การ์ตูนอนิเมะญี่ปุ่นเริ่มตาโตมาตั้งแต่เมื่อไร?

19 กรกฎาคม 2566 - 04:23

Since-when-do-anime-have-big-eyes-SPACEBAR-Thumbnail
  • การ์ตูนญี่ปุ่นหรือมังงะ มักมีจุดเด่นที่เหมือนกันคือดวงตาที่กลมสวย คาดว่าเป็นการส่งทอดมาตรฐานการ์ตูนจาก โอซามุ เทซึกะ (Osamu Tezuka) นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่นที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘เจ้าแห่งมังงะ’

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7dJV1rGhKsmPVL2evJonqa/601dd4ae04878e38f52b5c95b1bb913e/since-when-do-anime-have-big-eyes-Photo01
ถ้าเราลองเดินไปที่มุมหนังสือการ์ตูนในร้านหนังสือสักแห่ง เราจะพบหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นมากถึง 80-90% นั่นทำให้รู้ว่าฐานคนอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น หรือมังงะ นั้นมีมากกว่าหนังสือการ์ตูนของอเมริกัน หรือที่มักเรียกกันว่าคอมมิค ซึ่งหากย้อนกลับไปดูในช่วงปี 1980 ประเทศไทยในช่วงนั้นก็มีการรับอิทธิพลจากญี่ปุ่นมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ์ตูนมังงะ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3koQe6Ak9PWwjj5qOYFg6t/4027d0b6d3294524daa6aff0f36ad686/since-when-do-anime-have-big-eyes-Photo02
Photo: คำสาปฟาโรห์
สำหรับคนเจน X มักจะคุ้นเคยกับการ์ตูนตาหวานเป็นอย่างดี เพราะเป็นที่นิยมอ่านกันมากสำหรับหนุ่มสาวยุค 80s-90s ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คำสาปฟาโรห์ (Ouke no Monshou), หน้ากากแก้ว หรือนักรักโลกมายา (Garasu no Kamen), กุหลาบแวร์ซายส์ (Berusai No Bara) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือ ‘เลมอน สูตรสำเร็จของการ์ตูนรสเปรี้ยว’ ที่รวมมังงะสั้นคล้ายกันกับหนังสือโชเน็น (Shonen) ของญี่ปุ่น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2OEnzPfac5ISXHVMyhLrpG/e87cb8a7530fc95eb27e166d89148286/since-when-do-anime-have-big-eyes-Photo03
Photo: กุหลาบแวร์ซาย
สิ่งที่สงสัยก็คือ หนังสือมังงะในยุคนั้น เมื่อเทียบกับยุคนี้สิ่งที่คล้ายคลึงกันมากที่สุดคือดวงตา หลายคนจะรู้ดีว่าการ์ตูนญี่ปุ่นต้องมีดวงตากลมโตสดใส และการ์ตูนทั้งมังงะและอนิเมะล้วนมีตัวละครที่ถูกออกแบบมาให้ดวงตาโตหลายเรื่อง จนเกือบเรียกว่าเป็นมาตรฐานของการ์ตูนญี่ปุ่นไปแล้ว ว่าแต่การ์ตูนญี่ปุ่นเริ่มนิยมวาดดวงตาออกมาโตกลมแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไรกัน?
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/XOf1AkxTL8B7dpv0CBEjE/673634f98366aa7752ca27bfd5628da1/since-when-do-anime-have-big-eyes-Photo04
Photo: วอลท์ ดิสนีย์. Photo: Walt Disney Family Museum
จริงๆ แล้วการ์ตูนญี่ปุ่นมีอายุกว่า 70 ปี นับตั้งแต่ช่วงปี 1970s ซึ่งยุคนั้นเป็นการมาของการ์ตูนวอลท์ดิสนีย์ (Walt Disney) ที่เป็นผู้ริเริ่มในการทำการ์ตูนแอนิเมชันให้ออกมาสวยงาม สนุกสนานน่าติดตาม สำหรับเมืองไทยเองก็มีการฉายการ์ตูนมิกกี้เมาส์ครั้งแรกในปี 1931 (พ.ศ. 2474) การ์ตูนวอลท์ดิสรีย์นับว่าเป็นการ์ตูนที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงประเทศญี่ปุ่น นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ โอซามุ เทซึกะ (Osamu Tezuka) ผู้บุกเบิกการ์ตูนในประเทศญี่ปุ่น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/15oCPgQPdufRFwBzqKCnMg/c569dcf890c4c4fe512d0b2378a91369/since-when-do-anime-have-big-eyes-Photo05
Photo: โอซามุ เทซึกะ. Photo: IMDb
โอซามุ เทซึกะ เป็นนักวาดการ์ตูน และนักแอนิเมเตอร์ ที่พยายามเดินรอยตาม วอลท์ ดิสนีย์ ด้วยการออกแบบการ์ตูนโดยอิงจากการ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์ หลังจากนั้นเขาเริ่มพัฒนาฝีมือตัวเองในการออกแบบตัวละครให้ออกมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  
 
งานที่หลายคนน่าจะรู้จักคือ ‘Astro Boy’ หรือ ‘Mighty Atom’ หรือในชื่อไทยคือ ‘เจ้าหนูปรมาณู’, ‘Princess Knight’ (Ribon no Kishi), Kimba the White Lion เป็นต้น สามเรื่องนี้เป็นเรื่องชาวไทยคุ้นเคย ทั้งยังนำมาแปลเป็นภาษาไทยให้ได้อ่านกัน งานของเทซึกะนั้นมีมาก่อนที่ ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ (Fujiko Fujio) จะเริ่มวาดการ์ตูนโดเรมอน (Doraemon) รวมถึง ‘อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา’ (Ikkyū-san) เทซึกะจึงถูกขนานนามว่าเป็น ‘เจ้าแห่งมังงะสมัยใหม่’ (The God of Manga) ถัดจาก คัตสึชิกะ โฮกุไซ (Katsushika Hokusai) ผู้เริ่มวาดวิถีชีวิตผู้คนออกมาด้วยลายเส้นที่เรียบง่าย  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1yGiIHCVmGeoJnuc6z6yh1/9fbce44315c59946248b1c1a206c6728/since-when-do-anime-have-big-eyes-Photo06
เอกลักษณ์งานของเทซึกะคือดวงตาที่กลมโตคล้ายการ์ตูนจากเรื่องมิกกี้เมาส์, ปีเตอร์แพน หรือพินอคคิโอ ผลงานตัวละครของเทซึยะจึงเป็นแบบอย่างให้นักทำแอนิเมชัน และนักทำการ์ตูนรุ่นหลัง นักวาดบางคนอาจมีการปรับเปลี่ยนการ์ตูนให้ดูมีความโดดเด่นขึ้น เช่น เพิ่มแววตาให้กับการ์ตูน หรือเพิ่มรายละเอียดเน้นเฉพาะที่ดวงตาเหมือนที่เห็นกันในการ์ตูนตาหวาน นักวาดบางคนเน้นที่ลายเส้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจนนำมาสู่หนังสือมังงะที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1oNUNpQgYJ1BPUnfcGTGet/6f7679b7bd6de4e85909c73925f19375/since-when-do-anime-have-big-eyes-Photo07
Photo: Jojo’s Bizarre Adventure. Photo: IMDb
ปัจจุบันการ์ตูนญี่ปุ่น หรือมังงะ เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น และไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว อย่างไรก็ตาม การ์ตูนญี่ปุ่นบางเรื่องก็ยังถูกสร้างบนมาตรฐานเดิม เนื่องจากเอกลักษณ์ของลายเส้นและสีที่แสดงถึงความเป็นญี่ปุ่นอย่างชัดเจน ส่วนอุตสาหกรรมการ์ตูนญี่ปุ่นนั้นก็เฟื่องฟูถึงขั้นสุด และมีการนำไปสร้างเป็นทั้งหนัง แอนิเมชัน มังงะ ไปจนถึงวิดีโอเกม ที่มีฐานผู้บริโภคทั่วโลก 
 
เพราะฉะนั้นแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นผลผลิตที่ส่งทอดมาจาก วอลท์ ดิสนีย์ ก็ว่าได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมังงะเราอ่านกันอยู่ทุกวันนี้อาจไม่เกิดขึ้นเลย หากปราศจากชายที่ชื่อ โอซามุ เทซึกะ ผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับวงการการ์ตูนของญี่ปุ่นที่ส่งทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์