนไลน์ประเทศกาตาร์ พบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เลือกไม่นับถือศาสนาเกิดจากการ ‘ไม่มีเวลา’ ใช้ชีวิตส่วนตัว
พัค ฮยอนจิน เล่าว่าเธอมาจากครอบครัวที่เคร่งศาสนาและเข้าโบสถ์เป็นประจำ แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การใช้ชีวิตในฐานะนักศึกษา พนักงาน ภรรยา และแม่ก็แทบจะกลืนกินและครอบงำตารางเวลาส่วนตัวของเธอไปเกือบหมด จากเคยเข้าโบสถ์เป็นประจำ ก็เหลือเพียงปีละครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้น
อย่างที่ทราบกันดีว่าการแข่งขันทางการศึกษาและตลาดแรงงานของประเทศเกาหลีใต้นั้นดุเดือดและโหดร้ายมาก ทำให้ 1 วันของพวกเขาหมดไปกับการปฏิตัวตามมาตราฐานสังคม โดยใช้เวลาเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ 14-16 ชั่วโมง/ วัน และใช้เวลาทำงาน 8-9 ชั่วโมง/ วัน เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตจึงเสียไปกับภาระหน้าที่ที่ต้องแบกรับ ศาสนาจึงกลายเป็นเรื่องห่างไกลและยากลำบากในการปฏิบัติตัวตามกฏเกณฑ์และรักษาความสม่ำ เสมอ แตกต่างจากการศรัทธาใน ‘ร่างทรง’ ที่ให้อิสระเสรีในด้านเวลาและการปฏิบัติตัว
แม้ลัทธิภูติผีจะถือเป็นความเชื่อที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเกาหลี แต่กลับมีความยืดหยุ่นทางหลักปฏิบัติแตกต่างจากแนวความเชื่ออื่นๆ ไร้กฏเกณฑ์การปฏิบัติที่ตายตัว ไม่จำเป็นต้องแวะมาหาทุกสัปดาห์ หรือทุกวันสำคัญทางศาสนา เพียงแค่แวะมาในวันที่มีปัญหาให้ช่วยก็พอ นอกจากนี้อาจเพราะสถานะของร่างทรงถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งของ ‘ผู้บรรเทาทุกข์’ มาตั้งแต่แรก ทำให้ร่างทรงสามารถมอบความรู้สึกสบายใจและคุ้นเคยต่อคนเกาหลีใต้ได้เป็นอย่างมาก
ในปัจจุบัน ร่างทรงมีบทบาทและหน้าที่ที่เปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นผู้รักษาโรค หรือต่อสู้กับวิญญาณชั่วร้าย แต่เป็นผู้อำนวยความสุข พวกเขายังคงให้คำปรึกษาเมื่อเจอปัญหาที่แก้ไม่ออก ทำนายทายทักอนาคตเพื่อสร้างความระมัดระวังในการใช้ชีวิต สร้างความสบายใจจากการประกอบพิธีอำนวยชัย ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย หรือปลุกเสกเทพประจำปี และให้ความสนุกสนานผ่านการถ่ายทอดศิลปะวัฒนธรรมการแสดง ร้องเพลง และร่ายรำที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน
ร่างทรงและภูติผี อาจเป็นภาพความเชื่อที่งมงายในสายตาใครหลายๆ คน แต่สำหรับบางคนก็เป็น ตัวแทนความรักความห่วงใยจากคนที่ล่วงลับไป และเป็นความหวังที่ช่วยเยียวยาจิตใจได้อย่างดี
ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการไม่นับถือศาสนาใดๆ ของคนเกาหลีใต้ที่ยังคงค่าเฉลี่ยนอยู่ที่ 50% ของประชากรทั้งหมดตั้งแต่ปี 2015-2022 และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต จากบทสัมภาษณ์ของ ‘พัค ฮยอนจิน’ หญิงสาวชาวเกาหลีใต้วัยกลางคน ในบทความ Why young South Koreans are turning away from religion บนเว็บไซต์ Aljazeera สำนักข่าวออนไลน์ประเทศกาตาร์ พบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เลือกไม่นับถือศาสนาเกิดจากการ ‘ไม่มีเวลา’ ใช้ชีวิตส่วนตัว
พัค ฮยอนจิน เล่าว่าเธอมาจากครอบครัวที่เคร่งศาสนาและเข้าโบสถ์เป็นประจำ แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การใช้ชีวิตในฐานะนักศึกษา พนักงาน ภรรยา และแม่ก็แทบจะกลืนกินและครอบงำตารางเวลาส่วนตัวของเธอไปเกือบหมด จากเคยเข้าโบสถ์เป็นประจำ ก็เหลือเพียงปีละครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้น
อย่างที่ทราบกันดีว่าการแข่งขันทางการศึกษาและตลาดแรงงานของประเทศเกาหลีใต้นั้นดุเดือดและโหดร้ายมาก ทำให้ 1 วันของพวกเขาหมดไปกับการปฏิตัวตามมาตราฐานสังคม โดยใช้เวลาเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ 14-16 ชั่วโมง/ วัน และใช้เวลาทำงาน 8-9 ชั่วโมง/ วัน เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตจึงเสียไปกับภาระหน้าที่ที่ต้องแบกรับ ศาสนาจึงกลายเป็นเรื่องห่างไกลและยากลำบากในการปฏิบัติตัวตามกฏเกณฑ์และรักษาความสม่ำ เสมอ แตกต่างจากการศรัทธาใน ‘ร่างทรง’ ที่ให้อิสระเสรีในด้านเวลาและการปฏิบัติตัว
แม้ลัทธิภูติผีจะถือเป็นความเชื่อที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเกาหลี แต่กลับมีความยืดหยุ่นทางหลักปฏิบัติแตกต่างจากแนวความเชื่ออื่นๆ ไร้กฏเกณฑ์การปฏิบัติที่ตายตัว ไม่จำเป็นต้องแวะมาหาทุกสัปดาห์ หรือทุกวันสำคัญทางศาสนา เพียงแค่แวะมาในวันที่มีปัญหาให้ช่วยก็พอ นอกจากนี้อาจเพราะสถานะของร่างทรงถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งของ ‘ผู้บรรเทาทุกข์’ มาตั้งแต่แรก ทำให้ร่างทรงสามารถมอบความรู้สึกสบายใจและคุ้นเคยต่อคนเกาหลีใต้ได้เป็นอย่างมาก
ในปัจจุบัน ร่างทรงมีบทบาทและหน้าที่ที่เปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นผู้รักษาโรค หรือต่อสู้กับวิญญาณชั่วร้าย แต่เป็นผู้อำนวยความสุข พวกเขายังคงให้คำปรึกษาเมื่อเจอปัญหาที่แก้ไม่ออก ทำนายทายทักอนาคตเพื่อสร้างความระมัดระวังในการใช้ชีวิต สร้างความสบายใจจากการประกอบพิธีอำนวยชัย ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย หรือปลุกเสกเทพประจำปี และให้ความสนุกสนานผ่านการถ่ายทอดศิลปะวัฒนธรรมการแสดง ร้องเพลง และร่ายรำที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน
ร่างทรงและภูติผี อาจเป็นภาพความเชื่อที่งมงายในสายตาใครหลายๆ คน แต่สำหรับบางคนก็เป็น ตัวแทนความรักความห่วงใยจากคนที่ล่วงลับไป และเป็นความหวังที่ช่วยเยียวยาจิตใจได้อย่างดี