Ruth Handler ตัวละครสำคัญที่ทำให้ ‘บาร์บี้’ เป็นมากกว่าตุ๊กตาใน Barbie Land

24 ก.ค. 2566 - 08:45

  • Ruth Handler ผู้ก่อตั้งบริษัท Mattel และผู้ริเริ่มไอเดียการผลิตตุ๊กตาบาร์บี้เพื่อสร้างฝันให้เด็กสาวทั่วโลก

  • จากตุ๊กตาสร้างฝันสู่ตุ๊กตาขีดเส้นกีดกั้นที่กำหนดมาตรฐานความสวยงามในสังคมจนทำให้เด็กทุกคนเริ่มมองข้ามความสวยงามของตัวเอง

Ruth-Handler-Who-Makes-Barbie-Be-More-Than-A-Doll-SPACEBAR-Thumbnail
หลังจากมีการเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง Barbie ในประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2023 หลายคนที่ได้รับชมภาพยนตร์แล้วคงจะได้เห็นคาแร็กเตอร์ของ รูธ แฮนด์เลอร์ (Ruth Handler) ผู้ก่อตั้งบริษัท Mattel และผู้ริเริ่มไอเดียการผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ไปบ้างแล้ว แม้ในภาพยนตร์จะไม่ได้กล่าวถึงเธอมากนัก นอกจากจะแนะนำให้รู้จักเพียงเบื้องต้นและพูดจาติดตลกว่าวิญญาณของเธอยังคงวนเวียนอยู่ชั้น 17 ของบริษัท วันนี้จึงอยากจะพาทุกคนมาทำความรู้จักถึงตัวตนของเธอออยากลึกซึ้ง และพามาสำรวจไอเดียการก่อตั้ง Mattel บริษัทผู้ผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ที่ช่วยสร้างฝันให้เด็กๆ ทั่วโลกกัน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3vhUwKt3NvC4Nr2QApXe1b/bd334646ceab48343c9bbc80c77d4e70/Ruth-Handler-Who-Makes-Barbie-Be-More-Than-A-Doll-SPACEBAR-Photo01
Photo: เว็บไซต์ Antique Trader
รูธ แฮนด์เลอร์ (Ruth Handler) เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1916 ในเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด เป็นลูกสาวคนสุดท้องของครอบครัวชาวยิว-โปแลนด์ที่ทำการอพยพมายังประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นเมื่ออายุได้ 16 ปี เธอได้พบกับ อิซาดอร์ เอลเลียต แฮนด์เลอร์ (Isadore Elliot Handler) สามีของเธอ ก่อนทั้งคู่จะตกลงแต่งงานกันในอีกสามปีต่อมา  
 
ในระหว่างที่รูธเข้าทำงานที่ Paramount Studios ในตำแหน่งเลขานุการ สามีของเธอก็เริ่มมีความสนใจและเริ่มออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน ก่อนจะเริ่มก่อตั้งบริษัทแรกที่มีชื่อว่า 'Elzac' ที่ขายสินค้าประเภทของขวัญและเครื่องประดับเครื่องแต่งกาย แม้จะเปิดตัวได้ไม่นานนัก แต่ Elzac ก็ถือเป็นบริษัทที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ แต่ถึงอย่างนั้นนั่นก็ยังไม่เพียงพอสำหรับคู่สามีภรรยาแฮนด์เลอร์  
 
ในปี 1949 รูธ และ เอลเลียต แฮนด์เลอร์ ได้ร่วมกันก่อนตั้ง Mattel Creations บริษัทผลิตของเล่นและตุ๊กตาร่วมกับ แฮโรลด์ แมทท์ แมทสัน (Harold Matt Matson) แต่หลังจากเปิดบริษัทได้ไม่นานแมทสันก็ขายหุ้นทั้งหมดคืนให้ครอบครัวแฮนด์เลอร์เนื่องจากปัญหาสุขภาพ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7kcdrAAGVoT4zQtPcJUOaj/f1afc0b4cb114136000123acfb630baa/Ruth-Handler-Who-Makes-Barbie-Be-More-Than-A-Doll-SPACEBAR-Photo02
Photo: Pinterest: WorthPoint, Inc.
ในช่วงแรกของบริษัท พวกเขาทำการขายกรอบรูปและเฟอร์นิเจอร์บ้านตุ๊กตา  ก่อนจะเริ่มปล่อยของเล่นชิ้นแรกในปี 1949 ที่มีชื่อว่า ‘Uke-A-Doodle' เป็นอูคูเลเล่ของเล่นสำหรับเด็กที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาและจินตนาการผ่านทางดนตรี ซึ่งแม้ของเล่นชิ้นนี้จะดูเป็นของเล่นที่ธรรมดา แต่บริษัท Mattel ก็ได้วางแผนการตลาดมาอย่างดี โดยพวกเขาตัดสินใจลงทุนเป็นผู้สนับสนุนตลอดทั้งปี 1955 ของมิกกี้เมาส์คลับ ซึ่งการลงทุนครั้งน้ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มเกินคาด เพราะพวกเขากลายเป็นบริษัทของเล่นที่ถูกพูดถึงและขายดีที่สุดตลอดกาล 
 
หลังจากการประชาสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก Mattel ยังคงไม่หยุดนิ่งและตอกย้ำกระแสการเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ ด้วยการปล่อยตุ๊กตาบาร์บี้ออกมาในงาน New York International Toy Fair ปี 1959 โดยเธอได้ไอเดียมาจากการดูลูกสาวและเพื่อนๆ เล่นตุ๊กตากระดาษกัน เธออธิบายถึงช่วงเวลาสำคัญนั้นว่า “ฉันได้ค้นพบสิ่งที่สำคัญมากจากการที่เด็กๆ เล่นตุ๊กตากระดาษ พวกเขาใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อฉายภาพความฝันถึงอนาคตของตัวเองในฐานะเด็กผู้หญิงที่อยากเติบโตเป็นผู้ใหญ่” ก่อนจะเกิดความสงสัยว่า “จะดีไหมถ้าเราสามารถนำรูปแบบการเล่นตุ๊กตากระดาษนั้นมาสร้างเป็นภาพสามมิติได้”
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6j1LTIVRbo3nX29sB2zWY2/3ccbd5bf135de406d216b8de1309287a/Ruth-Handler-Who-Makes-Barbie-Be-More-Than-A-Doll-SPACEBAR-Photo_V01
Photo: เว็บไซต์ Stylist
รูธคิดว่าการสร้างตุ๊กตาที่เหมือนมีชีวิตจะเป็นประโยชน์กับเด็กๆ ในการช่วยสร้างความฝันและปลูกฝังว่าพวกเธอสามารถเป็นได้ทุกอย่างที่ใจปรารถนา แต่ความคิดของเธอก็หยุดลงในตอนแรก เนื่องจากสามีของเธอคิดว่ามันใช้ไม่ได้จริง แต่ไม่กี่ปีต่อมาเมื่อรูธและครอบครัวของเธอไปพักผ่อนที่สวิตเซอร์แลนด์ เธอก็ได้เห็นตุ๊กตา Bild Lilli ที่กระตุ้นความทรงจำของเธอว่านี่คือหน้าอก เอวที่เล็ก ขาเรียวยาวแบบที่เธอเคยอธิบายให้นักออกแบบฟังอย่างกระตือรือร้นเมื่อหลายปีก่อน เธอจึงซื้อของเล่นและนำกลับมาที่อเมริกา ก่อนจะตัดสินใจนำเสนอต่อทีมของเธอ หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการสร้างต้นแบบตุ๊กตาตัวแรกขึ้นมา และตั้งชื่อว่า ‘บาร์บี้’ ตามลูกสาวของเธอ ‘บาร์บารา แฮนด์เลอร์’ (Barbara Handler) 
 
หลังจากการเปิดตัวในปี 1959 แม้รูธจะพอใจกับสินค้าของเธอ แต่ผู้ซื้อรายใหญ่ทั้งหมดกลับมีความเห็นตรงกันข้าม รวมถึงร้านค้าแบรนด์ดังในอเมริกาก็รู้สึกไม่ประทับใจและปฏิเสธที่จะซื้อตุ๊กตาบาร์บี้ของเธอ แต่รูธแต่ก็ไม่ยอมแพ้ และตัดสินใจขายตุ๊กตาของเธอให้กับผู้บริโภคโดยตรง โดยการจัดแคมเปญประชาสัมพันธ์เปิดตัวครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ตุ๊กตาบาร์บี้ตัวแรกได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและได้รับการยกย่องว่าเป็นของเล่นที่ผลิตมีการสั่งผลิตจำนวนมากชิ้นแรกในอเมริกา โดยในปีแรกที่ออกวางตลาด ตุ๊กตาบาร์บี้ 300,000 ตัวถูกขายในราคาตัวละ 3 ดอลลาร์เท่านั้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/48Hv1fTsXOheWfglvPGPEs/2d6b133188e5e4dc0ac092aefed9d9ec/Ruth-Handler-Who-Makes-Barbie-Be-More-Than-A-Doll-SPACEBAR-Photo_V02
Photo: Mattel
แม้รูธจะสร้างบาร์บี้ขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่จะให้พื้นที่เด็กๆ ได้ฝันถึงอนาคตตัวเองได้อย่างเต็มที่ แต่ในยุคปัจจุบันที่เด็กสาวมากมายจากหลายประเทศนิยมเล่นกับตุ๊กตาบาร์บี้มานานหลายทศวรรษแล้ว ดูเหมือนว่าการซึบซับเรื่องมาตรฐานความสวยงามจากการเล่นบาร์บี้จะเข้าไปฝังรากลึกในความคิดมากกว่าทำให้พวกเธอรู้สึกว่าตัวเองมีศักยภาพในการจะทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองปรารถนา 
  
นับตั้งแต่มีการสร้างขึ้นในปี 1959 ตุ๊กตาบาร์บี้ได้กำหนดมาตรฐานความงามที่ไม่สมจริงในหลายๆ ด้านให้กับเด็กๆ ทั่วโลก ทั้งภาพลักษณ์ของการต้องมีหน้าเล็ก ผมยาว ผิวเนียน ขาเรียว และเอวคอด ซึ่งทำให้เด็กสาวจำนวนมากเชื่อว่าการสูงประมาณ 175 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 50 กิโลกรัม มีหน้าอกคัพ F และแขนขาเรียวเล็กคือรูปร่างที่ดูดีและใฝ่ฝันของทุกคน จนทำให้เด็กๆ เริ่มเพิกเฉยต่อความจริงที่ว่าร่างกายคนเรามีขนาดไม่เท่ากันและมองข้ามความสวยงามเฉพาะตัวของตัวเอง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3YAYPVsiVyqkPHs7oGpCJQ/4939df384e3f18aea344d06112644ee4/Ruth-Handler-Who-Makes-Barbie-Be-More-Than-A-Doll-SPACEBAR-Photo03
Photo: AFP
จากการวิจัยพบว่าเด็กผู้หญิงที่เล่นกับตุ๊กตาบาร์บี้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคการกินผิดปกติ (Eating Disorders) และมีความนับถือตนเองต่ำ ซึ่งความคิดเหล่านี้จะสามารถคงอยู่ไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ได้ ซึ่งในปัจจุบันเราจะพบว่าในชีวิตจริงมีผู้หญิงหลายคนยอมจ่ายเงินหลายหมื่นบาทไปกับการทำศัลยกรรมพลาสติกเพื่อให้ได้ ‘ลุคแบบตุ๊กตาบาร์บี้’ 
  
หลักเกิดปรากฏการณ์มากมายที่แสดงให้เห็นว่าตุ๊กตาบาร์บี้มีส่วนสำคัญในการสร้างรากฐานมาตรฐานความสวยงามของสังคม Mattel ก็ได้เริ่มสร้างโปรเจ็กต์ Dawn ที่ออกแบบและจัดทำให้ตุ๊กตาบาร์บี้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบาร์บี้ผิวดำ บาร์บี้เจ้าเนื้อ บาร์บี้ผู้บกพร่องทางความสามารถ และล่าสุดมีการปล่อยบาร์บี้ดาวน์ซินโดรมออกมาด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการหวังว่าค่านิยมความสวยงามต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงและผู้คนจะกลับมาให้ความสนใจตุ๊กตาบาร์บี้ในฐานะผู้มอบพื้นที่สร้างความฝันดั่งความตั้งใจแรกเริ่มได้อีกครั้ง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์